กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุและคนพิการตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เพื่อให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลโคกชะงาย มีความรู้ ทักษะ เกี่ยวกับการออกกำลังกย การบริโภคอาหาร การจัดการอารมณ์ การงดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮออล์ ส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคผักปลอดสารพิษ โดยลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเรื้อรังซึ่งผู้สูงอายุในตำบลโคกชะงายทั้งหมด จำนวน 1,109 คน ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จำนวน 260 คน คิดเป็นร้อยละ 24.33 เมื่อเปรียบเทียบกับภาพรวมของประเทศพบว่าผู้สูงอายุ ของประเทศที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีเพียงร้อยละ 5 ดังนั้นแสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลโคกชะงายมีสุขภาพแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังสูงกว่าภาพรวมของประเทศมากเนื่องจากว่าภาคีเครือข่ายสุขภาพ โดยเแพาะเทศบาลตำบลโคกชะงายเห็นความสำคัญขงการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ อุดหนุนงบประมาณให้ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุและคนพิการตำบลโคกชะงายดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุสำหรับผลการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมสุขภาพผูุ้สูงอายุที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พบว่าผู้สูงอายุที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีความเสี่ยงตำ ร้อยละ 30.77 แต่เมื่อผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแล้วมีความเสี่ยงสูงต่อโรคไขมันในเส้นเลือด ร้อยละ 2.30 พบผู้ป่วยด้วยโรคไขมันในเลือด ร้อยละ 0.77

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเฝ้าระวังสุขภาพ ตรวจไขมันในเลือดผู้สูงอายุที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังทุกคน
260.00 260.00

 

2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงจากการตรวจไขมันในเลือดครั้งที่ 1
ตัวชี้วัด : เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงจากการตรวจไขมันในเลือดครั้งที่ 1 ทุกคน
78.00 78.00

 

3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงจากการตรวจคัดกรองไขมันในเลือดครั้งที่ 2 ได้รับการส่งต่อพบแพทย์
ตัวชี้วัด : กลุ่มเสี่ยงจากการตรวจคัดกรองไขมันในเลือดครั้งที่ 2 ได้รับการส่งต่อพบแพทย์
78.00 78.00

 

4 เพื่อลดอัตราป่วยใหม่ด้วยโรคไขมันในเลือด
ตัวชี้วัด : อัตราป่วยใหม่ด้วยโรคไขมันในเลือดไม่เกินร้อยละ 1
1.25 0.50

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 260
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 260
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเฝ้าระวังสุขภาพ ตรวจไขมันในเลือดผู้สูงอายุที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (2) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงจากการตรวจไขมันในเลือดครั้งที่ 1 (3) เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงจากการตรวจคัดกรองไขมันในเลือดครั้งที่ 2 ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ (4) เพื่อลดอัตราป่วยใหม่ด้วยโรคไขมันในเลือด

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ตรวจคัดกรองไขมันในเลือด ครั้งที่ 1 (2) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองไขมันครั้งที่ 1 (3) ตรวจหาไขมันในเลือดกลุ่มเสี่ยง (4) ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงซ้ำจากการคัดกรองตรวจไขมันในเลือดครั้งที่ 2 (5) ติดตามและประมินผล (เชิงปริมาณ,เชิงคุณภาพ)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh