กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการจัดหาวัสดุทางการแพทย์และกายอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะมีปัญหาทางการเคลื่อนไหวในตำบลนาเกตุ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ประจำปีงบประมาณ 2565

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดหาวัสดุทางการแพทย์และกายอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะมีปัญหาทางการเคลื่อนไหวในตำบลนาเกตุ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-LNK-03-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลนาเกตุ
วันที่อนุมัติ 19 พฤศจิกายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 พฤศจิกายน 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 352,930.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประภัสสร ขวัญกะโผะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางประภัสสร ขวัญกะโผะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.744,101.155place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19 พ.ย. 2564 30 ก.ย. 2565 352,930.00
รวมงบประมาณ 352,930.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 877 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของร่างกาย การทำหน้าที่ของร่างกายลดลงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรังซึ่งเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ (จีราพร ทองดีและคณะ, 2553 : 90) จากสถานการณ์ด้านโครงสร้างประชากรในปัจจุบันซึ่งมีประชากรรวม 64.5 ล้านคน พบว่า มีจำนวนผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 9.4 ล้านคน หรือคิดเป็น 14.57% ของประชากรรวม มีจำนวนผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 6.3 ล้านคน หรือคิดเป็น 9.77% ของประชากรรวม จากข้อมูลดังกล่าวเกิดผลกระทบ ทำให้เกิดความชุกเพิ่มมากขึ้นของโรคที่เกี่ยวเนื่องกับความเสื่อมถอยของอวัยวะ นอกจากนี้จะพบโรคของผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแลระยะยาว ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นตามการสูงวัยของประชากร ส่วนผลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า อัตราการพึ่งพิงของประชากรสูงอายุต่อคนวัยทำงานของประเทศไทย ในปีพ.ศ. 2553 วัยทำงาน 100 คน ต้องดูแลผู้สูงอายุ 19.7 คน ซึ่งในปีพ.ศ. 2563 วัยทำงาน 100 คน ต้องดูแลผู้สูงอายุ 30.3 คน เมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพของภาครัฐ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2553 รวมเท่ากับ 2.2% เป็นภาระค่าใช้จ่ายบริการสุขภาพของผู้สูงอายุ เท่ากับ 0.6% คิดเป็น 27% ของค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพทั้งหมด ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2565 รวม เท่ากับ 2.8% เป็นภาระค่าใช้จ่ายบริการสุขภาพของผู้สูงอายุเท่ากับ 1.1% คิดเป็น 39% ของค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพทั้งหมด
นโยบายหลักในการบริหารประเทศภายในช่วงระยะเวลา 4 ปี ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ คือ นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต โดยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตั้งแต่ในช่วงตั้งครรภ์ วัยเด็ก วัยเจริญพันธุ์ วัยบรรลุนิติภาวะ วัยชรา และผู้พิการ โดยสนับสนุนโครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่วนนโยบายความมั่นคงของชีวิตและสังคม ให้มีการเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะต่างๆ สำหรับรองรับผู้สูงอายุและคนพิการ สร้างความพร้อมในการเป็นสังคมผู้สูงอายุ พัฒนาบริการสุขภาพอนามัย ให้การสงเคราะห์ จัดการศึกษา จัดสวัสดิการ รวมถึงหาอาชีพให้แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และสนับสนุนให้ผู้สูงอายุร่วมเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมภายใต้หลักคิดที่ว่า ผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์สูง สมควรให้มามีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านเมือง
  การมีส่วนร่วมเป็นการที่กลุ่มบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกขั้นตอนของโครงการหรือกิจกรรม เข้ามาร่วมกระทำกิจกรรมให้เกิดการพัฒนา และมีส่วนในการตัดสินใจ การกำหนดนโยบาย กำหนดวัตถุประสงค์และแผนงานร่วมกันกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานตามแผนงานของโครงการ รวมทั้งได้รับประโยชน์จากการมีส่วนร่วมในกระบวนการ หรือกิจกรรมนั้นๆทั้งทางตรงและทางอ้อม ในที่นี้คือการที่ผู้สูงอายุ ครอบครัวเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดสวัสดิการเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐาน เพราะถ้ากิจกรรมการใดๆก็ตามที่มีผู้สูงอายุและครอบครัวที่มี ความรู้สึกเป็นเจ้าของและร่วมกิจกรรมแล้ว กิจกรรมนั้นจะสำเร็จและดำรงอยู่ได้อย่างถาวร ในการมีส่วนร่วมต้องให้ผู้สูงอายุและครอบครัวมีความรู้ มีความเข้าใจในกระบวนการนั้นอย่างถ่องแท้ สามารถมองเห็นและคาดหวังในผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อตนเองต่อครอบครัวต่อชุมชนอีกทั้งได้รับข้อมูลข่าวสาร ที่เกี่ยวกับตนเองหรือตรงกับปัญหาของตนเอง และแสวงหาหาแนวทางในการแก้ไขเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลง จนเกิดการตัดสินใจเข้าร่วม ถือว่ามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของชุมชนนำไปสู่ความยั่งยืนของกิจกรรม และการดำเนินการกิจกรรมนั้นจะประสบความสำเร็จ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องศึกษาถึงวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ได้รับ เพราะจะช่วยทำให้ผู้ปฎิบัติดำเนินกิจกรรมไปในแนวทางเดียวกัน มาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ มีความครอบคลุมในด้านการดูแลสุขภาพและการรักษาพยาบาล ในการจัดให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเกี่ยวกับสุขภาพ มีการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพตามจำนวนเงินที่กฎหมายกำหนดเพื่อเป็นรายได้กับผู้สูงอายุ มีการจัดหาที่พักอาศัย ให้แก่ผู้สูงอายุตามความจำเป็น นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ มีการจัดตั้งชมรม พาผู้สูงอายุไปสันทนาการ มีศูนย์ให้การช่วยเหลือและคุ้มครอง และมีเครือข่ายที่เกื้อหนุนในการจัดกิจกรรมต่างๆ เห็นได้ว่า กิจกรรมดำเนินการทั้งหมดเป็นการดูแลให้การช่วยเหลือแบบองค์รวม ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงครอบครัว แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐที่เป็นผู้ให้ ผู้สูงอายุ รวมทั้งครอบครัว ชุมชน จึงจะทำให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆในการจัดสวัสดิการสำเร็จ แม้ว่าสังคมไทยจะมีนโยบายและแผนเกี่ยวกับผู้สูงอายุมาอย่างต่อเนื่อง แต่มีลักษณะเป็นนโยบายทั่วไปที่ใช้กับผู้สูงอายุในขอบเขตทั่วทั้งประเทศ ยังไม่มีแผนหรือนโยบายที่ใช้สำหรับจัดการกับปัญหาผู้สูงอายุในลักษณะเฉพาะพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความรุนแรงสูงและผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จึงอาจทำให้ไม่สามารถตอบสนองปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุได้อย่างครอบคลุมในมิติต่างๆ ของชีวิต กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อบต.นาเกตุ สามารถนำผู้สูงอายุในตำบล จำนวน 883 คน ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามมาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุอย่างครอบคลุมและทั่วถึง รวมทั้งเป็นแนวทางให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องนำไปให้การดูแลช่วยเหลือและจัดสวัสดิการผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตในชุมชนและสังคมได้อย่างสันติสุข และยั่งยืน สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตามอัตภาพไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่น ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลนาเกตุ จึงได้จัดทำประชาคมสุขภาพผู้สูงอายุที่ต้องการต่อการดำรงชีพที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน มีผู้สูงอายุจำนวนมากที่ต้องการให้ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลนาเกตุ จัดหาพัสดุทางการแพทย์และกายอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะมีปัญหาทางการเคลื่อนไหวในตำบลนาเกตุ ซึ่งกายอุปกรณ์มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตของประชาชนในพื้นที่ได้ที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทุกคนให้ดำรงชีวิตอยู่ได้เท่าที่จะทำได้ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดหาวัสดุทางการแพทย์และกายอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวตำบลนาเกตุผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง

ผู้สูงอายุในพื้นที่ 80 % มีวัสดุทางการแพทย์และกายอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะมีปัญหาทางการเคลื่อนไหวในตำบลนาเกตุ เพื่อสุขภาพชีวิตที่ดีต่อไป

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจความต้องการที่ผู้สูงอายุมีความจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อการดำรงชีพได้อย่างคนปกติ
  2. ประชุมคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลนาเกตุ CM , CG ให้คำชี้แนะการจัดทำโครงการตามความเหมาะสมกับผู้สูงอายุ
  3. ประธานศูนย์จัดทำโครงการ
  4. เสนอโครงการขออนุมัติงบประมาณตามโครงการ
  5. ดำเนินการจัดหาพัสดุและอุปกรณ์ตามโครงการที่เหมาะสมกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
  6. ติดตามประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีพัสดุทางการแพทย์และกายอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับการมีภาวะที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวในตำบลนาเกตุ ในการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ปกติสุขเท่าที่ผู้สูงอายุจะพึงมี
  2. ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลนาเกตุ มีการส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2564 16:15 น.