กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการควบคุมและป้องกันโควิด -19 ในชุมชนด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)

ดำเนินการคัดกรองเชิงรุกด้วย ATK ในพื้นที่และกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง20 ธันวาคม 2564
20
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลท่ากำชำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ประชุม จนท.หน่วยบริการ และอสม. เพื่ออบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 นำไปดำเนินการตามโครงการ
2. เจ้าหน้าที่หน่วยบริการ/อสม./แกนนำชุมชน/และผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ร่วมควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ โดยการดำเนินการคัดกรองเชิงรุกด้วย ATK ในพื้นที่และกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง
3. กำหนดพื้นที่และกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง โดยร่วมกับหน่วยบริการในพื้นที่ ประสานรายชื่อผู้เสี่ยงสูงและประเมินความเสี่ยงของบุคคลผู้สัมผัสใกล้ชิดกำหนดให้เข้าสู่การตรวจคัดกรองเชิงรุก
4. อปท.ประสานทีมเพื่อฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในพื้นที่เสี่ยงสูง
5. มีการติดตาม หรือให้กลุ่มที่ได้รับการตรวจ ATK สังเกตอาการตนเองหลังการตรวจอีก 3-5 วัน หากมีอาการไข้ ไอ ความผิดปกติทางสุขภาพ ให้รีบแจ้ง อสม./รพ.สต./รพ. เพื่อประเมินอาการ โดยอาจมีการตรวจด้วย ATK ซ้ำ     
6. หากมีพบผลการตรวจ ATK เป็นบวก ให้พิจารณาหน่วยบริการในการเข้าระบบ Community lsolation หรือ Home lsolation เพื่อการดูแลรักษาตามมาตรฐานต่อไป
7. มีมาตรการทางสังคม ประชาชนร่วมกันสังเกตผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยงสูงและผู้ที่มีความเสี่ยงสูง รายงานผู้รับผิดชอบ เพื่อรับการคัดกรองด้วย ATK ประสานเข้าระบบกักกัน กรณีมีผลเป็นลบ และสร้างความเข้าใจในการกักกันตัวเพื่อลดความกังวลจากประชาชนในชุมชนและจัดระบบการปิดพื้นที่เสี่ยง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคตลอดจน ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพจิตชุมชน
8. สรุปผลดำเนินงานโครงการนำส่งคณะกรรมการกองทุนฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนำโรคระบาดในชุมชน
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัวรวมถึงบุคคลในท้องถิ่นพื้นที่มีพฤติกรรมตามหลัก New Normal และ DMHTT สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19
3.มีกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลกันและกันในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19