กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการออกกำลังกายสบายชีวี ด้วยวิธีรำกลองยาว ชุมชนท่าจีนเหนือ

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการออกกำลังกายสบายชีวี ด้วยวิธีรำกลองยาว ชุมชนท่าจีนเหนือ
รหัสโครงการ L5300-65-2-9
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการชุมชนท่าจีนเหนือ
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2565
ปี 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 31 กรกฎาคม 2565
งบประมาณ 26,110.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจรูญ สุวรรณคีรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ประเด็น
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ขนาด 46.52
  2. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ขนาด 58.21

การรำกลองยาวเป็นกิจกรรมทางเลือกหนึ่งที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกาย อีกทั้งการรำกลองยาวยังสร้างบรรยากาศ สีสัน ความบันเทิงแก่ตนเอง แก่คนรอบข้าง และอีกทั้งยังสร้างความกลมเกลียวในสังคม และชุมชน การรำวงเป็นกิจกรรมที่เหมาะ เพราะสามารถยกแขนก้าวขาออกลีลาท่าทางได้ตามความต้องการ รำวงทำให้สนุกสนาน สามัคคีกลมเกลียว สภาพจิตใจ สุขภาพร่างกายก็ดีขึ้น ในเมื่อสุขภาพคือหัวใจสำคัญที่สามารถทำให้สมาชิกของชุมชนใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขหากสมาชิกของชุมชนสุขภาพไม่ดี ไม่มีความสุขในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน การนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่มีอยู่แล้วในชุมชนคือวงกลองยาว มาประยุกต์เข้ากับการออกกำลังกาย ที่เข้ามาบูรณาการกับการส่งเสริมสุขภาพได้อย่างลงตัว โครงการนี้จะทำให้ผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต การดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกาย เกิดเป็นกิจกรรมที่เป็นผลพวงต่างๆ ที่ทำให้สมาชิกเกิดความภาคภูมิใจ และในศักยภาพของตนเอง และทำให้ผู้สูงอายุเกิดความตระหนักว่าการที่จะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ผู้สูงอายุต้องเริ่มดูแลตัวเองโดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพ ซึ่งเป้าหมายสูงสุดคือการทำให้สมาชิกของชุมชนท่าจีนเหนือ สามารถอยู่และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ชุมชนท่าจีนเหนือ ตำบลคลองขุดจึงได้จัดทำโครงการออกกำลังกายสบายชีวี ด้วยวิธีรำกลองยาว

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ
  2. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงโครงการ
  2. อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกายโดยการรำกลองยาว
  3. ประชุมสรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
วิธีดำเนินการ

๒.ประชุม ชี้แจง และตรวจสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนเข้าร่วมกิจกรรม (วัดความดัน, อัตราการเต้นของหัวใจ,ปัญหาสุขภาพ) ๓.อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกายโดยการรำกลองยาว   1. การอบอุ่นร่างกาย (Warm Up)   2. การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ   3. การอบอุ่นร่างกายด้วยท่ารำกลองยาว   4. ขั้นตอนการรำกลองยาว การแสดงท่ารำเพื่อการออกกำลังกาย   5. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังการรำกลองยาว โดยการลดระดับความหนักของท่ารำให้ช้าลง ๔. ออกกำลังกายโดยการรำกลองยาว สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 3 วัน ระยะเวลาในการรำกลองยาว อยู่ระหว่าง 30-60 นาที ต่อเนื่องกันหรือขึ้นอยู่กับอิริยาบถ ระดับความหนักของจังหวะ และท่าทางของการออกกำลังกายจากการรำกลองยาว ๕. สรุปโครงการและตรวจสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการหลังเสร็จสิ้นโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต ประชาชนกลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มผู้สูงอายุ ร้อยละ 80 ของสมาชิกชมรมมีกิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน
ผลลัพธ์ 1.ประชาชนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรงจากการรำกลองยาว ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และความสามัคคีของคนในชุมชน ทำให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ทางสังคม ในการพบปะ พูดคุย และทำกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน 2.ทำให้ประชาชนมีความตระหนักถึงคุณค่าของการรำกลองยาวเพื่อออกกำลังกาย