กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
เฝ้าระวัง คัดกรอง ผู้เสี่ยง/ผู้สัมผัส เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรน่า 2019 1 ม.ค. 2565 20 ส.ค. 2565

 

1.กิจกรรมสร้างแกนนำนักเรียนในห้องเรียน - คัดเลือกแกนนำนักเรียน ห้องละ 2 คน - นักเรียนแกนนำเป็นผู้ประสานงานและรายงานผลการเฝ้าระวังให้ครูประจำชั้นทราบ 2.กิจกรรมให้ความรู้ผู้คัดกรองนักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น 3.กิจกรรมคัดกรอง ผู้เสี่ยง/ผู้สัมผัส เป้าหมายนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา

 

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังคัดกรองผู้เสี่ยง/ผู้สัมผัสเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรน่า 2019 ประกอบไปด้วยกิจกรรมย่อย ได้แก่ กิจกรรมย่อยที่ 1 กิจกรรมสร้างแกนนำนักเรียนในห้องเรียน 1)สร้างแกนนำนักเรียนในห้องเรียน โดยทางโรงเรียนมีการคัดเลือกนักเรียนแกนนำห้องละ 2 คน นักเรียนแกนนำมีหน้าที่ คัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชั้นเรียนของตนเองก่อนเข้าห้องเรียน โดยใช้แบบคัดกรอง และแจ้งให้ครูประจำชั้นทราบ พบว่า นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง 2)นักเรียนที่มีอุณหภูมิเกิน 37.5 มีอาการไอ เจ็บคอและน้ำมูกไหลร่วมด้วย แจ้งผู้ปกครองรับกลับบ้านเพื่อสังเกตอาการ 3)โรงเรียนสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมสร้างแกนนำนักเรียนในโรงเรียนปฏิบัติจริงในช่วงเช้าของวันจันทร์-วันศุกร์ กิจกรรมย่อยที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้ผู้คัดกรองนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา โดยความร่วมมือของคณะครูในโรงเรียนร่วมกันเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เรื่องโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และการป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทั้งนี้ผู้เข้าอบรมประกอบไปด้วย นักเรียนจำนวน 184 คน คณะครูจำนวน 22 คน เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน ในการดูแลและป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 จากการประเมินผลการทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจในการอบรมก่อน-หลัง พบว่า ก่อนการอบรมผุ้เข้าร่วมอบรมมีระดับความรู้ร้อยละ 58.24 หลังจากได้รับการอบรมให้ความรู้แล้ว พบว่าผู้เข้าร่วมอบรมมีระดับความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.11 กิจกรรมย่อยที่ 3 คัดกรองผู้เสี่ยง/สัมผัสเป้าหมายนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงการเฝ้าระวัง และป้องกัน การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 จากการดำเนินโครงการ พบว่า นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงการเฝ้าระวัง และป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 2)นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 เพียงพอ จากการดำเนินโครงการพบว่า นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 ได้

 

การส่งตัวผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษา 1 ม.ค. 2565 20 ส.ค. 2565

 

1.กิจกรรมรับ-ส่งผู้ติดเชื้อเข้าไปตรวจยืนยัน แบบ RT-PCR จากสถานพยาบาล 2.กิจกรรมรับ-ส่งผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาล

 

เนื่องจากโรงเรียนบ้านท่าแลหลา ไม่พบผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 จึงไม่ได้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าว

 

การกักกันตัวผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อ 1 ม.ค. 2565 20 ส.ค. 2565

 

1.กรณีผู้สัมผัสมีจำนวนไม่เกิน 10 ราย เข้ารับการกักตัวใน Local Quarantine ของท้องถิ่น 2.กรณีผู้สัมผัสมีจำนวนมากกว่า 10 ราย ให้จัดทำ Local Quarantine ในโรงเรียน

 

เนื่องจากโรงเรียนบ้านท่าแลหลา ไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 จึงไม่ได้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าว

 

การกำหนดมาตรการการบังคับใช้ในสถานศึกษา 1 ม.ค. 2565 20 ส.ค. 2565

 

1.กิจกรรมประชุมคณะกรรมการในโรงเรียน 2.กิจกรรมประชุมผู้ปกครองและผู้เกี่ยงข้อง

 

  1. มีมาตรการคัดกรองวัดไข้และอาการเสี่ยงก่อนเข้าสถานศึกษา (อุณหภูมิไม่เกิน 37.5C)

- กรณีปกติให้ติดสัญลักษณ์ผ่าน - กรณีมีไข้สูงกว่าปกติ ให้นั่งพัก 5-10 นาทีและวัดซ้ำ - กรณีมีไข้สูงกว่าปกติ หรือมีอาการของระบบทางเดินหายใจ ให้กันแยกไว้ต่างหากและบันทึกข้อมูล และแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อรับตรวจสอบตามมาตรการของสาธารณะสุขต่อไป 2.สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา 3.จัดจุดล้างมือหรือเจลแอลกอฮอล์อย่างเพียงพอ 4.จัดระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร 5.ทำความสะอาดห้องเรียน/พื้นผิวสัมผัสร่วม เปิดหน้าต่างประตู ระบายอากาศ 6.ไม่จัดกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมาก เหลื่อมเวลา ลดเวลาทำกิจกรรม

 

การประเมินผลโครงการและรายงานผล 1 ก.ย. 2565 26 ก.ย. 2565

 

จัดทำรูปเล่มรายงานผล

 

มีรูปเล่มรายงานผลดำเนินโครงการ 3 เล่ม