กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการนักวิทย์จิตอาสาคุ้มครองผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2565 จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะความสามารถเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและสารเคมีในเครื่องสำอางให้แก่แกนนำสุขภาพ โดยมีกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพ และกิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร ณ ตลาดลาภเจริญและตรวจสารเคมีในเครื่องสำอาง ที่จำหน่ายในร้านขายของชำภายในชุมชนเขตพื้นที่เทศบาลเมืองกันตัง โดยมีผลการดำเนินโครงการฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1.1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพ จัดกิจกรรมในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ อาคารคอซิมบี๊ โดยมีแกนนำสุขภาพเข้าร่วมกิจกรรม 36 คน โดยแกนนำทุกคนได้แบ่งกลุ่มเพื่อฝึกใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหารและสารเคมีในเครื่องสำอางอย่างง่าย โดยมีวิทยากรให้ความรู้และฝึกทักษะการใช้ชุดทดสอบให้กับแกนนำสุขภาพ ซึ่งแกนนำสุขภาพสามารถปฏิบัติได้ตามคู่มือการใช้ชุดทดสอบ 1.2 กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและสารเคมีในเครื่องสำอาง มีผลการดำเนินการดังนี้. ชนิดการตรวจ จำนวนตัวอย่าง ผลการตรวจ ปกติ ร้อยละ ผิดปกติ ร้อยละ สารบอแรกซ์ 5 5 100 0 0 สารฟอร์มาลีน 5 4 80 1 20 สารกันรา 5 5 100 0 0 สารฟอกขาว 5 5 100 0 0 โคลิฟอร์มแบคทีเรีย 10 10 100 0 0 สารเร่งเนื้อแดง 2 2 100 0 0 สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ 8 8 100 0 0 เครื่องสำอาง 24 23 95.83 1 4.17 รวม 64 62 - 2 - จากการเก็บตัวอย่างอาหารจำนวน 40 ตัวอย่าง พบว่ามีสารฟอร์มาลีน 1 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 2.5 เก็บตัวอย่างเครื่องสำอางจำนวน 24 ตัวอย่าง พบเครื่องสำอางที่มีสารเคมีปนเปื้อนจำนวน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 4.17 1.5 สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน จำนวน 43,800 บาท ดังนี้ 1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพ เป็นเงิน 29,407 บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและสารเคมีในเครื่องสำอางให้แก่แกนนำสุขภาพ
ตัวชี้วัด :

 

2 เพื่อเสริมสร้างทักษะความสามารถในการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารและสารเคมีในเครื่องสำอางให้แก่แกนนำสุขภาพ
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารและสารเคมีในเครื่องสำอางให้แก่แกนนำสุขภาพ (2) เพื่อเสริมสร้างทักษะความสามารถในการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารและสารเคมีในเครื่องสำอางให้แก่แกนนำสุขภาพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh