กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการ ส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย ปี 2565 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง

ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย ปี 2565

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 65-L6895-01-22 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 4 มกราคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ ส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย ปี 2565 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ ส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย ปี 2565



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ ส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย ปี 2565 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 65-L6895-01-22 ระยะเวลาการดำเนินงาน 4 มกราคม 2565 - 31 กรกฎาคม 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 24,200.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ด้วยปัจจุบัน การแพทย์แผนไทยได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสาธารณสุขของไทยโดยผสมผสาน การแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของรัฐนอกเหนือจากการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยแล้ว แนวคิดดังกล่าวอาจช่วยให้ระบบสาธารณสุขของไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่ำลง เนื่องจากการแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นแนวคิดในการดูแลสุขภาพในซีกตะวันออก เป็นแนวคิดในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมซึ่งผสมผสานกับวิถีชีวิตการดูแลสุขภาพแบบคนไทยที่มุ่งทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพ มีกิจกรรมในการดูแลสุขภาพ การรักษาพยาบาล เช่น การใช้ยาสมุนไพรในท้องถิ่น การอบสมุนไพร การประคบสมุนไพร การนวดไทย การบริหารด้วยท่าฤาษีดัดตน รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร ผักพื้นบ้าน อาหารตามฤดูกาล ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวประชาชนสามารถที่จะจัดหาได้เองและมีอยู่แล้วในท้องถิ่น เป็นการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ อันซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีต่อประชาชนมากกว่าการรักษาเมื่อเกิดโรคเท่านั้น โดยตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยได้กล่าวไว้ว่า ร่างกายของคนหรือทุกสรรพสิ่งล้วนประกอบขึ้นด้วยธาตุต่างๆ อาทิ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ เมื่อธาตุทั้งสี่ในร่างกายสมดุล บุคคลจะไม่ค่อยเจ็บป่วย หากขาดความสมดุลมักจะเกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากจุดอ่อนด้านสุขภาพของแต่ละคน ตามเรือนธาตุการพึ่งพาธรรมชาติตามแนวคิดทฤษฏีการแพทย์แผนไทย ที่มุ่งดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยมองมิติทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มความสมดุลให้กับชีวิตมนุษย์ ดังนั้นการเพิ่มพูนความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมให้แก่ประชาชนให้สามารถดูแลตัวเองได้ จึงนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพห่างไกลโรคที่แท้จริง
ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง  จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย ปี 2565 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยอาศัยการนำเอาองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกรวมถึงการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เมื่อมีการนำองค์ความรู้เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว น่าจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลสุขภาพเองได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาสุขภาพของประชาชน ในการจัดการสุขภาพตนเอง ได้อย่างเหมาะสมในระดับหนึ่ง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
  2. เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพ และเป็นการช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาล
  3. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและฝึกทักษะผู้เข้ารับการอบรม ให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัว และชุมชนได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมเชิงปฏิบัติการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย  ไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
  2. เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาล
  3. สามารถเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชนได้

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมเชิงปฏิบัติการ

วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

08.30 - 08.45 น. ลงทะเบียน 08.45 - 09.00 น. พิะีเปิด 09.00 - 10.50 น. บรรยายเรื่อง การดูแลสุขภาพช่วงโควิด-19 ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย 10.50 - 11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง 11.00 - 12.00 น. บรรยายเรื่อง การใช้สมุนไพรยุคโควิด-19 12.00 - 13.00  น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 - 16.00 น. แบ่งกลุ่มเรียนรู้ฐาน  ดังนี้ ฐานที่ 1 ปรับสมดุลร่างกายด้วยอาหารตามธาตุเจ้าเรือน  ฐานที่ 2 ปรับสภาพกายด้วยท่าฤาษีดัดตน  ฐานที่ 3 ผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการกดจุดนวดตนเอง  และฐานที่ 4 การแช่มือแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพร 16.00 - 16.30 น. อภิปราย/ตอบข้อซักถาม/ตอบแบบสอบถามประเมินโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

๑. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปที่สนใจ  จำนวน  8๐  คน  เมื่อวันที่  12  พฤษภาคม 2565  ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง  ให้มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่วงโควิด-19 ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย  การใช้สมุนไพรยุคโควิด-19  และแบ่งกลุ่มเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้การปรับสมดุลร่างกายด้วยอาหารตามธาตุเจ้าเรือน  การปรับสภาพกายด้วยฝึกปฏิบัติท่าฤาษีดัดตน  การผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการกดจุดนวดตนเอง  และการเรียนรู้การทำสมุนไพรแช่เท้าและการแช่เท้าด้วยสมุนไพร  โดยมีวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตังและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง
๒. ประเมินความพึงพอใจการจัดกิจกรรม จากผู้ประเมิน 72 คน ผู้ประเมินมีความพึงพอใจต่อภาพรวมโครงการการจัดงานในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.22 ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 44.22 ระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 5.26  และค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.42  ระดับความพึงพอใจทั้งโครงการ อยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ย (X ̅) ตามหัวข้อประเมินดังนี้ 1. ภาพรวมของโครงการ ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.42 อยู่ในระดับมาก 2. วิทยากรถ่ายทอดความรู้และตอบข้อซักถามได้ชัดเจน ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.28 อยู่ในระดับมาก 3. เนื้อหาครบถ้วนเหมาะสม ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.31  อยู่ในระดับมาก 4. สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรม  ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.28 อยู่ในระดับมาก 5. มีความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม  ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.42 อยู่ในระดับมาก 6. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.35 อยู่ในระดับมาก 7. สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดได้ ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.33 อยู่ในระดับมาก 8. สถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสมเพียงใด ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.51 อยู่ในระดับมากที่สุด 9. ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสมเพียงใด ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.33 อยู่ในระดับมาก 10.ควรจัดโครงการนี้ในปีถัดไป  ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.44 อยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นเพิ่มเติมอื่นๆ             1.กิจกรรมดี สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้             2.อยากให้มีทุกปี             3.โครงการนี้มีประโยชน์มาก ควรจัดทุกปี

 

80 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

๑. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปที่สนใจ จำนวน 8๐ คน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง ให้มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่วงโควิด-19 ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย  การใช้สมุนไพรยุคโควิด-19  และแบ่งกลุ่มเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้การปรับสมดุลร่างกายด้วยอาหารตามธาตุเจ้าเรือน  การปรับสภาพกายด้วยฝึกปฏิบัติท่าฤาษีดัดตน การผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการกดจุดนวดตนเอง  และการเรียนรู้การทำสมุนไพรแช่เท้าและการแช่เท้าด้วยสมุนไพร โดยมีวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตังและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง
๒. ประเมินความพึงพอใจการจัดกิจกรรมจากผู้ประเมิน 72 คน ผู้ประเมินมีความพึงพอใจต่อภาพรวมโครงการการจัดงานในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.22 ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 44.22 ระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 5.26 และค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.42 ระดับความพึงพอใจทั้งโครงการ อยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ย (X ̅) ตามหัวข้อประเมินดังนี้ 1. ภาพรวมของโครงการ ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.42 อยู่ในระดับมาก 2. วิทยากรถ่ายทอดความรู้และตอบข้อซักถามได้ชัดเจน ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.28 อยู่ในระดับมาก 3. เนื้อหาครบถ้วนเหมาะสม ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.31  อยู่ในระดับมาก 4. สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรม ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.28 อยู่ในระดับมาก 5. มีความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.42 อยู่ในระดับมาก 6. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.35 อยู่ในระดับมาก 7. สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดได้ ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.33 อยู่ในระดับมาก 8. สถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสมเพียงใด ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.51 อยู่ในระดับมากที่สุด 9. ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสมเพียงใด ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.33 อยู่ในระดับมาก 10.ควรจัดโครงการนี้ในปีถัดไป ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.44 อยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นเพิ่มเติมอื่นๆ 1.กิจกรรมดี สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 2.อยากให้มีทุกปี 3.โครงการนี้มีประโยชน์มาก ควรจัดทุกปี สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ดังนี้ - ค่าตอบแทนวิทยากร เป็นเงิน  9,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน เป็นเงิน  5,600 บาท   - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน  4,800 บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม เป็นเงิน  1,232 บาท - ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน    325 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์/อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน  3,190 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 24,147.- บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพ และเป็นการช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาล
ตัวชี้วัด :
0.00

 

3 เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและฝึกทักษะผู้เข้ารับการอบรม ให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัว และชุมชนได้
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ดูแลสุขภาพของตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย (2) เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพ และเป็นการช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาล (3) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและฝึกทักษะผู้เข้ารับการอบรม  ให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัว และชุมชนได้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมเชิงปฏิบัติการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ ส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย ปี 2565 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 65-L6895-01-22

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด