กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L2477-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตร
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 13,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอฮายา เจ๊ะเง๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 มี.ค. 2565 18 มี.ค. 2565 13,950.00
รวมงบประมาณ 13,950.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 48 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงอาจเกิดโรคสมองเสื่อม
240.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างของประชากรผู้สูงอายุ พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นซึ่งคาดว่า ในปี 2565 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 20) การเพิ่มจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วนี้ จากการสำรวจปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยส่วนมากเป็น โรคทางสมองและจิตเวช โดยเฉพาะภาวะสมองเสื่อม (dementia) ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบโครงสร้าง เศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้เนื่องจากผู้สูงอายุนั้นมีความเสี่ยงสูงในด้านความเจ็บป่วยเมื่ออายุมากขึ้น สุขภาพร่างกายอ่อนแอลง มีความเสื่อมของร่างกายมากขึ้น จากกรายงานของกลุ่มทำงานด้านสมองเสื่อมในเขตภาคฟื้นเอเชียแปซิฟิก สรุปได้ว่า ในปี 2548 มีผู้ป่วยสมองเสื่อมในภูมิภาคนี้มากถึง 13.7 ล้านคน และจะเพิ่มเป็น 64.6 ล้านคนในอีก 50 ปี ข้างหน้า ในประเทศไทยจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในปี พ.ศ. 2559 มีจำนวน 617,000 คน และคาดว่าในปี พ.ศ.2580 จะมีจำนวน 1,350,000 คน
สมองเสื่อมเป็นภาวะที่ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำไม่ได้ เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุทำให้ผู้ที่เป็นมีอาการหลงลืม การใช้ภาษาผิดปกติ และพฤติกรรมรวมถึงอารมณ์เปลี่ยนไป ความผิดปกติของการสื่อภาษาพูด ความผิดปกติของหน้าที่จัดการ และสติปัญญา (intellectual function) โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาเรื่องของความทรงจำลืมใน เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การลืมหนทาง ระยะที่ 2 ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาในการตัดสินใจ อาจคิด หรือพูดอะไรซ้ำ ๆ เช่น ผู้ป่วยอาจทำน้ำร้อนลวกมือตนเอง แล้วมองบาดแผลเฉยๆ เปิดแก๊สลืมจนเกิดไฟไหม้ ระยะที่ 3 ผู้ป่วยเริ่มบกพร่องในการดูแลสุขอนามัยของตัวเอง ไม่สามารถทรงตัวได้ดีขณะยืนหรือเดิน เช่น ปัสสาวะราด และระยะที่ 4 ผู้ป่วยออกจากบ้าน เร่ร่อนบ่อยขึ้น ไม่สามารถจำใครได้เลย ไม่สามารถดูแลตนเองได้เลย เช่น ไม่สามารถเคี้ยว หรือกลืนอาหารเองได้
ดังนั้นงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตรจึงเห็นความสำคัญที่จัดทำโครงการการป้องกันสมองเสื่อมในผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ผสมผสาน เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพในการใช้ชีวิตมากขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองภาวะสมองเสื่อม และภาวะซึมเศร้า

ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 10

10.00 20.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุฝึกทักษะการป้องกันภาวะสมองเสื่อมและสามารถชะลอภาวะสมองเสื่อม

ผู้สูงอายุสามารถสาธิตย้อนกลับในกิจกรรมฝึกทักษะป้องกันสมองเสื่อม อย่างน้อยด้านละ 2 กิจกรรม

50.00 50.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุข

ผู้สูงอายุทดสอบแบบประเมิน MMSE-Thai 2020 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20

20.00 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองภาวะสมองเสื่อม และภาวะซึมเศร้า

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ผู้สูงอายุฝึกทักษะการป้องกันภาวะสมองเสื่อมและสามารถชะลอภาวะสมองเสื่อม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุข

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 มี.ค. 65 - 30 เม.ย. 65 สำรวจกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ 0.00 -
1 เม.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมผู้สูงอายุสดใส 4,860.00 -
1 พ.ค. 65 - 30 มิ.ย. 65 กิจกรรมให้ความรู้การป้องกันภาวะสมองเสื่อม 9,090.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองภาวะสมองเสื่อม และภาวะซึมเศร้า
  2. ผู้สูงอายุสามารถฝึกทักษะการป้องกันภาวะสมองเสื่อมและสามารถชะลอภาวะสมองเสื่อม ไม่ให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น
  3. ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2565 00:00 น.