กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

หนูน้อยสุขภาพดี ชีวิตมีสุข ตากอง ปี 65

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม หนูน้อยสุขภาพดี ชีวิตมีสุข ตากอง ปี 65
รหัสโครงการ 65-L3065-2-03
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมตาดีกา หมู่ 6 ตากอง
วันที่อนุมัติ 17 กุมภาพันธ์ 2565
ปี 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 15,600.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะแอ ยูโซะ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านตากอง ม.6 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ประเด็น
แผนงานกิจกรรมทางกาย
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) ขนาด 61.16

การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของการมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ส่งผลให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค เนื่องจากปัจจุบันมีภัยคุกคามหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายให้ทรุดโทรม ดังนั้นการออกกำลังกายหรือกิจกรรมต่างๆที่ร่างกายมีการขยับกาย การเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญที่ร่างกายควรได้รับโดยเลือกเพศและวัย
ทางชมรมตาดีกา หมู่ 6 ตากอง อยากเป็นส่วนหนึ่งสังคมในการป้องกันและแก้ไขภัยมืดที่คุกคามสุขภาพ มีบทบาทสำคัญคือการอบรมจริยธรรมให้แก่กลุ่มเด็กวัยเรียนระหว่างอายุ 6 - 12 ปี คลุกคลีกับเด็กในหมู่บ้านเป็นเวลานานมาหลายปี เห็นว่านอกจากการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านจริยธรรมแก่เด็กๆแล้วสิ่งจำเป็นอีกประการหนึ่งที่น่าจะสอดแทรกและให้เด็กมีค่านิยมที่ถูกต้องตั้งแต่เยาว์วัยคือการการส่งเสริมสุขภาพให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง เช่นส่งเสริมเรื่ององค์ความรู้ ทัศนคติที่ดี นำไปสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง การเคลื่อนไหวทางกายในรูปแบบต่างๆเพื่อให้ร่างกายได้มีการออกกำลังอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ จากเหตุผลดังกล่าวทางชมรมตาดีกา หมู่ 6 ตากอง มองเห็นว่าทางกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง เป็นกองทุนที่ใกล้ชิดกับประชาชนระดับรากหญ้า มีงบประมาณที่จะสนับสนุนเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยสุขภาพดี ชีวิตมีสุข ตากอง ปี 65 ขึ้น

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพื่อให้เด็กเยาวชนในพื้นที่ได้มีความรู้ ทัศนคติที่ดีและมีภูมิคุ้มกันต่อภัยมืดที่คุกคามสุขภาพในปัจจุบัน
  2. เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 6 – 12 ปี ในหมู่บ้านได้มีกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกายอย่างสม่ำเสมอ
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะกรรมการชมรมร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงาน
  2. พัฒนาองค์ความรู้
  3. ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย
  4. สรุปผลการดำเนินงาน
วิธีดำเนินการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก 6 -12 ปี ในพื้นที่มีความตระหนักให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น
  2. เด็ก 6 – 12 รักการออกกำลังกายใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
  3. เด็ก 6 – 12 ปี และเยาวชนมีองค์ความรู้เรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ มีภูมิคุ้มกันที่ดี เกิดชุมชนเข้มแข็งยั่งยืนในอนาคต
  4. เด็ก 6 – 12 ปี มีทักษะพื้นฐานด้านกีฬา สามารถต่อยอดในอนาคตได้ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  5. ร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการทางร่างกายและการเรียนรู้ปกติ