กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ “อบรมให้ความรู้และรณรงค์ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก”ประจำปี ๒๕๖๕
รหัสโครงการ 65-L3015-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านลดา
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มิถุนายน 2565 - 15 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2565
งบประมาณ 22,740.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านลดา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 29 มิ.ย. 2565 29 มิ.ย. 2565 22,740.00
รวมงบประมาณ 22,740.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา โรงเรียนบ้านลดา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้โรงเรียนบ้านลดาได้เล็งเห็นความสำคัญของโรคไข้เลือดออก เพราะในช่วงวัยที่เป็นไข้เลือดออกจะอยู่ในวันนักเรียน ถ้านักเรียนไม่มีความรู้ วิธีกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ที่บ้านตนเองและในชุมชน อัตราของผู้ป่วยไข้เลือดออกจะเพิ่มขึ้น จึงเห็นสมควรที่จะให้ความรู้ ความเข้าใจและวิธีกำจัดลูกน้ำยุงลายที่ถูกต้อง ในโรงเรียนบ้านและชุมชนของตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง 2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม 3. เพื่อให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 4. เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมภายในบริเวณโรงเรียนเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  1. ผู้เข้าอบรม ร้อยละ 90มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง 2.ผู้เข้าร่วมอบรม ร้อยละ90มีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม 3.เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และสามารถสร้างสภาพแวดล้อมภายในบริเวณโรงเรียนเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
156.00 156.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,740.00 0 0.00
1 มิ.ย. 65 - 15 ก.ย. 65 1. อบรมให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออก 2. ลงพื้นที่ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบริเวณโรงเรียนและร่วมปรับปรุงสภาพแวดล้อมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 0 22,740.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. นักเรียน ครู บุคลากร โรงเรียนบ้านลดา มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง ๒. นักเรียน ครู บุคลากร โรงเรียนบ้านลดา มีความรู้ ในการควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม
๓. นักเรียน ครู บุคลากรโรงเรียนบ้านลดา เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และสามารถสร้างสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ