กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุของตำบลฉลุง

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้4 มีนาคม 2565
4
มีนาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลฉลุง จังหวัดสงขลา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับเครือข่าย อสม. ประเมินคัดกรองผู้สูงอายุความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ/การมีสุขภาพที่พึงประสงค์ ประเมินวิเคราะห์สภาพปัญหา 2.จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมแก่ผู้สูงอายุติดสังคม ในวันอังคารและวันศุกร์ จำนวน 12 ครั้ง -ให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิต และประเมินภาวะซึมเศร้า -ให้ความรู้หลัก 3 อ. 2ส. -ให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน และตรวจประเมินสุขภาพช่องปากและฟัน -ให้ความรู้หลักการออกกำลังกาย และส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย เช่น แบบมณีเวช การออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า การออกกำลังกายแบบไม้พลอง -ให้ความรู้เรื่องโภชนาการกับผู้สูงวัย และประเมินสุขภาพเบื้องต้น 3.ทีมหมอครอบครัวร่วมกับ อสม.และแกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ เพื่อติดตามผลตามดูแลช่วยเหลือตามความจำเป็นของแต่ละคน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.จัดอบรมการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมแก่ผู้สูงอายุติดสังคมและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 450 คน จากเป้าหมาย 450 คน คิดเป็นร้อยละ 100  โดยให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิตและประเมินภาวะซึมเศร้า  ให้ความรู้การดูแลสุขภาพปากและฟัน และตรวจประเมินสุขภาพปากและฟัน ให้ความรู้เรื่องโภชนาการกับผู้สูงอายุ ให้ความรู้หลักการออกกำลังกาย การส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย  และการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้ม 2.ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมที่เข้าร่วมอบรมให้ทราบเกี่ยวกับการมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ 5 ข้อ ประกอบด้วย  คือ ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 15-30 นาที  รับประทานผักและผลไม้สดเป็นประจำวันละ 400 กรัม หรือ 5 กำมือ  ดื่มน้ำอย่างน้อยละ 8 แก้ว  ไม่สูบบุหรี่/ยาเส้น  ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์  ซึ่งหากผู้สูงอายุมีพฤติกรรมที่เหมาะสม  จะทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีและมีอายุยืนยาว จำนวน 450 คน ตามเป้าหมายโครงการจำนวน 450 คน คิดเป็นร้อยบะ 100 ได้ผลการประเมิน  ดังนี้ -พฤติกรรมการออกกำลังกาย มีการออกกำลังกาย 3 วันต่อสัปดาห์ขึ้นไป จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 10 ส่วนใหญ่ออกกำลังกายด้วยการเดิน -พฤติกรรมการรับประทาฯผักผลไม้ ส่วนใหญ่รับประทานผัก และผลไม้เป็นประจำทุกวันจำนวน 125 คน คิดเป็นร้อยบะ 27.78  รับประทานผักประเภทต้มและผลไม้ตามฤดุกาลที่หาได้ในพื้นที่เน้นผลไม้รสหวาน -พฤติกรรมการดื่มน้ำ  ส่วนใหญ่ดื่มน้ำมากกว่า 8 แก้วต่อวัน จำนวน 322 คน  คิดเป็นร้อยละ 71.55 และนิยมดื่มชาในผู้สูงอายุหมู่ 1,2 และหมู่7 -พฤติกรรมการสูบบุหรี่/ยาเส้น ส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่คิดเป็นร้อยละ 90 (ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง) -พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ส่วนใหญ่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ในผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาอิสลาม  แต่ยังมีผู้สูงอายุหมู่ 3, 4, 5 และหมู่ 6 ยังมีการดื่มบ้างเมื่อมีงานเลี้ยง คิดเป็นร้อยละ 10 ผลสัมฤทธิ์ : ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับอบรมเกี่ยวกับส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกาย จิต และสังคม และการมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์  ตามเป้าหมายโครงการจำนวน 450 คน คิดเป็นร้อยบะ 100               : เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีการรวมกลุ่มและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ผลสัมฤทธิ์ : กลุ่มเป้าหมายมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้ ตามเป้าหมายโครงการจำนวน 450 คน คิดเป็นร้อยละ 100