กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะในชุมชนเขต 11

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะในชุมชนเขต 11
รหัสโครงการ L5278-65-2-34
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธาน อสม.ชุมชนเขต 11
วันที่อนุมัติ 4 มีนาคม 2565
ปี 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 18,800.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางชญาธร ตันติวิภากร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ประเด็น
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) ขนาด 48.50
  2. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ขนาด 55.40
  3. ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ขนาด 13.50
  4. ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน) ขนาด 35.20

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝน เพราะพาหะของโรคคือยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ

  จากข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ มีแนวโน้มสูงขึ้น ประชาชนส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาไปที่กำจัดตัวเต็มวัย  การพ่นหมอกควัน โดยไม่ได้กำจัดแหล่งเพาะพันธ์และไข่ยุงลาย จึงทำให้มียุงรุ่นใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้ไม่สามารถกำจัดโรคไข้เลือดออกให้หมดไปจากชุมชน

  อสม. ชุมชนเขต 11 จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ ป้องกันโรคไข้เลือดออกที่มียุงลายเป็นพาหะ ในชุมชน เขต 11 ประจำปี 2565 ขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในวงกว้าง ป้องกันการเกิดไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์การเกิดโรคและดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของการเกิดโรคไข้เลือดออก และช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคร่วมกับชุมชน บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออก

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น
  2. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่
  3. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ
  4. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนในการดำเนินงานโครงการ
  2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์กำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่
  3. รณรงค์ประชาสัมพันธ์กำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่
  4. ครัวเรือนต้นแบบปราศจากลูกน้ำยุงลาย
  5. สรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
  6. ประชุมสรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
  7. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนดำเนินโครงการ
  8. เดินรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนเขต 11 ครั้งที่ 1
  9. Big cleaning Day ประจำเดือนชุมชนเขต 11
  10. เดินรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนเขต 11 ครั้งที่ 2
  11. เดินรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนเขต 11 ครั้งที่ 3
  12. ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลในการดำเนินงานโครงการ
  13. เดินรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนเขต 11 ครั้งที่ 4
  14. สนับสนุนเวชภัณฑ์และวัสดุในการดำเนินกิจกรรม
  15. เดินรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนเขต 11 ครั้งที่ 5
  16. เดินรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนเขต 11 ครั้งที่ 6
  17. ครัวเรือนต้นแบบปราศจากลูกน้ำยุงลาย
  18. สรุปผลการดำเนินโครงการ
วิธีดำเนินการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายลดลง และจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง