กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. ผลการดำเนินงาน
    กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก ได้ดำเนินการจัดโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนปี 2565 วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสุขภาพป้องกันโรค และลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพตามหลักการแพทย์ปัจจุบันให้กับเด็ก และเยาวชน รวมทั้งมีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ โดยตั้งกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชนอายุ 7-15 ปี ในตำบลสะเตงนอกไม่เกินจำนวน 80 คน และผุ้ปกครองจำนวน 80 คน ซึ่งได้ดำเนินกิจกรรมดังนี้
  2. กิจกรรมเตรียมความพร้อม 1) จัดประชุมคณะกรรมการ และคณะทำงานสุขภาพชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงาน โครงการ 2) ประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่สำรวจและรับสมัครเด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการ 3) จัดตารางเวลา กำหนดการเพื่อออกบริการทำสุนัตหมู่แก่เด็กและเยาวชน
    1. กิจกรรมออกบริการทำสุนัตแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม 1) กิจกรรมบรรยายให้ความรู้การดูแลสุขภาพในวันที่ 12 พฤษภาคม 2565

- การป้องกันโรคติดต่อ
            - การดูแลสุขภาวะอนามัยอวัยวะเพศชายหลังจากการขลิบหนังหุ้มปลาย 2) กิจกรรม ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) ในวันที่ 13 พฤษภาคม
            2565 3. การติดตามและประเมิน เพื่อติดตามและประเมินอาการหลังการทำสุนัต และความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก 4. สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม
จากการดำเนินงานมีกลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมทำขลิบจำนวน 50 คน และผู้ปกครองเด็ก จำนวน 50 คน โดยหลังทำกิจกรรมให้ผู้ปกครองทำแบบประเมินความพึงพอใจโครงการ จากผลการประเมินเฉลี่ยพบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อโครงการในระดับ มาก โดยมีข้อเสนอเรื่องระยะเวลาในการจัดโครงการ ซึ่งใกล้กับช่วงเปิดภาคเรียน ผู้ปกครองมีความกังวลว่ากลุ่มเป้าหมายจะฟื้นตัวไม่ทัน
2. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 2.1 การบรรลุตามวัตถุประสงค์ • บรรลุตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ ด้านปริมาณ - เด็กและเยาวชนสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คน และผู้ปกครองจำนวน 50 คน รวมทั้งหมด 100 คน - เด็กและเยาวชนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ เข้าร่วมการทำกิจกรรมร้อยละ 100

ด้านคุณภาพ
- จากการติดตามผลหลังเข้าร่วมการทำขลิบผู้เข้าร่วมโครงการไม่เกิดการติดเชื้อจากบริการสาธารณสุขร้อยละ 100 • ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ เพราะ................................................................... 2.2 จำนวนผู้เข้าร่วมใน แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม 100 คน

  1. การเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ ............ 133,750............ บาท งบประมาณเบิกจ่ายจริง ................83,050.......... บาท
    งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ ................ 50,700......... บาท

  2. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน • ไม่มี • มี ปัญหา/อุปสรรค

    1. สถานที่จัดกิจกรรมเป็นห้องประชุมสำนักงานเทศบาลเมืองสะเตงนอก ซึ่งมีปัญหาเรื่องไฟบางดวงดับ แสงสว่างไม่เพียงพอ อาจทำให้เป็นอุปสรรคในการทำกิจกรรม
    2. เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชน ขณะเข้าร่วมกิจกรรมทำขลิบ เด็กบางคนมีอาการวิตกกังวล ส่งเสียงร้อง ดิ้น จึงทำให้เด็กคนอื่นมีอาการวิตกกังวลตาม
      แนวทางการแก้ไข
    3. ควรมีการทดสอบความพร้อมของสถานที่ก่อนดำเนินกิจกรรม เพื่อแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาได้ทันเวลา
    4. เด็กและเยาวชนที่มีอาการวิตกกังวล อนุญาตให้ผู้ปกครองเข้าร่วมขณะทำกิจกรรม และมีทีมช่วยเหลือในการเกลี้ยกล่อม และดูแลระหว่างเข้าร่วมทำขลิบ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือด (Bleeding)
ตัวชี้วัด :
0.00 50.00

 

2 2.เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ
ตัวชี้วัด :
0.00 100.00

 

3 3.เพื่อเสริมสร้างสุขภาพป้องกันโรค และลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพตามหลักการแพทย์ปัจจุบันให้กับเด็ก และเยาวชน
ตัวชี้วัด :
0.00 50.00

 

4 4.เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค
ตัวชี้วัด :
0.00 50.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 50
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือด (Bleeding) (2) 2.เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ (3) 3.เพื่อเสริมสร้างสุขภาพป้องกันโรค และลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพตามหลักการแพทย์ปัจจุบันให้กับเด็ก และเยาวชน (4) 4.เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพให้กับผู้ปกครองและเด็กที่เข้าร่วมโครงการ (2) กิจกรรมที่ 2 ขลิปหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (Circumcision)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh