กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับวัย ตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น วัดความดัน , กิจการฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า และออกกำลังกายโยคะอย่างง่าย,ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยที่นวดฝ่าเท้า22 ธันวาคม 2565
22
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ยะหา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. วิธีดำเนินการ 3.1 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 3.2 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.3 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรม 3.4 การดำเนินกิจกรรม 1) อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับวัย 2) ตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น วัดความดัน เป็นต้น 3) กิจการฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า และออกกำลังกายโยคะอย่างง่าย 4) ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยที่นวดฝ่าเท้า 3.5 สรุปผลการดำเนินโครงการ

งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา รายละเอียด ดังนี้ 1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ  จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน    800 บาท 2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ
จำนวน 360 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ
จำนวน 360 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท 4. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 9 วัน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 32,400 บาท 5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการฝึกอบรม
5.1 ผ้าขาวม้า จำนวน 360 ผืน ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 43,200 บาท 5.2 เสื่อโยคะ จำนวน 180 ผืน ๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 81,000 บาท 5.3 ที่นวดฝ่าเท้า จำนวน 54 อันๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 24,300 บาท 5.4 เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติดิจิตอลแบบพกพา       จำนวน 9 อัน ๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 13,500 บาท 5.5 ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับใช้ในการฝึกอบรม
จำนวน 360 ชุด ๆ ละ 40 บาท            เป็นเงิน 14,400 บาท       รวมเป็นเงิน  245,600 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผู้สูงอายุได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง 2.ผู้สูงอายุได้ใช้เวลายามว่างให้เป็นประโยชน์ ดัวยการออกกำลังกายที่มีความเหมาะสมกับวัย 3. ผู้สูงอายุได้ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการดูแลสุขภาพได้จริงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ