กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการชุมชนร่วมใจรณรงค์ป้องกันภัยจากโรคติดต่อ บ้านยางขี้นก หมู่ที่ 1

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการชุมชนร่วมใจรณรงค์ป้องกันภัยจากโรคติดต่อ บ้านยางขี้นก หมู่ที่ 1
รหัสโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ บ้านยางขี้นก หมู่ที่ 1
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2565
ปี 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 6,000.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายทวี บุญซ้อน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ประเด็น
แผนงานกิจกรรมทางกาย
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ขนาด 64.96

ปัจจุบันสถานการณ์โรคติดต่อที่เกิดขึ้นในชุมชนตำบลยางขี้นก มีเพิ่มมากขึ้น และมีสถานการณ์ที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคไข้เลือดออกในอดีตการเกิดโรคหากตรวจพบ ก็จะดำเนินการปูพรมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และตรวจสอบลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะก็จะสามารถจำกัดวงการแพร่ระบาดของโรคได้ แต่สถานการณ์ในปัจจุบัน ยังมีความรุนแรง และมีการรายงานผู้ป่วยมาตลอด ไม่ได้จำกัดแค่ในช่วงฤดูฝน แต่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี และสามารถเกิดขึ้นได้ทุกแห่งประกอบกับมีโรคติดต่อที่เกิดขึ้นใหม่ ที่เคยไม่พบหรือหายไปจากชุมชนนานแล้วและกลับมามีผู้ป่วยใหม่ขึ้นเช่น โรควัณโรค และการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า หรือ Covid -19 ซึ่งมีความรุนแรง ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก อีกทั้งมีการกลายพันธุ์อีกด้วย ดังนั้น ทางหมู่บ้านโดยผู้นำชุมชนในเขตตำบลยางขี้นก จึงได้ตกลงกันโดยร่วมกันกับราษฎรในชุมชนในทุกหมู่บ้านจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อรณรงค์ ให้มีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมในบ้านเรือนของตนเอง และถนนรอบหมู่บ้านให้มีความสะอาด ปลอดโปร่ง ไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค หรือจุดเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรค เช่น ไข้เลือดออกเป็นต้น เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี สามารถป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในชุมชน

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมชี้แจงผู้รับผิดชอบ ผู้นำชุมชน อสม ประชาชนในพื้นที่
  2. ดำเนินงานตามโครงการ
  3. สรุปผลการดำเนินกิจกรรม
วิธีดำเนินการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงปลอดภัยจากโรคติดต่อ
    1. ชุมชนตระหนักถึงอันตรายของโรคติดต่อที่ระบาดในชุมชน
    2. ลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนในการบำบัดรักษาร่างกาย เนื่องจากร่างกายได้รับเชื้อโรค
    3. ลดค่าใช้จ่ายลดการใช้สารเคมีในการกำจัดเชื้อโรค พาหะนำโรค เช่น ยุง แมลงวัน แมลงพาหะนำโรค
    4. ชุมชนเข็มแข็ง สมัครสมานสามัคคี รู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน