กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรี อารมณ์ดี ชีวิตมีสุข

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรี อารมณ์ดี ชีวิตมีสุข
รหัสโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมสตรีตำบลโกตาบารู
วันที่อนุมัติ 31 สิงหาคม 2565
ปี 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 24,000.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเปรมจิตร์ ไม้จันทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ประเด็น
แผนงานกิจกรรมทางกาย
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของสตรรีตำบลโกตาบารู พบว่า ปัญหาสุขภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์ถึงวัยกลางคน ช่วยอายุ 15-59 ปี คือ การมีดัชนีมวลกายสูง กระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงและมะเร็ง ซึ่งโรคมะเร็งปากมดลูก และโรคมะเร็งเต้านมในสตรีเป็นปัญหาสุขภาพที่มีแนวโน้มสูงขึ้น การเสริมสร้างพลังอำนาจสำหรับสตรีในการป้องกันสุขภาพ พบว่าสตรีอายุ 15-49 ปี มีปัจจัยความเสิ่ยง คือ สตรีที่ละเลยการตรวจสุขภาพ ปัญหาสำคัญ คือ 1) บกพร่องความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง 2) ขาดแรงจูงใจและแรงสนับสนุน โดยเฉพาะจากสามี อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชน 3) ปัญหาในเรื่องของอุปสรรคทางวัฒนธรรม คือ ความอาย ซึ่งต้องการการเสริมสร้างพลังอำนาจในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นรูปแบบที่สร้างขึ้นจากคำแนะนำของกลุ่มสตรี คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่วมกับการจัดกิจกรรม เพื่อสุขภาพในแต่ละหมู่บ้าน อนามัยเจริญพันธุ์เป็นสุขภาพอนามัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการและหน้าที่ของการเจริญพันธุ์ในทุกช่วงของชีวิตองค์ประกอบพื้นฐาน ได้แก่ สตรีมีความสามารถเจริญพันธุ์ได้ มีบุตรได้ และสามารถมีความสุข กับการมีความสัมพันธ์ทางเพศได้ สามารถมีบุตรแข็งแรงและบุตรมีการเจริญเติบโต และพัฒนาการตามวัย มีวิธีคุมกำเนิดที่ปลอดภัย และมีการดูแลสตรีระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด มีผลทำให้สตรีและบุตร ได้รับความปลอดภัย รวมทั้งความต้องการทางเพศ ไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูง ต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ อนามัยเจริญพันธุ?ไม่ดีจะมีผลเสียต่อสตรีอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การส่งเสริมสถานภาพของสตรีทำให้ในขีดจำกัด การบริการดูแลอนามัยเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมจะเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น การดูแลส่งเสริมให้สตรีมีการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมตามวัย รวมทั้งการได้รับบริการตรวจค้นหา เพื่อป้องกันโรค การส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรี จึงเป็นการส่งเสริมสุขภาพของสตรีให้มีสุขภาพดี และคุณภาพชีวิตด้วยทางหนึ่ง สุขภาพสตรี ปัญหาที่สำคัญ คือความเจ็บป่วยรื้อรังที่สามารถป้องกันได้โดยการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การพักผ่อนหยุ่นใยเพื่อคลาดเครียด การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และการตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเอกงเป็นต้น การออกกำลังกายเพื่อพฤติกรรมสุขภาพประการหนึ่งที่สำคัญ การออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 6-12 เดือน อย่างสม่ำเสมอจะให้ประโยชน์ทังต่อด้านร่างกายและจิตใจ ด้านร่งกาย เช่น ระบบไหลเวียน ผลดีต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ การออกกำลังกายทำให้ปอดขยายใหญ่ขึ้น เป็นการเพ่ิมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดกระดูหักจากโรคกระดูกพรุนได้ สตรีในฐานะที่เป็นบุคลากรสุขภาพ ควรตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพผู้หญิง ควรตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพสตรี ควรให้บริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก เช่น การจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพสตรี อารมณ์ดีชีวีมีสุข โดยการผสมผสานการดูแลสุขภาพหลากหลายวิธี เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของสตรี และให้สตรีมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและรับผิดชอบการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเองที่ยั่งยืน

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. 1. เพื่อให้สตรีมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพสตรีในเรื่องของการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่าง ๆ 2. เพื่อให้สตรีมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการป้องกันโรค 3. เพื่อให้สตรีสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. อบรมให้ความรู้ การดูแลสุขภาพและตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเอง
  2. อบรมให้ความรู้ การดูแลสุขภาพและตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเอง
วิธีดำเนินการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพสตรีในเรื่องของการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่าง ๆ
  2. สตรีมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการป้องกันโรค
  3. สตรีสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้