กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

นสถานการณ์ ปัจจุบัน บริบทการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและเป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่น การใช้อุปกรณ์สื่อสารที่ไร้ขอบเขต การใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆเพื่อสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการบริโภคหรือค่านิยมในการบริโภคที่ผิดๆ ในทางกลับกันความเจริญทางด้านวัตถุนิยม เครื่องใช้เทคโลยีต่าง ส่งผลต่อพฤติกรรมและสุขภาพโดยตรง เช่น ปริมาณขยะพลาสติกตามพื้นที่สาธารณะ ในครัวเรือน 2 ข้างทางสาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สัมพันธภาพภายในครอบครัวลดน้อยลง พ่อแม่ไม่มีเวลาให้แก่ลูก ลูกๆหรือเยาวชนก็ติดโทรศัพท์ เล่นกมส์ออนไลน์ ขาดระเบียบวินัย จากการสังเกตและสอบถามจากหลายๆครอบครัวในพื้นที่ สิ่งที่จะตามมาคือภัยมืดที่คุกคามสุขภาพ เช่น เด็กอ้วน สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปริมาณขยะพลาสติก 2 ข้างทาง ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เนื่องจากปริมาณขยะที่เกิดจาพลาสติกบรรจุอาหารสำเร็จรูปตามร้านค้าต่างๆที่ย่อยสลายยากเพิ่มขึ้นทุกวัน ชีวิตที่เก็บตัวเงียบกับโทรศัพท์ ปัญหาดังกล่าวข้างต้น เชื่อมโยงกันหมดเป็นวงจร เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องรับผิดชอบร่วมโดยไม่ต้องแยกแยะว่าเป็นหน้าที่ของใคร ทางชมรมตาดีกา ม.2 บ้านบากง เห็นควรว่าควรมีการปลูกจิตสำนึก ปลูกฝังทัศนคติที่ดีแก่เด็กวัยเรียน ร่วมกับคณะครูที่สอนจริยธรรมแก่เด็กเยาวชน ในการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ การสร้างทัศนคติที่ถูกต้องตั้งแต่เด็ก การรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี และการสร้างเสริมสุขภาพ กิจกรรมที่มีการขยับ การเคลื่อนไหวทางกาย เพื่อให้เข้ากับวัยที่มีการเล่นให้เด็กๆได้มารวมกลุ่มน่าเป็นสิ่งที่ดี จึงได้จัดทำโครงการของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตุยง เพื่อเป็นการใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องต่อไป

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เด็กวัยเรียน (6–12 ปี) ในพื้นที่ได้มีความรู้ด้านสุขภาพ ทัศนคติ ที่ดี
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของเด็กวัยเรียนในพื้นที่ได้มีความรู้ด้านสุขภาพ ทัศนคติ ที่ดี
50.00 45.00 45.00

 

2 เพื่อให้เด็กวัยเรียน(6–12 ปี) ในพื้นที่เติบโตอย่างมีคุณภาพและมีจิตอาสาตั้งแต่เด็ก
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของเด็กวัยเรียนในพื้นที่เติบโตอย่างมีคุณภาพและมีจิตอาสาตั้งแต่เด็ก
50.00 45.00 45.00

 

3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กในพื้นที่(6–12 ปี) มีการขยับ การเคลื่อนไหวทางกายอย่างสม่ำเสมอ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 95 ของเด็กวัยเรียนในพื้นที่ มีมีการขยับ การเคลื่อนไหวทางกายอย่างสม่ำเสมอ
50.00 47.50 47.50

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 50
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เด็กวัยเรียน (6–12 ปี) ในพื้นที่ได้มีความรู้ด้านสุขภาพ ทัศนคติ ที่ดี (2) เพื่อให้เด็กวัยเรียน(6–12 ปี) ในพื้นที่เติบโตอย่างมีคุณภาพและมีจิตอาสาตั้งแต่เด็ก (3) เพื่อส่งเสริมให้เด็กในพื้นที่(6–12 ปี) มีการขยับ การเคลื่อนไหวทางกายอย่างสม่ำเสมอ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ตรวจสุขภาพและส่งเสริมองค์ความรู้แก่เด็กอายุ 6-12 ปี (2) ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม (3) ส่งเสริมการเคลื่อนไหว การขยับกาย (4) สร้างการมีส่วนร่วมและพัฒนาองค์การความรู้ของเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่ (5) สรุปและประเมินผล

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh