กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการบริหารจัดการสำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ประชุมอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ครั้งที่ 1/25667 ธันวาคม 2565
7
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลแป-ระ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ครั้งที่1/2566
วันที่ 7 ธันวาคม 2565  ณ องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล เพื่อพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมของโครงการจากหน่วยงานที่เสนอขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปการการพิจราณโครงการที่เสนอขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ตำบลแประ วันที่ 7 ธันวาคม 2565 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ผู้เข้าประชุม 1. นางสาวปิยกัญญ์ สตันน๊อด    ประธานอุนกรรมการ 2. นางสาวปาริตตา ลารีนู      อนุกรรมการ 3. นางสาวมูน๊ะ  รอเกตุ      อนุกรรมการ 4.นางสาววีณา  ปังแลมาปุเลา  อนุกรรมการ 5.นายสมนึก  อาดตันตรา    อนุกรรมการและเลขานุการ 6. นางสาวเสาวลักษณ์ ลิ่มศรีพุทธิ์  อนุกรรมการและผช.เลขานุการ ผู้ไม่มาประชุม ๑.นายบาสิทธิ์ รอเกตุ อนุกรรมการ เริ่มประชุมเวลา ๑๐.๐๐ น
คณะอนุกรรมการได้ประชุม หารือ และมีข้อเสนอพิจารณาดังนี้ ๑โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก ๓ อ ๒ ส ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ หน่วยงานรับผิดชอบ รพ.สต.แป-ระ
มติที่ประชุม ๑.เสนอให้จัดการอบรมให้ความรู้เฉพาะครึ่งวันบ่าย เพราะสามารถให้ความรู้ได้ภายใน ๒ ชั่วโมง ซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม     ๒.เสนอควรงดจ่ายค่าวิทยากรเนื่องจากจนท.ประจำ รพ สต.แป-ระ เป็นข้าราชการที่มีหน้าที่ในการอบรมให้ความรู้อยู่แล้ว     ๓.เสนอการอบรม อสม.เชี่ยวชาญ ให้จัดอบรมฉพาะครึ่งวันซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒.โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากในกลุ่มวัยทำงาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ หน่วยงานรับผิดชอบ รพ.สต.แป-ระ
มติที่ประชุม ๑.กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานไม่มีความจำเป็นต้องอบรมให้ความรู้ทักษะด้านทันตกรรมและไม่ควรจัดซื้อผลิตภัณฑ์แปรงสีฟัน ยาสีฟันแจกเพราะเป็นสุขนิสัยส่วนบุคคลที่ต้องดำเนินการเป็นประจำอยู่แล้ว ดังนั้นควรเปลี่ยนเป้าหมายใหม่ ที่ประเมินแล้วว่ามีปัญหาทางด้านสุขภาพช่องปากจริง รอผู้เสนอโครงการตอบกลับ ๓.โครงการหญิงยุคใหม่ห่างไกลมะเร็งปากมดลูก หน่วยงานรับผิดชอบ รพ.สต.แป-ระ มติที่ประชุม ๑.เสนอให้จัดการอบรมเพียงครึ่งวันบ่าย ซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม ตลอดจน ค่าตอบแทนวิทยากร
๔โครงการผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีความสุขปีงบประมาณ ๒๕๖๖ หน่วยงานรับผิดชอบ รพ.สต.แป-ระ
  มติที่ประชุม ๑.เสนอให้จัดการอบรมเพียงครึ่งวันบ่าย ซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม       ๒.เสนอให้ตัดค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เนื่องจากผู้สูงวัยไม่เหมาะแก่การนั่งจดและเขียน       ๓. ค่าชุดเยี่ยมผู้สูงอายุให้ใช้งบประมาณจาก LTC
๕.โครงการจัดซื้อสระว่ายน้ำสำเร็จรูปสำหรับกิจกรรมวารีบำบัด หน่วยงานรับผิดชอบ ศูนย์ผู้พิการ(กองสวัสดิการสังคม)   มติที่ประชุม ๑.ให้หน่วยงานผู้ขอ คำนวณ ค่าติดตั้ง และเขียนงบประมาณยอดเต็มและแบ่งให้ทราบว่า ค่าสระฯ เท่าไหร่ และค่าติดตั้งเท่าไหร่ ขอสมทบจากกองทุนสปสช. ๔๐,๐๐๐ บาท และงบประมาณศูนย์ใช้เท่าไหร่
๖โครงการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ หน่วยงานรับผิดชอบ กองสาธารณสุข
  มติที่ประชุม ๑.หุ่นฝึกอบรมให้ใช้ของเดิมไปก่อนและหากไม่เพียงพอ บูรณาการขอยืมจากหน่วยงานอื่น       ๒.ค่าถุงโยน ราคาสูงเกินไป เสนอราคาไม่ควรเกิน ๗๐๐ บาท       ๓.ค่าตอบแทนวิทยากรไม่ควรเกิน ๖๐๐ บาท
๗. โครงการแก้ปัญหายาเสพติดด้วยพลังรักครอบครัว หน่วยงานรับผิดชอบ กองสาธารณสุข
    มติที่ประชุม ๑.วิทยากรเป็นบุคลากรในสังกัดอปท.ไม่ควรเบิกจ่าย         ๒.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มต้องตัดออก๑มื้อเนื่องจากวันที่ ๒ เสร็จสิ้นโครงการในเวลา ๑๓.๓๐ น.
๘.โครงการพ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออก หน่วยงานรับผิดชอบ กองสาธารณสุข ไม่มีข้อเสนอให้แก้ไข
๙.โครงการฝึกอบรมทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน(CPR) สำหรับประชาชนในตำบลแป-ระ หน่วยงานรับผิดชอบ กองสาธารณสุข
  มติที่ประชุม ๑.เสนอให้จัดกิจกรรมเพียง ๗ วัน หมู่บ้านละ ๑ วัน
๑๐.โครงการศูนย์เรียนรู้และพัฒนาทักษะการป้องกันอุบัติเหตุ หน่วยงานรับผิดชอบ กองสาธารณสุข ไม่มีข้อเสนอให้แก้ไข
๑๑.โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านภาษาและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย หน่วยงานรับผิดชอบ กองการศึกษา
  มติที่ประชุม ๑.เสนอให้ปรับค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเหลือมื้อละ ๒๕ บาท       ๒.ค่าวัสดุอุปกรณ์ผลิตของเล่นควรใช้งบประมาณศูนย์ฯหรือของอปท.       ๓.ควรจัดกิจกรรมเพียงครึ่งวันซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม       ๔.ค่าหนังสือนิทานควรใช้งบประมาณศูนย์ฯหรือของอปท.       ๕.ค่าอุปกรณ์ตกแต่งสถานที่ ผิดระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณกองทุนฯ