กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข

จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรียนรู้ สู่การปฏิบัติ ในหัวข้อ “การดูแลเด็กน้อยทั้ง 4 ด้าน” ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กและครูประจำศูนย์เด็ก10 กุมภาพันธ์ 2566
10
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นายอับดุลฮาเล็ม เบ็ญราซัค
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการจัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ เรียนรู้ สู่การปฏิบัติ ในหัวข้อ “การดูแลเด็กน้อยทั้ง 4 ด้าน” ตาม  โครงการเด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข ตำบลตะโละ ปี 2566 วันที่ 10 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละ กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก และครูประจำศูนย์เด็ก จำนวน 50 คน เวลา รายการ เวลา 08.30 -  09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ เรียนรู้ สู่การปฏิบัติ ในหัวข้อ “การดูแลเด็กน้อยทั้ง 4 ด้าน” ตามโครงการเด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข เวลา 09.00 - 09.30  น. พิธีเปิด/ชี้แจงแนวทางและความเป็นมาของโครงการ ( โดย : นายมูฮัมหมัด  มามะ  นายก อบต.ตะโละ ) เวลา 09.30 - 10.30  น. บรรยายเรื่อง : โภชนศาสตร์ในเด็กเล็ก
( โดย : นางสาวซูไรยา  กามา  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ) เวลา 10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.45 – 12.00 น. สาธิตเมนูอาหารเพื่อพัฒนาโภชนาการ และเมนูลดภาวะซีด
( โดย : นางสาวสุไรยา ดือเระ นักโภชนาการ ) เวลา 12.00 – 13.00 น. ร่วมรับประทานอาหาร และปฏิบัติศาสนกิจ(ละหมาด) เวลา 13.00 – 15.00 น. บรรยายเรื่อง : “วัคซีน”ภูมิคุ้มกันลูกน้อย ( โดย : นางสาวซูไรยา  กามา  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ) เวลา 15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
เวลา 15.15 – 16.15 น. บรรยายเรื่อง : หนูน้อยฟันดี (สอนและปฏิบัติ) ( โดย : นางสาวคอรีเยาะ  หะยีนาแว  จพ.ทันตสาธารณสุขชำนาญงาน ) เวลา 16.15 – 16.15 น. เปิดโอกาสซักถาม - ตอบคำถาม เวลา 16.15 – 16.30 น. พิธีปิด หมายเหตุ : กำหนดการอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้ปกครองที่บุตรมีภาวะทุพโภชนาการมีความรู้และทักษะในการจัดการแก้ไขปัญหาเรื่องการรับประทานอาหารของเด็กเพิ่มขึ้น จากการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก จะเห็นได้ว่า
ก่อนให้ความรู้ผู้ปกครอง มีคะแนนความรู้อยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง และดี เท่ากับร้อยละ 0, 93.75, 6.25 ตามลำดับ หลังให้ความรู้ครั้งที่ 1 มีคะแนนความรู้อยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง และดี เท่ากับร้อยละ 0, 81.25, 18.75 ตามลำดับ หลังให้ความรู้ครั้งที่ 2 มีคะแนนความรู้อยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง และดี เท่ากับร้อยละ 0, 28.13, 71.87 ตามลำดับ หลังให้ความรู้ครั้งที่ 2 มีคะแนนความรู้อยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง และดี เท่ากับร้อยละ 0, 28.13, 71.87 ตามลำดับ หลังให้ความรู้ครั้งที่ 3
มีคะแนนความรู้อยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง และดี เท่ากับร้อยละ 0, 28.13, 71.87 ตามลำดับ ก่อนให้ความรู้ผู้ปกครอง มีคะแนนพฤติกรรมอยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง ดี และดีมาก เท่ากับร้อยละ 0, 46.88, 31.25, 21.8 ตามลำดับ หลังให้ความรู้ครั้งที่ 1 มีคะแนนพฤติกรรมอยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง ดี และดีมาก เท่ากับร้อยละ 0, 40.62, 31.25, 28.13 ตามลำดับ หลังให้ความรู้ครั้งที่ 2 มีคะแนนพฤติกรรมอยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง ดี และดีมาก เท่ากับร้อยละ 0, 21.88, 37.50, 40.62 ตามลำดับ หลังให้ความรู้ครั้งที่ 3 มีคะแนนพฤติกรรมอยู่ในระดับปรับปรุง ปานกลาง ดี และดีมาก เท่ากับร้อยละ 0, 15.62, 21.88, 62.50 ตามลำดับ จากการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามความรู้การบริโภคอาหารของเด็กทั้ง 4 ครั้ง พบว่า ผู้ปกครองมีความรู้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 68.75, 84.37, 34.37 ลำดับ เพราะ มีการติดตามเสริมความรู้โดยเจ้าหน้าที่และอสม.อย่างต่อเนื่อง