กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. จัดกิจกรรมประชุมพัฒนาศักยภาพแก่คณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการกองทุน/คณะทำงานติดตามประเมินผล/คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองกันตัง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการประชุม จำนวน 26 คน โดยมีวิทยากรจากเทศบาลนครตรังมาให้ความรู้ในเรื่องบทบาทหน้าที่ของกรรมการกองทุนฯ/ แนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ปี 2567 และแนวทางการดำเนินงานกองทุน LTC ปี 2567 ซึ่งผลจากการประชุมพัฒนาศักยภาพนั้น ทำให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับความรู้ และมีความความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ มากยิ่งขึ้น
    1. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพฯ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง/ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น แกนนำสุขภาพชุมชน 12 ชุมชน/ผู้นำชุมชน 12 ชุมชน/ครูอนามัยโรงเรียน/ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ตัวแทนชมรมผู้สูงอายุ/ตัวแทนชมรมออกกำลังกาย/ประชาชนทั่วไป/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 60 คน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง มีผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จำนวน 61 คน โดยให้ความรู้เรื่องกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และแนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ปี 2567 ปัญหาสาธารณสุขในเขตเทศบาลเมืองกันตัง แนวทางการจัดทำแผนสุขภาพ และแบ่งกลุ่มจัดทำแผนสุขภาพ พร้อมนำเสนอแผนสุขภาพอันนำสู่การปฏิบัติตามกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม คือ
      1) กลุ่มแม่และเด็ก 0-6 ปี 2) กลุ่มเด็กวัยเรียน 3) กลุ่มวัยทำงาน/ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั่วไป 4) กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5) กลุ่มผู้พิการ/ผู้สูงอายุ
      โดยวิทยากรจากเทศบาลนครตรัง ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง ทีมวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง ผลการประชุมทำให้ได้รับทราบปัญหาสุขภาพที่สำคัญในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ก่อให้เกิดแนวทางการดำเนินงาน/แผนงาน/กิจกรรม/โครงการเพื่อที่จะแก้ไขปัญหา โดยมีรายละเอียดตามกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มแม่และเด็ก 0-6 ปี ผลการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ดังนี้
  2. เด็กขาดสารอาหาร
  3. ยาเสพติด/ แอลกอฮอล์/ บุหรี่ในหญิงตั้งครรภ์
  4. โภชนาการในหญิงตั้งครรภ์
  5. ท้องก่อนวัยอันควรและปัญหาของเด็กที่เกิดจากครอบครัวแตกแยก/ ครอบครัวไม่พร้อม จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้เสนอโครงการเสริมสร้างโภชนาการในเด็ก 0-6 ปี
    งบประมาณ 25,000 บาท 2) กลุ่มเด็กวัยเรียน  ผลการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ดังนี้
  6. เหา
  7. มือ เท้า ปาก / ไข้เลือดออก
  8. สุขภาพในช่องปาก/ ไข้หวัดใหญ่ จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้เสนอโครงการเหาจ๋า ขอลาก่อน งบประมาณ 32,000 บาท 3) กลุ่มวัยทำงาน/ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั่วไป ผลการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ดังนี้
  9. เสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง
  10. โรคอ้วน
  11. ความเครียด จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้เสนอโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง งบประมาณ 20,000 บาท 4) กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผลการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ดังนี้
  12. การควบคุมอาหาร
  13. การออกกำลังกาย/ ขาดความรู้เกี่ยวกับการกินยา
  14. สูบบุหรี่ ดื่มสุรา
  15. ไม่พบแพทย์ตามนัด จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้เสนอโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมการบริโภคของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง งบประมาณ 25,000 บาท 5) กลุ่มผู้พิการ/ผู้สูงอายุ ผลการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ดังนี้
  16. การเคลื่อนไหวไม่สะดวก เสี่ยงพลัดตกหกล้ม
  17. ภาวะสมองเสื่อม
  18. ภาวะโภชนาการ/ ฟัน, ขาดผู้ดูแลผู้พิการ จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้เสนอโครงการสูงวัยกันตัง ลดเสี่ยง พลัดตกหกล้ม งบประมาณ  20,000 บาท
    1. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการ/คณะทำงานต่างๆ ของกองทุนสุขภาพฯ 3.1 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง ดังนี้
    • ครั้งที่ 1 วันที่ 6 ธันวาคม 2565 มีผู้มาประชุม 16 คน

- ครั้งที่ 2 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 มีผู้มาประชุม 21 คน - ครั้งที่ 3 วันที่ 9 มิถุนายน 2566 มีผู้มาประชุม 18 คน - ครั้งที่ 4 วันที่ 13 กันยายน 2566 มีผู้มาประชุม 19 คน 3.2 ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้ - ครั้งที่ 1 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 มีผู้มาประชุม 8 คน - ครั้งที่ 2 วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 มีผู้มาประชุม 9 คน - ครั้งที่ 3 วันที่ 31 สิงหาคม 2566 มีผู้มาประชุม 8 คน 3.3 ประชุมคณะกรรมการติดตามประเมินผล จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้ - ครั้งที่ 1 วันที่ 9 สิงหาคม 2566 มีผู้มาประชุม 8 คน - ครั้งที่ 2 วันที่ 18 กันยายน 2566 มีผู้มาประชุม 8 คน 3.4 ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้ - ครั้งที่ 1 วันที่ 22 ธันวาคม 2565 มีผู้มาประชุม 10 คน - ครั้งที่ 2 วันที่ 14 กันยายน 2566 มีผู้มาประชุม 10 คน 4. จัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน เช่น วัสดุคอมพิวเตอร์ วัสดุสำนักงาน เป็นต้น 5. สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น จำนวน 101,156.50 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1) กิจกรรมประชุมพัฒนาศักยภาพ - ค่าสมนาคุณวิทยากร เป็นเงิน 1,800  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน  780  บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม/แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นเงิน 463.50 บาท - ค่าวัสดุ/อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 1,200  บาท 2) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพ
- ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย เป็นเงิน 1,800  บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากรแบ่งกลุ่ม เป็นเงิน 9,000  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 3,600  บาท - ค่าอาหารกลางวัน เป็นเงิน 4,200  บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม/แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นเงิน  987  บาท - ค่าวัสดุ/อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 3,125  บาท 3) ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง
- ค่าตอบแทนการประชุม เป็นเงิน 29,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 2,220  บาท 4) ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ จำนวน 3 ครั้ง
- ค่าตอบแทนการประชุม เป็นเงิน 7,500  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 750    บาท 5) ค่าตอบแทนหน่วยงาน/กลุ่ม/ชมรม/ชุมชนที่เข้าร่วมประชุมเสนอแผนงานโครงการ/   รายงานผลฯ  เป็นเงิน 3,400  บาท 6) ประชุมคณะทำงานติดตามประเมินผลกองทุนฯ จำนวน 2 ครั้ง
- ค่าตอบแทนการประชุม เป็นเงิน 3,200  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน  480  บาท 7) ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 2 ครั้ง
- ค่าตอบแทนการประชุม เป็นเงิน 6,000  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน  600  บาท 8) ค่าเอกสารประกอบการประชุม เป็นเงิน 1,226  บาท 9) กำหนดมาตรฐานและโครงสร้าง สนง.เลขานุการกองทุนสุขภาพฯ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 6,000  บาท - ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์  เป็นเงิน 11,200 บาท - ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ค่าคู่มือปฏิบัติงานกองทุนฯ) เป็นเงิน 2,025  บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาสุขภาพประชาชนแก่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และภาคีเครือข่ายสุขภาพต่างๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน องค์กร/หน่วยงาน ชุมชน ชมรมต่าง ๆ เป็นต้น
ตัวชี้วัด :

 

2 เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ตัวชี้วัด :

 

3 เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของกองทุนสุขภาพฯ ให้มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด :

 

4 เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาสุขภาพประชาชนแก่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และภาคีเครือข่ายสุขภาพต่างๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน องค์กร/หน่วยงาน ชุมชน ชมรมต่าง ๆ เป็นต้น (2) เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล (3) เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของกองทุนสุขภาพฯ ให้มีประสิทธิภาพ (4) เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กำหนดมาตรฐานและโครงสร้าง สนง.เลขานุการกองทุนสุขภาพฯ (2) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (3) ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง (4) ค่าเอกสารประกอบการประชุม (5) ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ  จำนวน 4 ครั้ง (6) ค่าตอบแทนหน่วยงาน/กลุ่ม/ชมรม/ชุมชนที่เข้าร่วมประชุมเสนอแผนงานโครงการ/รายงานผลฯ (7) ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 2 ครั้ง (8) กิจกรรมประชุมพัฒนาศักยภาพ (9) ประชุมคณะทำงานติดตามประเมินผลกองทุนฯ  จำนวน 4 ครั้ง (10) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนสุขภาพ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh