กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพชุมชนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 คน เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับหลักการและประโยชน์ของการฝึกกิจวัตรประจำวัน หลักการและประโยชน์ของการฟื้นฟูสมรรถภาพเบื้องต้น และแบ่งกลุ่มเข้าฐานการเรียนรู้พร้อมประเมินทักษะ 3 ฐาน คือ ฐานที่ 1 วิธีการนวดบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้พิการ/ทุพพลภาพ ฐานที่ 2 การจัดท่าทาง/การเปลี่ยนท่าที่ถูกต้องในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกและการบริหารข้อป้องกันข้อยึดติด และฐานที่ 3 วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ และประเมินความรู้ก่อน-หลังการเข้ารับการอบรม และประเมินความพึงพอใจ โดยมีวิทยากรจากงานแพทย์แผนไทย และงานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลกันตังมาให้ความรู้ดังกล่าว 1.1 การประเมินความรู้ก่อน-หลังการเข้ารับการอบรม ซึ่งใช้แบบประเมินความรู้เรื่อง การดูแลและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ (คำถามแบบกากบาทถูกผิดหน้าข้อความ จำนวน 10 ข้อ ๆ ละ 1 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 10 คะแนน) สามารถสรุปผลการประเมินได้ ดังนี้

- ก่อนการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 60 ชุด พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนเฉลี่ย 7.1 คะแนน ได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 10 คะแนน จำนวน 12 คน รองลงมาคือ 9 คะแนน จำนวน 14 คน 8 คะแนน จำนวน 11 คน 7 คะแนน จำนวน 8 คน 6 คะแนน จำนวน 9 คน และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 5 คะแนน จำนวน 4 คน จะเห็นได้ว่าก่อนการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน 9 คะแนนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 26.67 รองลงมาคือ 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 20, 8 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 18.33, 6 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 15, 7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 13.33 และ 5 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 6.67 ตามลำดับ - หลังการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 54 ชุด พบว่าผู้เข้าอบรมได้คะแนนเฉลี่ย 8.83 คะแนน ได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 10 คะแนน จำนวน 19 คน รองลงมาคือ 9 คะแนน จำนวน 18 คน  8 คะแนน จำนวน 8 คน 7 คะแนน จำนวน 7 คน และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 6 คะแนน จำนวน 2 คน จะเห็นได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้คะแนน 10 คะแนนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.2 รองลงมาคือ 9 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 33.33, 8 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 14.81, 7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 12.96 และ 6 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 3.70
1.2 การประเมินทักษะการดูแล/ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว แก่แกนนำสุขภาพชุมชน จำนวน 60 คน ตามฐานการเรียนรู้จำนวน 3 ฐาน ซึ่งมีผลการประเมินดังนี้ - ฐานที่ 1 วิธีการนวดบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้พิการ/ทุพพลภาพ ผลการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ผ่านการประเมินร้อยละ 100 - ฐานที่ 2 การจัดท่าทาง/การเปลี่ยนท่าที่ถูกต้องในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกและการบริหารข้อป้องกันข้อยึดติด ผลการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ผ่านการประเมินร้อยละ 100 - ฐานที่ 3 วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ ผลการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ผ่านการประเมินร้อยละ 100 1.3 ผลการประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม จำนวน  60 คน ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน 54 ชุด คิดเป็นร้อยละ 90 ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ร้อยละ 85.80 มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.29
ข้อเสนอแนะ 1. โครงการดีมาก ได้ทบทวน และนำไปปรับใช้ 2. อยากให้มีการจัดอบรมทุกปี 2. กิจกรรมเยี่ยมบ้าน/ฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้พิการทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว โดยประสานงานร่วมกับนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลกันตัง และแกนนำสุขภาพในชุมชน เพื่อลงพื้นที่ประเมินความสามารถของผู้พิการรวมทั้งพิจารณาการฟื้นฟูสมรรถภาพให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้พิการแต่ละราย หรือพิจารณาส่งต่อรับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่โรงพยาบาลกันตัง ให้คำปรึกษาแนะนำการจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เอื้อต่อสุขภาพ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากความพิการที่บ้าน ซึ่งได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน/ฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวในชุมชน จำนวน 24 ราย โดยมีรายชื่อผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว ที่ได้รับการเยี่ยมดังนี้ 1). นายสมชาย จันทร์ก้าน บ้านเลขที่ 316/40 ถ.ตรังคภูมิ 2). นายสุเทพ  ชูแก้ว บ้านเลขที่ 49/3 ถ.ควนทองสี 3). นายจตุรภัทร์ เชียรประสงค์ บ้านเลขที่ 74/79 ถ.ควนทองสี

4). นายวงศ์  ชื่นสมบัติ บ้านเลขที่ 342/1 ถ.ตรังคภูมิ 5). นางบี้ส้อ ตุลารักษ์ บ้านเลขที่ 316/9 ถ.ตรังคภูมิ
6). นางชดช้อย มณีศรี บ้านเลขที่ 316/5 ถ.ตรังคภูมิ 7). นายวิเชียร มานะสุวรรณ บ้านเลขที่ 32/135 ถ.ขื่อนา 8). น.ส. ธันย์ชนก ว่องวิริยะสกุล บ้านเลขที่ 32/123 ถ.ขื่อนา 9). นายประพร วงศ์อภิชาติ บ้านเลขที่ 32/37 ถ.ขื่อนา 10). นายบุญประสิทธิ์ จันทร์แก้ว บ้านเลขที่ 27 ซ.1 ถ.ขื่อนา 11). นางพรทิพย์ สุกิจพิทยานนท์ บ้านเลขที่ 145 ถ.สถลสถานพิทักษ์ 12). นางนันทา กาดิรันต์  บ้านเลขที่ 42/2 ถ.หน้าค่าย
13). นายศุภชัย ผิวดำ บ้านเลขที่ 17 ถ.ค่ายพิทักษ์ 14). นายสุริยา ทองชู บ้านเลขที่ 52/6 ถ.ค่ายพิทักษ์ 15). นางกิมไป๊ มีพันธ์ บ้านเลขที่ 52/18 ถ.ค่ายพิทักษ์ 16). นางนารี บัวเพ็ชร บ้านเลขที่ 111 ซ.1 ถ.รถไฟ 17). น.ส. นลินรัตน์  นิ่มแนบ บ้านเลขที่ 89 ถ.รถไฟ 18). นายสุรินทร์  สีจันทร์ บ้านเลขที่ 88/11 ถ.กิตติคุณ 19). นายวรพันธ์ เกื้อแก้ว บ้านเลขที่ 156 ถ.กิตติคุณ 20). น.ส. วลัยพรรณ ชัยณรงค์ บ้านเลขที่ 29 ถ.รัษฎาอุทิศ 9 21). นางประสพศรี สกุลส่องบุญศิริ บ้านเลขที่ 136 ถ.สถลสถานพิทักษ์ 22). นายสุวิทย์ แสงธีระวัฒน์พร บ้านเลขที่ 124/5 ถ.ตรังคภูมิ 23). น.ส.รีนา แซ่ลิ้ม บ้านเลขที่ 47 ถ.รัษฎา 24). นางจันทรา หาญภักดี บ้านเลขที่ 119/9 ถ.ตรังคภูมิ 2.1 ผลการประเมิน/ติดตามการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวที่บ้านก่อน-หลังการฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามแบบประเมินกิจวัตรประจำวัน (BARTHEL ACTIVITY OF DAILY LIVING SCALE) ซึ่งจากการประเมินกิจวัตรประจำวันก่อนการฟื้นฟูสมรรถภาพ พบว่า ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวส่วนใหญ่ไม่สามารถทํากิจวัตรประจําวันได้เองต้องการความช่วยเหลืออย่างมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41.67 รองลงมา คือ ไม่สามารถทํากิจวัตรประจําวันได้เองต้องการความช่วยเหลืออย่างมาก คิดเป็นร้อยละ 29.17 สามารถทํากิจวัตรประจําวันได้เองในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 25 และสามารถทํากิจวัตรประจําวันได้เองในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 4.16 ตามลำดับ
หลังการฟื้นฟูสมรรถภาพ พบว่า ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวส่วนใหญ่ไม่สามารถทํากิจวัตรประจําวันได้เองต้องการความช่วยเหลืออย่างมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 37.5 รองลงมา คือ ไม่สามารถทํากิจวัตรประจําวันได้เองต้องการความช่วยเหลืออย่างมาก คิดเป็นร้อยละ 33.33 สามารถทํากิจวัตรประจําวันได้เองในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 25 และสามารถทํากิจวัตรประจําวันได้เองในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 4.16 ตามลำดับ 2.3 ผลการประเมินหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยนักกายภาพบำบัด พบว่า ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว มีกำลังกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น หรือ ดีขึ้น จำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.17 และมีกำลังกล้ามเนื้อคงที่หรือเท่าเดิม จำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.83

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชนได้รับความรู้ มีทักษะในการดูแลผู้พิการทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว
ตัวชี้วัด :

 

2 เพื่อให้ผู้พิการทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ตัวชี้วัด :

 

3 เพื่อเสริมศักยภาพในการประกอบกิจวัตรประจำวันของคนพิการทุพลภาพทางการเคลื่อนไหว
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 85
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 60 60
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 25 24
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชนได้รับความรู้ มีทักษะในการดูแลผู้พิการทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว (2) เพื่อให้ผู้พิการทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข  ได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (3) เพื่อเสริมศักยภาพในการประกอบกิจวัตรประจำวันของคนพิการทุพลภาพทางการเคลื่อนไหว

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมสำรวจข้อมูลผู้พิการ (2) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (3) กิจกรรมเยี่ยมบ้าน/ฟื้นฟูสมรรถภาพ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh