กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียน โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L6895-02-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 ธันวาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 34,755.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 194 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ตลอดจนมีเป้าหมายให้ผู้เรียน เป็นคนเก่งและมีความสุข มุ่งเน้นให้ค้นพบความสามารถและความถนัด มาตรา 6 ของพรบ.การศึกษาแห่งชาติได้เน้นให้การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สุขภาพที่ดีเป็นพื้นฐานของคุณภาพชีวิตในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เป็นแนวทางใหม่ในการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องแก่เยาวชนรุ่นใหม่ และเป็นศูนย์กลางในการสร้างสุขภาพที่ดีแก่เยาวชนในชุมชน นักเรียนทุกคนจะต้องทราบนโยบายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน การพัฒนาสุขภาพของโรงเรียนโดยส่งเสริมให้ทุกคนมาให้ความสำคัญ และรู้จักปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพตนเอง ตลอดทั้งสามารถควบคุมมูลเหตุ ปัจจัยและสภาพแวดล้อมก็มีผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคีต่าง ๆ ในพื้นที่เป็นทางเลือกที่สำคัญของการใช้สถานศึกษาเป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์กลางของการสร้างสุขภาพแก่เด็ก เพื่อช่วยให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี
สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียน โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นและอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุมาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรงทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ และส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้วยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้สุขศึกษา บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี การบำบัดรักษา และการติดตาม ประเมินผล ทางโรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษีร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพของเทศบาลเมืองกันตัง ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียน โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี ปี 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน มีความรู้ด้านการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี

ร้อยละ ๘๐ ของนักเรียนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

2 เพื่อให้นักเรียนได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟัน

ร้อยละ 100 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 –ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 194 34,755.00 1 28,535.00
9 ส.ค. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 194 34,755.00 28,535.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ครู 1.2 วางแผนการดำเนินการ จัดเตรียมอุปกรณ์ สำรวจโมเดลฟัน ยังไม่มีโมเดลฟันชนิดฟันผุ
    1.3 ประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ทันตแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่นักเรียน จำนวน 194 คน โดยจัดเป็น ๓ ฐาน ฐานที่ ๑ ให้มีความรู้เกี่ยวกับฟันผุ ระยะและอาการต่างๆของฟันผุ การสำรวจฟันผุเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง และการปฏิบัติตนเมื่อเกิดฟันผุ
    ฐานที่ ๒ ให้มีความรู้ด้านการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี ฝึกปฏิบัติการแปรงฟันถูกวิธีโดยการแปรงด้วยแปรงสีฟัน
    ฐานที่ ๓ ประเมินการแปรงฟันถูกวิธี โดยใช้เม็ดสีย้อมฟัน ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน โดยทีมทันตสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อให้เด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน ได้รับการรักษา/ส่งต่อทางทันตกรรม
    2.2 ประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม
    2.3 จัดกิจกรรมรณรงค์การดูแลสุขภาพช่องปากในโรงเรียน โดยให้นักเรียนได้แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน ภายใต้การดูแลควบคุมของครูประจำชั้น
  3. ขั้นติดตามและประเมินผล 3.1 ติดตาม/ประเมินผลการดูแลสุขภาพช่องปากในนักเรียน โดยครูประจำชั้นใช้แบบบันทึกการแปรงฟันของนักเรียน
  4. ขั้นสรุปและรายงานผล 4.1 สรุปผล/รายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ด้านการรักษาสุขภาพอนามัยช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี
  2. นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2565 18:13 น.