กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียน โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี ปี 2566

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ9 สิงหาคม 2566
9
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

๑. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ จำนวน ๘๓ คน เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมโรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี เกี่ยวกับเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน การตรวจฟันที่ถูกวิธี การเคี้ยวเม็ดสีที่ได้รับจากโครงการ จำนวน ๘๓ เม็ด ได้มีการศึกษาโมเดลฟันแบบมีฟันผุที่ได้รับจากโครงการจำนวน ๒ ชิ้น และนักเรียนได้ปฏิบัติจริงในการแปรงฟัน จากอุปกรณ์การแปรงฟันที่ได้รับจากโครงการ จำนวน ๘๓ ชุด นักเรียนได้รับความรู้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ๒. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ จำนวน ๙๗ คน เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมโรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี เกี่ยวกับเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน การตรวจฟันที่ถูกวิธี การเคี้ยวเม็ดสีที่ได้รับจากโครงการ จำนวน ๙๗ เม็ด ได้มีการศึกษาโมเดลฟันแบบมีฟันผุที่ได้รับจากโครงการจำนวน ๒ ชิ้น และนักเรียนได้ปฏิบัติจริงในการแปรงฟัน จากอุปกรณ์การแปรงฟันที่ได้รับจากโครงการ จำนวน ๙๗ ชุด นักเรียนได้รับความรู้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3. ผลการประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม ดังนี้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ - ก่อนการอบรม ได้ให้นักเรียนทำแบบสอบถาม นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจคิดเป็นร้อยละ 48.๕ - หลังการอบรม ได้ให้นักเรียนทำแบบสอบถาม นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจคิดเป็นร้อยละ ๙๐ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ - ก่อนการอบรม ได้ให้นักเรียนทำแบบสอบถาม นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจคิดเป็นร้อยละ ๕๐.๕ - หลังการอบรม ได้ให้นักเรียนทำแบบสอบถาม นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจคิดเป็นร้อยละ ๙๒ 4. กิจกรรมรณรงค์การดูแลสุขภาพช่องปากในโรงเรียน  โดยให้นักเรียนได้แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน  ภายใต้การดูแลควบคุมของครูประจำชั้น  ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมรณรงค์การดูแลสุขภาพช่องปากในโรงเรียน  โดยแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน  จำนวน ๑๘๐  คน 5. ติดตาม/ประเมินผลการดูแลสุขภาพช่องปากในนักเรียน โดยครูประจำชั้นใช้แบบบันทึกการแปรงฟันของนักเรียน 6. สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโครงการ 1). ตัวชีวัด ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน  ผลพบว่า
2). ตัวชีวัด ร้อยละ 100 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 –ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน ผลพบว่า นักเรียน ร้อยละ ๒๐ ยังมีปัญหาฟันผุ นักเรียนร้อยละ ๑๕ ยังแปรงฟันไม่สะอาด