กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง


“ โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ”

ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นางศุภัศร์มา ยี่สุ่นศรี

ชื่อโครงการ โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย

ที่อยู่ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 2566-L7161-1-02 เลขที่ข้อตกลง 03/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 3 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 2566-L7161-1-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 3 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 77,640.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากสถานการณ์ด้านสุขภาพในปัจจุบันที่สังคมกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society ) ความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น ในขณะที่อัตราการเกิดลดลง คาดว่าอีก ๑๐ ปี ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยระดับยอดสูงสุด” (Super-Aged Society) และบริการหนึ่งที่จะขาดไม่ได้สำหรับสังคมสูงวัยคือ บริการด้านสาธารณสุข จากการวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการด้านสุขภาพในพื้นที่เทศบาลเมืองเบตงพบว่า หนึ่งในความต้องการการสนับสนุนที่สำคัญคือ การฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยและผู้พิการที่มีข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหว พบว่าในปี 2565 อำเภอเบตงมีจำนวนผู้พิการอยู่ทั้งหมด 7,193 คน ผู้สูงอายุติดบ้าน 55 ราย ผู้สูงอายุติดเตียง 19 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน 42 ราย ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟื้นฟูหลังประสบอุบัติเหตุ 14 ราย และในปัจจุบัน มีผู้มารับบริการทางกายภาพบำบัดเป็นจำนวน 2,613 ราย คิดเป็น 5,967 ครั้ง/ปี (ข้อมูลจากแผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเบตง) โดยจำนวนผู้ป่วยมารับบริการเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มโรค โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การฟื้นฟูสมรรถภาพจึงถือเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและผู้พิการทางการเคลื่อนไหว รวมถึงผู้สูงอายุในชุมชนที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้นและยั่งยืน โดยมีญาติและคนในชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อให้ร่างกายกลับมาทำหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพที่ควรจะเป็น ชะลอการเสื่อมถอย ลดการเกิดภาวะพึ่งพิง
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นประกอบกับอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 มาตรา ที่ 50 ข้อที่ 7 ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ และพระราชกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 หมวดที่ 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตราที่ 16 ให้เทศบาลเมืองพัทยาและองค์การบริหารส่วนตำบลมีอํานาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ข้อ 10 การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรีคนชรา และผู้ด้อยโอกาส     เทศบาลเมืองเบตงโดยผู้บริหารจึงได้กำหนดนโยบายในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสุขภาพประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ป่วย ผู้พิการ และผู้สูงอายุในชุมชน โดยบูรณาการร่วมกับโรงพยาบาลเบตง และภาคประชาชน จัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลาขึ้น เพื่อใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเบตง พัฒนาอาสาสมัครในชุมชน ให้มีความสามารถในการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ประชาชนในชุมชนได้ เพราะการฟื้นฟูที่ดีที่สุดควรจะอยู่ในชุมชน เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วม การให้บริการดังกล่าวมีความจำเป็นต่อประชาชนที่ต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากข้อจำกัดทางร่างกาย เป็นการให้บริการสาธารณะให้แก่ประชาชนที่มีความเดือดร้อน และเพิ่มช่องทางในการอำนวยความสะดวกในการเข้ารับบริการของประชาชน รวมถึงช่วยให้การเดินทางมารับบริการของประชาชนสะดวกมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งที่จะต้องพัฒนาควบคู่กันไปด้วยคือการพัฒนาอาสาสมัครประจำศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ประชาชน ซึ่งมีความจำเป็นในการทำหน้าที่ดูแลผู้รับบริการ โดยการพัฒนาอาสาสมัครนั้น จะครอบคลุมทั้งการถ่ายทอดข้อมูล ความรู้ รวมถึงฝึกทักษะที่จำเป็นด้านสุขภาพโดยเน้นกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพมากที่สุดเป็นอันดับแรก อนึ่งการดำเนินงานโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรับบริการทางด้านสาธารณสุขในพื้นที่ ให้มีความรวดเร็วในการรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ลดความพิการและภาวะแทรกซ้อน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน
    เทศบาลเมืองเบตงจึงได้เสนอโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายขึ้น ทั้งนี้ขอรับรองว่าโครงการนี้ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น มีความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน และเทศบาลเมืองเบตงได้รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้ป่วย ผู้พิการ และผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวในเขตเทศบาลเมืองเบตง เข้าถึงบริการฟื้นฟูฯ ได้รับบริการที่มีคุณภาพและต่อเนื่อง
  2. เพื่อพัฒนาอาสาสมัครในชุมชน ให้มีความรู้ความสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ประชาชนในชุมชนได้และสามารถให้บริการที่ศูนย์ฟื้นฟูฯได้
  3. ผู้ใช้บริการภายในศูนย์ฟื้นฟูฯ มีความพึงพอใจในการใช้บริการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ลงปฏิบัติงานเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่กายภาพบำบัด ณ ศูนย์ฟื้นฟูฯ ตามวันเวลาที่กำหนด
  2. จัดอบรม ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลเบตง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 84
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ป่วย ผู้พิการ และผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวในเขตเทศบาลเมืองเบตง เข้าถึงบริการฟื้นฟูฯ และได้รับบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย โดยมีอุปกรณ์และบุคลากรที่เพียงพอ ลดภาวะพึ่งพิง ลดความพิการ มีคุณภาพชีวิตที่ดี 2 ผู้ช่วยเหลือประจำศูนย์ฟื้นฟูฯ มีความรู้ความสามารถในการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ประชาชนได้ สามารถให้บริการที่ศูนย์ฟื้นฟูฯได้ รวมถึงให้คำแนะนำและให้การฟื้นฟูแก่ประชาชนได้ 3 ลดจำนวนการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลเบตง

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดอบรม ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลเบตง

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1 ประชุมวางแผนร่วมกับหน่วยเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลเบตง 2 ประสานงานกับศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองเบตง ทั้ง 3 แห่ง
    3 ประสานงานวิทยากร เพื่อกำหนดเนื้อหาและหลักสูตรที่ใช้ในการอบรม 4 เสนอโครงการเพื่อของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตงในการดำเนินงานและพิจารณาอนุมัติโครงการ 5 ขอใช้สถานที่ จัดเตรียมเอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ 6 ประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้เข้ารับการอบรม
    7 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้
    8 ประเมินความรู้ผู้เข้ารับการอบรมโดยการถามตอบและสาธิตการปฏิบัติย้อนกลับ 9 มอบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้ารับการอบรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดอบรมในวันที่ 22 -24 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08.30 - 16.30 น.
มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 84 คน
ณ ห้องประชุมภู่พัฒน์ โรงพยาบาลเบตง และลงปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเบตง ผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจ ระดับดี 76 คน คิดเป็นร้อยละ 90.47 และระดับพอใช้ 8 คน คิดเป็นร้อยละ 9.53
จากการดำเนินงานฯ บรรลุวัตถุประสงค์ทั้ง 3 ข้อ

 

84 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้ป่วย ผู้พิการ และผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวในเขตเทศบาลเมืองเบตง เข้าถึงบริการฟื้นฟูฯ ได้รับบริการที่มีคุณภาพและต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้ป่วย ผู้พิการ และผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวในเขตเทศบาลเมืองเบตงได้รับบริการช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายจากอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมอย่างต่อเนื่อง
0.00 0.00

 

2 เพื่อพัฒนาอาสาสมัครในชุมชน ให้มีความรู้ความสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ประชาชนในชุมชนได้และสามารถให้บริการที่ศูนย์ฟื้นฟูฯได้
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม สามารถสอบภาคปฏิบัติผ่านได้
0.00

 

3 ผู้ใช้บริการภายในศูนย์ฟื้นฟูฯ มีความพึงพอใจในการใช้บริการ
ตัวชี้วัด : ผู้ใช้บริการช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายจากอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมมีความพึงพอใจร้อยละ 80 ขึ้นไป
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 84
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 84
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ป่วย ผู้พิการ และผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวในเขตเทศบาลเมืองเบตง เข้าถึงบริการฟื้นฟูฯ ได้รับบริการที่มีคุณภาพและต่อเนื่อง (2) เพื่อพัฒนาอาสาสมัครในชุมชน ให้มีความรู้ความสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ประชาชนในชุมชนได้และสามารถให้บริการที่ศูนย์ฟื้นฟูฯได้ (3) ผู้ใช้บริการภายในศูนย์ฟื้นฟูฯ มีความพึงพอใจในการใช้บริการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ลงปฏิบัติงานเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่กายภาพบำบัด ณ ศูนย์ฟื้นฟูฯ ตามวันเวลาที่กำหนด (2) จัดอบรม ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลเบตง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 2566-L7161-1-02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางศุภัศร์มา ยี่สุ่นศรี )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด