กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วย 3 อ 2 ส ภายใต้ภูมิปัญญาท้องถิ่นวิถีไทย ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 2566-L7161-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม. ชุมชนเบตงฮูลู
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 47,375.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปรารถนา ธัมมากาศ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของประชาชนชุมชนเบตงฮูลู อายุ 35 ปีขึ้นไปทั้งหมด จำนวน 1,264 คนได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 543 รายคิดเป็นร้อยละ 42.96 พบเป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.58 กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน53 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.76ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 543 ราย พบเป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน5 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.92 กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.58 (ข้อมูลจากศูนย์บริการสาธารณสุขศาลาประชาคม วันที่ 14 กันยายน 2565) และยังพบอีกว่า อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นๆของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนั้นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนทุกกลุ่มจะช่วยทำให้กลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่นๆในชุมชน เป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้องโดยใช้หลัก 3อ 2ส เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกันไปอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นคณะกรรมการ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนเบตงฮูลู ได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของ ประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วย 3อ 2ส ภายใต้ภูมิปัญญาท้องถิ่นวิถีไทย ประจำปี 2566 โดยนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค 3อ 2ส ตามวิถีชุมชน เพื่อการมีสุขภาพดีโดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย 3อ2ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย 3อ2ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม

0.00
2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคร่วมกันของคนในชุมชน

เกิดกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่มีกิจกรรมต่อเนื่อง ในชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 47,375.00 3 47,375.00
12 มี.ค. 66 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ เน้นกระบวนการ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ 0 9,225.00 9,225.00
12 มี.ค. 66 อบรมให้ความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นการใช้สมุนไพรและการนวดเพื่อสุขภาพ 150 38,150.00 38,150.00
12 มี.ค. 66 แบ่งโซนจัดทำฐานการเรียนรู้และฟื้นฟูกลุ่มเพื่อนเตือนเพื่อนพันธะสัญญาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย ๓อ๒ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม 2. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มีสถานะสุขภาพดีขึ้นและไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ 3. เกิดกลุ่มสุขภาวะในชุมชนและมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2565 00:00 น.