กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการถังขยะเปียกในครัวเรือนลดโลกร้อน
รหัสโครงการ 66-L3319-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มกราคม 2566 - 30 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 84,780.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางณิชนันท์ ฉิมสุด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน "จังหวัดสะอาด" กำหนดกรอบการดำเนินงานจำนวน 3 ระยะ ให้แก่ ต้นทาง คือ การลดปริมาณขยะ การส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง และกำหนดให้ครัวเรือนทุกครัวเรือน จัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน กลางทาง คือ การจัดทำระบบเก็บขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และปลายทาง คือ ขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานจัดการขยะต้นทางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กระทรวงมหาดไทยได้เสนอขึ้นทะเบียนโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเทศไทย ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกจากสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (TVER) โดยมีระยะเวลาการรับรองคาร์บอนเครดิตตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2560 - 30 มิถุนายน 2569 และกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของขยะเปียกในระดับครัวเรือน โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนซึ่งนับเป็นปัญหาสำคัญ ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตขยะ อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของประชาชน จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี และปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสมตามมา ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนและสภาพความเป็นอยู่ในครัวเรือน ทำลาย ทัศนียภาพ เกิดเป็นความไม่สวยงามของบ้านเมือง เป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์และพาหนะนำโรคต่างๆ เช่น หนู ยุง แมลงวัน แมลงสาบ เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนสร้างความรำคาญและอาจบั่นทอนสุขภาพของคนในชุมชนในที่สุด ดังนั้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการขยะของกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนเป็นการจัดการขยะ ต้นทางเพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน การสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี พร้อมทั้งสามารถ เผยแพร่ให้ประชาชนได้นำหลัการคัดแยกขยะ RS (Reduce Reuse Recycle) มาใช้ในพื้นที่ตำบลทะเลน้อย ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะเลน้อยจึงได้จัดทำโครงการถังขยะเปียกครัวเรือนลดโลกร้อนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 84,780.00 0 0.00
1 - 28 ก.พ. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง 0 6,700.00 -
1 มี.ค. 66 - 30 มิ.ย. 66 กิจกรรมลงพื้นที่จัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนลดโลกร้อน 0 78,080.00 -

1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง รายละเอียด 1. ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท 2. ค่าอาหาร จำนวน 1 มื้อๆละ 80 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 2,400 บาท 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ 30 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 4. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2x2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 400 บาท งบประมาณ 6,700.00 บาท
  2) กิจกรรมลงพื้นที่จัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนลดโลกร้อน รายละเอียด *ลงพื้นที่จัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนลดโลกร้อน ระยะที่ 1 จำนวน 250 ครัวเรือน -ถังพลาสติกแบบมีฝาปิด เจาะท้าย ขนาดบรรจุ 20 ลิตร จำนวน 250 ใบๆละ 80 บาท เป็นเงิน 20,000 *ลงพื้นที่จัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนลดโลกร้อน ระยะที่ 2 จำนวน 250 ครัวเรือน -ถังพลาสติกแบบมีฝาปิด เจาะท้ายขนาดบรรจุ 20 ลิตร จำนวน 250 ใบๆละ 80 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท *ลงพื้นที่จัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนลดโลกร้อน ระยะที่ 3 จำนวน 250 ครัวเรือน -ถังพลาสติกแบบมีฝาปิด เจาะท้ายขนาดบรรจุ 20 ลิตร จำนวน 250 ใบๆละ 80 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท *ลงพื้นที่จัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนลดโลกร้อน ระยะที่ 4 จำนวน 226 ครัวเรือน -ถังพลาสติกแบบมีฝาปิด เจาะท้ายขนาดบรรจุ 20 ลิตร จำนวน 226 ใบๆละ 80 บาท เป็นเงิน 18,080 บาท รวมงบประมาณ 78,080 บาท งบประมาณ 78,080.00 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถขับเคลื่อนการลดปริมาณและการคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน
  2. ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนและมีความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง
  3. ปริมาณขยะที่ต้องฝังกลบ ลดขยะตกค้าง ทำให้ลดมลภาวะจากขยะชุมชนลงได้
  4. สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรคและพาหะนำโรคต่างๆ
  5. ประชาชนตำบลทะเลน้อยมีสุขภาวะที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2566 13:46 น.