กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทะเลน้อย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการถังขยะเปียกในครัวเรือนลดโลกร้อน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทะเลน้อย

หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.

อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทะเลน้อย

ตำบลทะเลน้อย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน "จังหวัดสะอาด" กำหนดกรอบการดำเนินงานจำนวน 3 ระยะ ให้แก่ ต้นทาง คือ การลดปริมาณขยะ การส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง และกำหนดให้ครัวเรือนทุกครัวเรือน จัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน กลางทาง คือ การจัดทำระบบเก็บขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และปลายทาง คือ ขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานจัดการขยะต้นทางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กระทรวงมหาดไทยได้เสนอขึ้นทะเบียนโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเทศไทย ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกจากสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (TVER) โดยมีระยะเวลาการรับรองคาร์บอนเครดิตตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2560 - 30 มิถุนายน 2569 และกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของขยะเปียกในระดับครัวเรือน โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนซึ่งนับเป็นปัญหาสำคัญ ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตขยะ อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของประชาชน จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี และปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสมตามมา ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนและสภาพความเป็นอยู่ในครัวเรือน ทำลาย ทัศนียภาพ เกิดเป็นความไม่สวยงามของบ้านเมือง เป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์และพาหนะนำโรคต่างๆ เช่น หนู ยุง แมลงวัน แมลงสาบ เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนสร้างความรำคาญและอาจบั่นทอนสุขภาพของคนในชุมชนในที่สุด ดังนั้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการขยะของกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนเป็นการจัดการขยะ ต้นทางเพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน การสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี พร้อมทั้งสามารถ เผยแพร่ให้ประชาชนได้นำหลัการคัดแยกขยะ RS (Reduce Reuse Recycle) มาใช้ในพื้นที่ตำบลทะเลน้อย ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะเลน้อยจึงได้จัดทำโครงการถังขยะเปียกครัวเรือนลดโลกร้อนขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อขับเคลื่อนการลดปริมาณและการคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน
2. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน
3. เพื่อรณรงค์ และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
4. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการ ขยะเปียดลดโลกร้อน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริการจัดมูลฝอยชุมชนในพื้นที่ตำบล

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/06/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  2. ค่าอาหาร จำนวน 1 มื้อๆละ 80 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 2,400 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ 30 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  4. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2x2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมลงพื้นที่จัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนลดโลกร้อน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมลงพื้นที่จัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนลดโลกร้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

*ลงพื้นที่จัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนลดโลกร้อน ระยะที่ 1 จำนวน 250 ครัวเรือน -ถังพลาสติกแบบมีฝาปิด เจาะท้าย ขนาดบรรจุ 20 ลิตร จำนวน 250 ใบๆละ 80 บาท เป็นเงิน 20,000 *ลงพื้นที่จัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนลดโลกร้อน ระยะที่ 2 จำนวน 250 ครัวเรือน -ถังพลาสติกแบบมีฝาปิด เจาะท้ายขนาดบรรจุ 20 ลิตร จำนวน 250 ใบๆละ 80 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท *ลงพื้นที่จัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนลดโลกร้อน ระยะที่ 3 จำนวน 250 ครัวเรือน -ถังพลาสติกแบบมีฝาปิด เจาะท้ายขนาดบรรจุ 20 ลิตร จำนวน 250 ใบๆละ 80 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท *ลงพื้นที่จัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนลดโลกร้อน ระยะที่ 4 จำนวน 226 ครัวเรือน -ถังพลาสติกแบบมีฝาปิด เจาะท้ายขนาดบรรจุ 20 ลิตร จำนวน 226 ใบๆละ 80 บาท เป็นเงิน 18,080 บาท รวมงบประมาณ 78,080 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
78080.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 84,780.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถขับเคลื่อนการลดปริมาณและการคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน
2. ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนและมีความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง
3. ปริมาณขยะที่ต้องฝังกลบ ลดขยะตกค้าง ทำให้ลดมลภาวะจากขยะชุมชนลงได้
4. สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรคและพาหะนำโรคต่างๆ
5. ประชาชนตำบลทะเลน้อยมีสุขภาวะที่ดี


>