กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเสริมสร้างพลังแกนนำ ในการเฝ้าระวังสุขภาพด้านคุ้มครองผู้บริโภคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปูน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2566

อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับอาหารยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพและสามารถนำความรู้ไปแนะนำประชาชนในหมู่บ้านได้ถูกต้อง11 สิงหาคม 2566
11
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเขาปูน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับอาหารยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพและสามารถนำความรู้ไปแนะนำประชาชนในหมู่บ้านได้ถูกต้อง กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจร้านค้าในชุมชนทั้ง 7 หมู่บ้าน พร้อมให้คำแนะนำด้านคุ้มครองผู้บริโภค กิจกรรมที่ 3 ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังเพื่อแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้หลงเชื่อโฆษณาที่โอ้อวดสรรพคุณยาเกินจริง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินงาน วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อให้แกนนำด้านคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพและสามารถนำความรู้ไปแนะนำประชาชนในหมู่บ้านได้ถูกต้อง เครื่องมือวิธีการ จากแบบทดสอบก่อน-หลังเข้าร่วมอบรม กิจกรรม อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับอาหารยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพและสามารถนำความรู้ไปแนะนำประชาชนในหมู่บ้านได้ถูกต้อง วิธีการดำเนินงาน 1. ประสานความร่วมมือระหว่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ             2. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่อาสาสมัครสาธารณสุขหรือตัวแทนที่ทำหน้าที่เป็นแกนนำด้านคุ้มครองผู้บริโภค             3. อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับอาหารยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพและสามารถนำความรู้ไปแนะนำประชาชนในหมู่บ้านได้ถูกต้อง ผลการใช้จ่ายงบประมาณ
-ค่าวิทยากร 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท                    เป็นเงิน 1,800 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท            เป็นเงิน 1,250 บาท -ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1.5×3 เมตร จำนวน 1 ป้ายๆ ละ 500 บาท    เป็นเงิน 500 บาท -ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลัง จำนวน 50 ชุดๆ ละ 6 บาท          เป็นเงิน 300 บาท -จ้างทำแผ่นพับให้ความรู้เกี่ยวกับด้านคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 50 ชุดๆ ละ 10 บาท  เป็นเงิน 500 บาท จากการดำเนินโครงการในครั้งนี้ ส่งผลให้แกนนำด้านคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับอาหาร ยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพดูได้จากคะแนนที่เพิ่มขึ้นก่อนและหลังเข้าร่วมอบรมเพิ่มร้อยละ 100
    ในการจัดโครงการในครั้งนี้ บรรลุตามวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อให้ร้านขายของชำในหมู่บ้านผ่านเกณฑ์ตามแบบประเมินร้านชำประจำปี เครื่องมือวิธีการ จากแบบประเมินร้านชำประจำปี กิจกรรม กิจกรรมสำรวจร้านค้าในชุมชนทั้ง 7 หมู่บ้าน พร้อมให้คำแนะนำด้านคุ้มครองผู้บริโภค วิธีการดำเนินงาน 1.ประสานความร่วมมือระหว่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอาสาสมัครสาธารณสุขพร้อมชี้แจ้งการดำเนินงาน   2.สำรวจร้านค้าในชุมชนทั้ง 7 หมู่บ้าน พร้อมให้คำแนะนำด้านคุ้มครองผู้บริโภคแก่ผู้ประกอบการ ผลการใช้จ่ายงบประมาณ
-จ้างทำแผ่นพับให้ความรู้เกี่ยวกับด้านคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 19 ชุดๆ ละ 10 บาท  เป็นเงิน 190 บาท จากการดำเนินโครงการในครั้งนี้ พบว่าร้านค้าบางร้านยังมีการขายยาอันตรายและสินค้าหมดอายุแต่ร้อยละ 90 ของร้านขายของชำในหมู่บ้านผ่านเกณฑ์ตามแบบประเมินร้านชำประจำปี     ในการจัดโครงการในครั้งนี้ บรรลุตามวัตถุประสงค์


วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 .เพื่อเฝ้าระวังการใช้ ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังเครื่องมือวิธีการ จากการเยี่ยมบ้านและแบบทดสอบก่อน – หลังให้ความรู้ กิจกรรม ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังเพื่อแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้หลงเชื่อโฆษณาที่โอ้อวดสรรพคุณยาเกินจริง วิธีการดำเนินงาน 1.ประสานความร่วมมือระหว่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอาสาสมัครสาธารณสุขพร้อมชี้แจ้งการดำเนินงาน   2.ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังเพื่อแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้หลงเชื่อโฆษณาที่โอ้อวดสรรพคุณยาเกินจริง ผลการใช้จ่ายงบประมาณ
-ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลัง จำนวน 35 ชุดๆ ละ 6 บาท          เป็นเงิน 210 บาท
-จ้างทำแผ่นพับให้ความรู้เกี่ยวกับด้านคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 35 ชุดๆ ละ 10 บาท  เป็นเงิน 350 บาท จากการดำเนินโครงการในครั้งนี้พบว่ากลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังมีความรู้ในการใช้ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพถูกต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 90     ในการจัดโครงการในครั้งนี้ บรรลุตามวัตถุประสงค์