กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการครอบครัวโภชนาการดี สูงดีสมส่วน ลดภาวะซีดในเด็ก 0-5 ปี

จัดประชุมเชิงปฎิบัติการ ให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ไม่สมส่วน ) จำนวน 1 วัน (กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครอง เด็กที่ไม่สูงดี สมส่วน ซีด 35 คน)19 เมษายน 2566
19
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลกะรุบี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นเตรียมการ 1. รวบรวมข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ การเจริญเติบโตและ ภาวะซีดเด็ก(0-5 ปี)ของ รพ.สต. เพื่อทราบกลุ่มเป้าหมาย 2. วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำมาประเมินภาวะทุพโภชนาการ ด้าน ส่วนสูง – อายุ ,ส่วนสูง – น้ำหนัก, น้ำหนัก –อายุ  เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ขั้นดำเนินการ 1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และ อสม. เพื่อวางแผนแนวทางการดำเนินงานและกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ 2. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กเล็ก(0- 5 ปี )เชิงรุกในชุมชน ทุก ๓ เดือน
3. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในทะเบียนเด็กและบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพเด็กสีชมพู พร้อมแจ้งผู้ปกครองทราบ 4. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลจัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน เด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอมและเด็กเตี้ย แยกเป็นการเฉพาะ
5. ตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้น เด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน เด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอมและเด็กเตี้ย โดย พยาบาลวิชาชีพประจำ รพ.สต. และหากมีปัญหาส่งต่อพบแพทย์ เป็นรายกรณี 6. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ การเจริญเติบโตและ ภาวะซีดในเด็ก และพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลเด็กจากผู้ปกครอง โดยเชิญพ่อแม่เด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม เตี้ย และเด็กที่มีภาวะซีด เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ และจัดทำ Pre-Post Test โดยวิทยากรจาก รพ. หรือ รพ.สต มีเนื้อหาดังนี้ (หรือตามหลักสูตรกรมอนามัย) - ความสำคัญของอาหารสำหรับเด็ก และการจัดเมนูอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วน และเด็กผอม    เตี้ย และอหารป้องกันภาวะซีด - วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก - ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลังกาย - วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่นและลดพฤติกรรมอยู่นิ่ง - การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและการเจริญเติบโตช้า ได้รับความรู้ ร้อยละ 100 2. ร้อยละ95 ของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและการเจริญเติบโตช้ามาตามนัด