กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

การเฝ้าระวังติดตามภาวะทุพโภชนาการ

กิจกรรม : การเฝ้าระวังติดตามภาวะทุพโภชนาการ
วันที่ 17/07/2023 - 17/07/2023
งบประมาณที่ตั้งไว้ 38,825.00 บาท
กลุ่มเป้าหมาย 65 คน
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย วิธีดำเนินการ/รายละเอียดกิจกรรม
1 การเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโต
-จัดทำทะเบียน/บัญชีเด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบ
-ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กทุก 3 เดือน คือ ตุลาคม มกราคม เมษายน และกรกฎาคม พร้อมกับประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก
-นำข้อมูลบันทึกลงในโปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิด – 5 ปี และหรือสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก (สมุดสีชมพู)
-นำข้อมูลจากโปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโต แจ้งผลประเมินภาวะการเจริญเติบโตและแนวโน้มการเพิ่มน้ำหนักส่วนสูง และให้คำแนะนำแก่พ่อแม่/ผู้ปกครองในการดูแลด้านโภชนาการและการเล่น
2 การประกอบอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมสำหรับเด็ก เพื่อแก้ไขเด็กที่มีน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอมและเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
-จัดทำทะเบียนเด็กที่มีเด็กที่มีน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม น้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน -กรณีเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม สาธิตการทำอาหารที่เพิ่มน้ำหนัก(โดยนักโภชนาการ)ให้กับผู้ปกครองเด็กและสนับสนุนนม จนกว่าเด็กกลับมาอยู่ในระดับค่อนข้างเตี้ย ค่อนข้างผอม และหากน้ำหนักไม่ขึ้นให้วิเคราะห์เป็นรายกรณีและส่งพบแพทย์หากผิดปกติ
-กรณีเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
3 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมแบบรายงาน (ภาคผนวก) ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลยะหา
รายละเอียดกิจกรรม :
วิธีดำเนินการ/รายละเอียดกิจกรรม
1 การเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโต
-จัดทำทะเบียน/บัญชีเด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบ
-ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กทุก 3 เดือน คือ ตุลาคม มกราคม เมษายน และกรกฎาคม พร้อมกับประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก
-นำข้อมูลบันทึกลงในโปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิด – 5 ปี และหรือสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก (สมุดสีชมพู)
-นำข้อมูลจากโปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโต แจ้งผลประเมินภาวะการเจริญเติบโตและแนวโน้มการเพิ่มน้ำหนักส่วนสูง และให้คำแนะนำแก่พ่อแม่/ผู้ปกครองในการดูแลด้านโภชนาการและการเล่น
2 การประกอบอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมสำหรับเด็ก เพื่อแก้ไขเด็กที่มีน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอมและเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
-จัดทำทะเบียนเด็กที่มีเด็กที่มีน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม น้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน -กรณีเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม สาธิตการทำอาหารที่เพิ่มน้ำหนัก(โดยนักโภชนาการ)ให้กับผู้ปกครองเด็กและสนับสนุนนม จนกว่าเด็กกลับมาอยู่ในระดับค่อนข้างเตี้ย ค่อนข้างผอม และหากน้ำหนักไม่ขึ้นให้วิเคราะห์เป็นรายกรณีและส่งพบแพทย์หากผิดปกติ
-กรณีเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
3 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมแบบรายงาน (ภาคผนวก) ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลยะหา

งบประมาณ
- ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักแบบเข็ม จำนวน 4 หมู่บ้าน รวม 14 เครื่อง
หมู่ที่ 4 บ้านลากอจำนวน 5 เครื่อง
หมู่ที่ 5 บ้านบาโด จำนวน 4 เครื่อง
หมู่ที่ 7 สะปาเราะ จำนวน 3 เครื่อง
หมู่ที่ 8 เจาะกลาดี จำนวน 3 เครื่อง
- ราคาเครื่องละ 700 บาท*8 เครื่องเป็นเงิน5,600บาท
- ค่าสาธิตเมนูอาหาร สำหรับผู้ปกครองเด็ก (ข้าวผัด แกงจืด ขนมหวานถั่วเขียว) เป็นเงิน3,000บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท*65 คน*2 มือเป็นเงิน3,250บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท*65 คน*1 มือ เป็นเงิน3,250บาท
- ค่าอาหารเสริมที่มีโปรตีนและพลังงานสูงแก่เด็กขาดสารอาหาร (นม)
จำนวน 65 คนๆละ 325 บาท (คนละ 36 กล่อง)เป็นเงิน 21,125 บาท
- ค่าป้ายไวนิล ชื่อโครงการจำนวน 1 ผืนๆละ 800 บาท เป็นเงิน 800 บาท
- ค่าวิทยากร 6 ชม.ๆ 300 บาท (สาธิตเมนูอาหาร)เป็นเงิน1,800บาท
จำนวนทั้งสิ้น 38,825 บาท
ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามระเบียบที่หน่วยงานถือปฏิบัติ