กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ผลการดำเนินงาน 1. จัดประชุมชี้แจงโครงการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ รพ.สต. ให้กับอสม. ผู้รับผิดชอบ 2. สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาจากการลงคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงในชุมชน (เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2565 – 31 ธันวาคม พ.ศ.2565) จากตารางกราฟพบว่าประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวาน เป้าหมาย 1,065 คน ได้รับการคัดกรองเป็นจำนวน 1,038 คน คิดเป็นร้อยละ 97.96 ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองค้นหาโรคความดันโลหิตสูง เป้าหมาย 863 คน ได้รับการคัดกรองเป็นจำนวน 833 คน คิดเป็นร้อยละ 96.52
2.1 ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน
2.1.1 ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวาน จากกราฟพบว่าประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวานจำนวน 1,038 คน
แบ่งตามความรุนแรงได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มปกติ จำนวน 824 คน คิดเป็นร้อยละ 79.38 กลุ่มเสี่ยง จำนวน 192 คน คิดเป็นร้อยละ 18.50 สงสัยป่วย จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ  2.03 2.1.2 ร้อยละการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 22 คน
จำนวนที่ได้รับการตรวจซ้ำยืนยันได้ 18 คน คิดเป็นร้อยละ 81.82
2.2 ผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง 2.2.1 ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองค้นหาโรคความดันโลหิตสูง จากกราฟพบว่าประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองค้นหาโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 833 คน
แบ่งตามความรุนแรงได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มปกติ จำนวน 674 คน คิดเป็นร้อยละ 80.82 กลุ่มเสี่ยง จำนวน 121 คน คิดเป็นร้อยละ 14.51 สงสัยป่วย จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ  4.56 2.2.2 ร้อยละการติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันสูง จำนวน 38 คน
ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ 38 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยให้ความรู้เรื่อง การดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้หลัก 3อ 2ส โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำรพ.สต.
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด..40..คน
4.1 ผลการส่งต่อกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงพบแพทย์ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค
สรุปผลหลังการติดตามกลุ่มสงสัยป่วยที่ได้รับการส่งต่อยืนยันจากแพทย์ อัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ผ่านเกณฑ์ ดังนี้
1. ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วยที่ได้รับการยืนยันจากแพทย์และขึ้นทะเบียน
จำนวน 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.06 (ในงบปีประมาณ 2566) 2. ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วยที่ได้รับการยืนยันจากแพทย์และขึ้นทะเบียน
จำนวน 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.15 (ในงบปีประมาณ 2566) 4.2 ตารางแสดงผลการติดตามตรวจสุขภาพหลังเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้ 4.2.1 จากการติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 20 ราย ตรวจสุขภาพจำนวน 3 ครั้งห่างกัน 1 เดือนหลังเข้ารับการอบรมโครงการแล้วพบว่า ตารางที่ 1 ผลการตรวจสุขภาพ ค่าน้ำตาลในเลือด จากกราฟแสดงให้เห็นว่ากลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 20 ราย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น ส่งผลทำให้ผลการตรวจสุขภาพค่าน้ำตาลในเลือดครั้งที่ 3 อยู่ในระดับปกติ มากที่สุดจำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 65 และจำนวน 17 รายมีผลการตรวจสุขภาพค่าน้ำตาลในเลือดครั้งที่ 3 อยู่ในระดับเสี่ยง
ตารางที่ 2 ผลการตรวจสุขภาพ ค่าความดันโลหิตสูง (กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน) จากกราฟแสดงให้เห็นว่ากลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 20 ราย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครบ 3 ครั้งผลค่าความดันระดับปกติ คงเดิม จำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 45  ผลค่าความดันระดับเริ่มสูง เพิ่มขึ้นจากเดิมในครั้งที่ 2 จำนวน 7 ราย ในครั้งที่ 3 เพิ่มเป็นจำนวน 9 รายคิดเป็นร้อยละ 45  และผลค่าความดันระดับสูง ลดลง จำนวน 2 รายคิดเป็นร้อยละ 10
และผลการประเมินการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular risk (CVD Risk)) กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 20 ราย อยู่ในระดับโอกาสเสี่ยงต่ำ (

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อรงณรงค์คัดกรองสุขภาพและค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต
75.00 90.00 0.00

 

2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานและโรคความดันสูงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีทัศนคติ และมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสมในการป้องกันการเกิดโรคโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามตรวจซ้ำ
40.00 90.00 95.00

 

3 เพื่อคัดกรองและเฝ้าระวังความเสี่ยง/ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยเบาหวาน และความดันสูง ให้ได้รับการรักษาท่วงที
ตัวชี้วัด : < ร้อยละ 5 อัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่
10.00 5.00 3.21

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1160
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
ประชากรกลุ่มเสี่ยงสงสัยป่วยโรคเบาหวานและความดันโลห 40 40

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อรงณรงค์คัดกรองสุขภาพและค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ (2) เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานและโรคความดันสูงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีทัศนคติ และมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสมในการป้องกันการเกิดโรคโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (3) เพื่อคัดกรองและเฝ้าระวังความเสี่ยง/ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยเบาหวาน และความดันสูง ให้ได้รับการรักษาท่วงที

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง (2) ติดตามกลุ่มเสี่ยงหลังจากเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการโดยอสม.และเจ้าหน้าที่ประจำโรงพาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (3) จัดประชุมชี้แจงโครงการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ รพ.สต. ให้กับ อสม. ผู้รับผิดชอบ (4) ดำเนินงานตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh