กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
อบรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติ 13 มิ.ย. 2566

 

 

 

 

 

อบรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติ 14 มิ.ย. 2566

 

 

 

 

 

อบรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติการทำสเปรย์หอมไล่ยุง 13 มิ.ย. 2566 13 มิ.ย. 2566

 

กิจกรรมที่  1  วันที่  13  มิถุนายน  2566  เวลา  09.00 น. – 16. 30  น.  ณ  ศาลาประชาคม  หมู่ที่  8  วิทยากรแพทย์แผนไทยจากโรงพยาบาลสะเดา กิจกรรมที่ 1.1  อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่มีต่อสุขภาพ  โดยวิทยากรแพทย์แผนไทยจากโรงพยาบาลสะเดา  เช่น  ยอดฝรั่ง 2 - 3  ใบ  แก้ท้องเสีย  ใบรางจืดล้างพิษได้  แต่ควรใช้ภายใต้การแนะนำของแพทย์  ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะ  มะนาวทาถอนพิษผึ้งต่อย  ฟ้าทะลายโจรแก้หวัดขับเสมหะ  ใบสาบเสือใช้สมานแผลสด  ใบแมงลักแก้ท้องอืด  หญ้าเข็ดมอญใช้ทำน้ำมันนวดแก้ปวดเมื่อย  ตะไคร้หอมทำสเปรย์ไล่ยุง  เป็นต้น  (ตามปรากฏในเอกสารภาพผนวก) กิจกรรมที่  1.2 อบรมให้ความรู้เรื่องขั้นตอนในการทำสเปรย์หอมไล่ยุง  ประโยชน์ของสเปรย์ไล่ยุง  แล้วให้ผู้เข้ารับการอบรมลงมือปฎิบัติการทำสเปรย์ไล่ยุง  โดยแบ่งผู้เข้าอบรมเป็น  2  กลุ่ม  ปฎิบัติกิจกรรมเดียวกันเพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมมากที่สุด กิจกรรมที่  1.3  หลังปฎิบัติกิจกรรม 1.2  เสร็จ  รวมกลุ่มอภิปรายซักถามและสรุปผลการปฎิบัติทั้งสองกิจกรรม  เพื่อเป็นแนวปฎิบัติในการนำไปใช้ต่อยอดในโอกาสต่อไป -  ผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นผู้พิการและผู้ดูแลหมู่บ้านละ  4  คน  อสม.  ที่มีหน้าที่ดูแลผู้พิการหมู่ละ 1 – 2 คน  กรรมการชมรมคนพิการ  หมู่ละ  2  คน  รวม  8  หมู่บ้าน  64  คน    นักพัฒนาชุมชนและผู้ที่ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน  2  คน  นักวิชาการสาธารณสุข  1  คน  รวม  67  คน  เข้าร่วมกิจกรรม  64  คน

 

2.1.1  ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรที่มีต่อสุขภาพ  โดยวัดจากแบบสอบถามก่อนและหลังอบรม  และการอภิปรายซักถาม / ผู้เข้าอบรมตอบแบบสอบถาม  (ตามภาคผนวก)  มีผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น  64  คน  คิดเป็นร้อยละ  95.52
      2.1.2  ร้อยละ 95  ของผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปทำยาหม่องสมุนไพรและสเปรย์ไล่ยุงใช้เองได้  สังเกตจากการร่วมปฏิบัติกิจกรรมและการเอาใจใส่กับการปฎิบัติ  การตอบแบบสอบถาม  (ตามภาคผนวก)

 

อบรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติการทำยาหม่องสมุนไพรสูตรร้อน สูตรเย็น 14 มิ.ย. 2566 14 มิ.ย. 2566

 

กิจกรรมที่  2  วันที่  14  มิถุนายน  2566  เวลา  09.00 น. – 16. 30  น.  ณ  ศาลาประชาคม  หมู่ที่  8  วิทยากรแพทย์แผนไทยจากโรงพยาบาลสะเดา กิจกรรมที่ 2.1  อบรมให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของยาหม่องสมุนไพรสูตรร้อน วิธี/ขั้นตอน/วัสดุ  ในการทำยาหม่องสูตรร้อน  (ตามภาคผนวก)  แล้วแบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 2  กลุ่ม  แบ่งวัสดุอุปกรณ์เป็น  2  ชุด  ให้แต่ละกลุ่มลงมือปฎิบัติการ  การทำยาหม่องสมุนไพรสูตรร้อน กิจกรรมที่ 2.2  อภิปรายสรุปผลการปฎิบัติงานปัญหาที่เกิดและวิธีการแก้ไข  แล้วสรุปแนวทางการทำยาหม่องสูตรร้อนเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อไป กิจกรรมที่ 2.3  อบรมให้ความรู้โดยวิทยากรแพทย์แผนไทยจากโรงพยาบาลสะเดา  เรื่องขั้นตอนการทำ  และวัสดุในการทำยาหม่องสมุนไพรสูตรเย็น  (ตามปรากฏในภาคผนวก) กิจกรรมที่  2.4  แบ่งกลุ่มและวัสดุให้ผู้เข้าอบรมปฎิบัติการทำยาหม่องสมุนไพรสูตรเย็น กิจกรรมที่  2.5  อภิปรายสรุปผลการปฎิบัติงาน  เพื่อใช้แนวปฎิบัติในโอกาสต่อไป กิจกรรมที่  2.6  อภิปราย/ซักถาม/ตอบถึงประโยชน์ของสมุนไพร  วิธี  ขั้นตอน  วัสดุ  ในการทำสเปรย์ไล่ยุง ยาหม่องสมุนไพร  สูตรร้อน  สูตรเย็น

 

-  ผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นผู้พิการและผู้ดูแลหมู่บ้านละ  4  คน  อสม.  ที่มีหน้าที่ดูแลผู้พิการหมู่ละ 1 – 2 คน  กรรมการชมรมคนพิการ  หมู่ละ  2  คน  รวม  8  หมู่บ้าน  64  คน    นักพัฒนาชุมชนและผู้ที่ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน  2  คน  นักวิชาการสาธารณสุข  1  คน  รวม  67  คน  เข้าร่วมกิจกรรม  64  คน  คิดเป็นร้อยละ  95.52
      2.1.1  ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรที่มีต่อสุขภาพ  โดยวัดจากแบบสอบถามก่อนและหลังอบรม  และการอภิปรายซักถาม / ผู้เข้าอบรมตอบแบบสอบถาม  (ตามภาคผนวก)  มีผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น  64  คน  คิดเป็นร้อยละ  95.52
      2.1.2  ร้อยละ 95  ของผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปทำยาหม่องสมุนไพรและสเปรย์ไล่ยุงใช้เองได้  สังเกตจากการร่วมปฏิบัติกิจกรรมและการเอาใจใส่กับการปฎิบัติ  การตอบแบบสอบถาม  (ตามภาคผนวก)