กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

แผนงานการฝึกอบรม “การพัฒนาศักยภาพตัวแทนประกันสำหรับการติดตามดูแลสุขภาพผู้ถือกรมธรรม์เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน” ภายใต้โครงการกรมธรรม์ประกันติดบ้านติดเตียง ประจำปีงบประมาณ 2566

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการตัวแทนประกัน 18 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

อบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพตัวแทนประกันสำหรับการติดตามดูแลสุขภาพผู้ถือกรมธรรม์เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน 18 เม.ย. 2566 18 เม.ย. 2566

 

  1. สำรวจปัญหาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบของกลุ่มคนที่มีภาวะติดบ้านติดเตียงจากโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่ตำบลบ้านนา/จัดเตรียมข้อมูล
  2. ประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผน มอบหมายหน้าที่แผนงานหรือกิจกรรมในการดำเนินการป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ให้เกิดภาวะติดบ้านติดเตียงภายใต้โครงการกรมธรรม์ประกันติดบ้านติดเตียง
  3. จัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) มอบหมายหน้าที่ให้ภาคีเครือข่ายร่วมกันจัดทำแผนงาน กิจกรรม ต่างๆเพื่อดำเนินงานภายใต้โครงการกรมธรรม์ประกันติดบ้านติดเตียง
  4. จัดทำแผนการดำเนินงาน/กิจกรรมภายใต้โครงการกรมธรรม์ประกันติดบ้านติดเตียงเพื่อเสนอขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา
  5. ขอความอนุเคราะห์ตัวแทนประกัน (จิตอาสา) ในแต่ละหมู่บ้านจากประธาน อสม.
  6. รับสมัครผู้ป่วยโรคเรื้อรังเข้าร่วมโครงการ (ผู้ขอเอากรมธรรม์)
  7. จัดทำข้อมูลตัวแทนประกัน (จิตอาสา) และผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องติดตาม (ผู้ถือกรมธรรม์/ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สมัครเข้าร่วมโครงการ)
  8. จัดทำทะเบียนประวัติผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้าร่วมโครงการ (ผู้ถือกรมธรรม์) ภายใต้โครงการกรมธรรม์ประกันติดบ้านติดเตียง
  9. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ตัวแทนประกัน (จิตอาสา) ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน ให้มีความรู้และมีทักษะในการติดตามดูแลสุขภาพผู้ถือกรมธรรม์ การกระตุ้น/ชักจูง การสร้างแรงจูงใจให้ผู้ถือกรมธรรม์ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การถ่ายทอดความรู้ คำแนะนำ กำกับ กำชับให้ผู้ถือกรมธรรม์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง

 

1.ได้ข้อมูลตัวแทนประกัน (จิตอาสา) จำนวน 20 คน
2.ได้ข้อมูลจำนวนผู้ถือกรมธรรม์ (ผู้เข้าร่วมโครงการ) จำนวน 294 คน
3.ตัวแทนประกัน ได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในการกระตุ้น/ชักจูง การสร้างแรงจูงใจให้ผู้ถือกรมธรรม์ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การถ่ายทอดความรู้ คำแนะนำ กำกับ กำชับให้ผู้ถือกรมธรรม์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง