กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบารู อบต.ห้วยกระทิง

การประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบารู อบต.ห้วยกระทิง7 พฤศจิกายน 2566
7
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ห้วยกระทิง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วิธีดำเนินการ
1. จัดหาเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง
2. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กเล็ก ทุกๆ 3 เดือน
3. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสุมดทะเบียนเด็กพร้อมแจ้งพ่อแม่ทราบและบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพเด็กสีชมพู 4. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ 5. เชิญพ่อแม่เด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอมเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักเด็ก โดยวิทยากรจาก รพ. หรือ รพ.สต มีเนื้อหาดังนี้ (หรือตามหลักสูตรกรมอนามัย) - ความสำคัญของอาหาร อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วน อาหารที่ควรเพิ่มสำหรับเด็กผอม             - วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก             - ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลัง             - วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่นและลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง             - การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก 6.กิจกรรมลงมือทำ         กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการกินผักผลไม้ ลดการกินหวาน กินเค็ม สาธิตการผลิตอาหารที่มีประโยชน์         กิจกรรม cooking สลัดผักและผลไม้
7.ครูผู้ดูแลเด็กร่วมกับพ่อแม่ในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม โดย 6.1 ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
          - ครูผู้ดูแลเด็ก กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น(ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)           - กรณีเด็กผอม ครูผู้ดูแลเด็กเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นม ไข่ และข้าวกล้อง กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่างน้อยวันละ 60 นาที (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ) 6.2 ที่บ้าน - พ่อแม่ กรณีเด็กอ้วน ดูแลเรื่องการกินของเด็ก ลดการกินขนมกรุบกรอบ/ขนมหวาน กินโปรตีนเนื้อสัตว์ กระตุ้นให้เล่นเพิ่มเติม  กรณีเด็กผอม กระตุ้นให้เด็กกินมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมัน/โปรตีน  (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ) 7. จัดหานม ไข่ อาหารเสริม เพิ่มเติมให้เด็ก สำหรับให้เด็กที่ศูนย์เด็กเล็ก และสนับสนุนให้เด็กที่ครอบครัวมีฐานะยากจน 8. ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็ก เดือนละ 1 ครั้งจนครบ 3-6 เดือน และแนะนำพ่อแม่ให้ดำเนินการต่อเนื่อง
9. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ  ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลห้วยกระทิง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1  ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลด้านอาหารและโภชนาการที่เหมาะสม 2. เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น 3. มีการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านอาหารและโภชนาการระหว่างผู้ปกครองมีการเรียนรู้เทคนิควิธีการให้ลูกได้กินผักผลไม้ ลดการกินหวานมัน   เค็มและลดการกินขนมกรุบกรอบ
4. ผู้ดูแลเด็กได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่มาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมด้านอาหารและโภชนาการภายในศูนย์ฯ   และเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการดูแลและแก้ไขภาวะโภชนาการกิน (อ้วน) และทุพโภชนาการ (ผอม) 5. เด็กเล็กได้รับประทานทานอาหาร ผักและผลไม้ ที่มีประโยชน์  ลดการกินเค็ม และหวาน 6. เด็กเล็กได้ฝึกการทำอาหารที่มีประโยชน์ด้วยตนเอง