กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) รวมพลัง ใส่ใจดูแลผู้สูงวัย ปี 2561
รหัสโครงการ 60-L6895-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 30 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสังคมไทยก้าวเข้าสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุ” การมีจำนวนประชากรสูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้รัฐจำเป็นต้องสร้างการจัดสวัสดิการต่างๆแก่ผู้สูงอายุให้ครอบคลุมในทุกด้าน ซึ่งการจัดการดูแลโดยชุมชนนั้นถือเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่ภาครัฐส่งเสริมให้กลายเป็นบทบาทของท้องถิ่นแทนในการบริหารจัดการและจัดสวัสดิการผู้สูงอายุโดยมีหน่วยงานหลักได้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งนอกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานเรื่องการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพนั้นบุคลากรในหน่วยงานและคนในชุมชนมีความสำคัญเช่นกันในการประสานงานและให้ความร่วมมือ ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน พยาบาลชุมชน นักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัคร เป็นต้น จะเห็นว่าการจัดสวัสดิการเป็นบทบาทของท้องถิ่น แต่บทบาทการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนยังคงเป็นหน้าที่ของสมาชิกครอบครัวและอาสาสมัครในชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยในการหนุนเสริมให้การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเกิดประสิทธิภาพ ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีสภาพร่างกายที่เสื่อมและถดถอยลงเป็นไปตามกาลเวลา เป็นผลที่ทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆสามารถเข้ามาเบียดเบียนได้ง่ายหากผู้สูงอายุมีปัญหาต่างๆไม่ว่าปัญหาทางครอบครัวปัญหาเศรษฐกิจฯลฯ ด้วยแล้วก็มักจะทำให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยทั้งทางด้านร่างกายจิตใจ ผลที่ตามมานั้นอาจจะเป็นปัญหาทางชุมชนและสังคมต่อไปด้วย เป็นที่ประจักษ์ว่าผู้สูงอายุนั้นมักมีข้อจำกัดในการดูแลสุขภาพของตนเอง จำเป็นต้องได้รับการดูแลและช่วยเหลือเพื่อให้เขาเหล่านั้นได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตดีหากได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอแล้ว ก็น่าเชื่อว่าน่าจะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัว ชุมชน ได้อย่างยืนยาว ในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุนั้น จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมของกลุ่มเป้าหมายคือตัวผู้สูงอายุเองผู้ดูแลผู้สูงอายุ และสมาชิกที่รวมอยู่ครอบครัวเดียวกัน ให้ได้มีความรู้ความเข้าใจในงานสาธารณสุขโดยเฉพาะเรื่องของการป้องกันโรคการส่งเสริมสุขภาพการฟื้นฟูสุขภาพ และการดูแลรักษาสุขภาพด้วย ทางศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนจึงจัดทำโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) รวมพลัง ใส่ใจดูแลผู้สูงวัย ปี 2561ขึ้น เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครดังกล่าวได้ร่วมกันในการดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนา ทักษะการดูแลฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุแก่อาสาสมัครผู้สูงอายุ (อผส.)

อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุจำนวน 80 คน ได้รับการพัฒนาทักษะการดูแล/ฟื้นฟูผู้สูงอายุ

2 เพื่อสร้างเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

มีเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,500.00 2 25,500.00
30 เม.ย. 61 - 30 ม.ค. 61 อบรมเชิงปฏิบัติการ 0 24,000.00 25,500.00
30 เม.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ 0 1,500.00 0.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำแผนงานเสนอให้คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรอง 1.2 เสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติ 1.3 วางแผนการดำเนินกิจกรรมโครงการ 1.4 ประชาสัมพันธ์โครงการ/ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพชุมชน/อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ จำนวน80 คนในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 2.2 สำรวจและจำแนกประเภทผู้สูงอายุ 2.3 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข /อาสาดูแลผู้สูงอายุในชุมชน (อผส.) 2.4 ฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงวัย
  3. ขั้นสรุปและรายงานผล 3.1 สรุปผล/รายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครผู้สูงอายุ (อผส.) มีทักษะการดูแลฟื้นฟูสุขภาพทั้งกาย-จิตผู้สูงอายุ
  2. มีเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 12 ชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2560 13:35 น.