กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการเยาวชนรุ่นใหม่เข้มแข็งจากภายใน ป้องกันภัยจากโรคซึมเศร้า ประจำปีงบประมาณ 2566 จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างและป้องกันวัยรุ่นและเยาวชนจากภัยโรคซึมเศร้าที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนสูงขึ้น เนื่องด้วยความเครียดจากสิ่งแวดล้อม ความกดดันจากการเรียนหนังสือที่มีการแข่งขันสูง สังคมในปัจจุบัน สถาบันครอบครัวที่มีปัญหาความรุนแรงและการอย่าร้างที่เกิดขึ้น ทางสภาเด็กและเยาวชนจึงได้เล็งเห็นถึงปัญหาในด้านนี้จึงได้จัดโครงการขึ้นมาโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชนในตำบลเกาะนางคำ ในการดำเนินโครงการ ประกอบไปด้วยการอบรมในหัวข้อที่สอดคล้องกับแนวทางการป้องกันโรคซึมเศร้า โดยมีเป้าหมายดังนี้ คือ 1. เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าว
2. เด็กและเยาวชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลีกเลี่ยงจากการเกิดภาวะโรคเครียดและรู้จักสร้างกำลังใจและให้คุณค่าแก่สังคม 3. เด็กและเยาวชนมีความรู้สึกตื่นตัวในทุก ๆ วัน กล้าระบายความในใจ และแสดงออกมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ภาวะโรคซึมเศร้าลดน้อยลง ภายหลังจากการเข้าร่วมการอบรมทำให้ผู้เข้าร่วมอบรม ได้รับความรู้และความเข้าใจในเรื่องของโรคซึมเศร้ามากขึ้นข้อคิดจากวิทยากรที่ให้ความรู้ ความสนุกสนานในการเข้าร่วมกิจกรรม กล้าแสดงออกสามารถแสดงความคิดเห็นความคิดสร้างสรรค์ การเข้าร่วมกับผู้อื่นได้ รู้จักเพื่อนๆต่างโรงเรียน มองโลกในแง่ดี เห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น และผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เผยแพร่ให้กับผู้อื่นเพื่อเป็นการช่วยเหลือคนอื่นให้ห่างจากโรคซึมเศร้าไปด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของตนเองต่อไปในอนาคต      ผลจากการดำเนินโครงการเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้จากการอบรมการป้องกันภัยจากโรคซึมเศร้า ซึ่งสามารถเข้าใจถึงสาเหตุ อาการโรคซึมเศร้าและวิธีป้องกัน ผ่านกระบวนการกลุ่มโดยแต่ละกลุ่มโดยช่วยกันระดมความคิดเพื่อตอบหัวข้อที่ได้รับจากวิทยากร ดังนี้ กลุ่มที่ 1 สาเหตุของโรคซึมเศร้า 1. ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง 2. เพื่อนแกล้งอาจเป็นเหตุทำให้เกิดความกดดัน 3. สภาพแวดล้อมที่มีความกดดัน 4. ลักษณะนิสัยการมองโลกในแง่ร้าย 5. จากพันธุกรรม กลุ่มที่ 2 อาการของโรคซึมเศร้า 1. เครียด คิดมาก 2. คิดสั้น 3. ทำร้ายร่างกายตัวเอง 4. เก็บตัวอยู่คนเดียว 5. เบื่อหน่าย นอนไม่ร้าน 6. สมาธิลดลง 7. น้ำหนักลดลงหรือ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 8. ร่างกายอ่อนแอ และเหนื่อยง่าย
กลุ่มที่ 3 วิธีการป้องกัน 1. ไม่อยู่ลำพังคนเดียว 2. พยายามคิดเรื่องและมองโลกในแง่ดี
3. ควบคุมอารมณ์จากความเครียด 4. หากิจกรรมที่ทำให้เรารู้สึกไม่โดดเดี่ยว 5. ปรึกษาคนรอบข้างที่เข้าใจ ความรู้สึกเรา 6. หาความสุขให้กับตัวเองมากขึ้น นอกจากกระบวนการระดมความคิดข้างต้นแล้ว ยังมีกิจกรรมระบายความรู้สึกที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นหรือความเสี่ยง ของการเกิดโรคซึมเศร้า โดยได้จำแนกสาเหตุออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ บ้าน โรงเรียน และเพื่อน ดังนี้ บ้าน เด็กและเยาวชนบางส่วนได้รับความกดดันจากพ่อ-แม่ รู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รัก ลำเอียงและไม่รับฟังความคิดเห็น ทั้งโดนทำร้ายร่างกายและจิตใจ ครอบครัวไม่อบอุ่นเนื่องจากพ่อ-แม่อย่าร้าง และบางครอบครัวมีฐานะยากจน ทำให้พ่อ-แม่ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการต่างๆของตนเองได้ โรงเรียน เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่จะเครียดเรื่องการเรียนและการสอบ เช่น เรียนไม่ทันเพื่อนหรือสอบไม่ผ่านในบางวิชา การไม่รู้จักตัวเองว่าตัวเองไม่ถนัดด้านไหนจึงทำให้ไม่รู้ว่าจะต้องไปเรียนต่อที่ไหน ส่วนอีกอย่างที่สำคัญ คือ การถูกคุณครูดุด่าจำทำให้เด็กขาดความมั่นใจ และไม่อยากไปโรงเรียน เพื่อน เด็กและเยาวชนบางคนโดนเพื่อนๆ ดุด่า กลั่นแกล้ง รังแก ทั้งทางวาจาและร่างกายส่งผลกระทบต่อความรู้สึกจนอาจเกิดเป็นแผลภายในใจจนยากที่จะเยียวยา จากการแสดงออกทางความคิดทั้งหมด ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับดูแลเอาใจใส่เด็กและเยาวชนอย่างใกล้ชิด โดยวิธีการดังนี้ 1. ให้ความสนใจและพูดคุยกับวัยรุ่นบ่อยๆ สังเกตพฤติกรรม สอบถามสารทุกข์สุกดิบ ความรู้สึก เพื่อประเมิน/ช่วยแก้ปัญหาในเบื้องต้น 2. ใช้เหตุผลให้เหมาะสมกับวัย ไม่ใช้อารมณ์ มีท่าทีที่เป็นมิตรและอบอุ่น เปิดโอกาสให้เล่าปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่กดดัน ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย 3. คุณครูช่วยสังเกตพฤติกรรม เนื่องจากเด็กใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่โรงเรียน และพูดคุยกับคุณครู เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล/ปัญหาที่พบที่พบที่บ้านและโรงเรียนเพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างไกล้ชิด 4. การทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก/วัยรุ่น เนื่องจากการออกกำลังกายช่วยหลั่งฮอร์โมนความสุข ทั้งนี้ลองหากิจกรรมใหม่ๆ บรรยากาศใหม่ๆ เพื่อพักผ่อน นอกเหนือจากการเรียนเพื่อให้เด็ก/วัยรุ่นไม่หมกหมุ่น เก็บตัวอยู่คนเดียว 5. หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพาไปปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อประเมินอาการ/ความรุนแรง การปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ในกรณีมีอาการซึมเศร้ารุนแรง ซึ่งเมื่อได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง เด็ก/วัยรุ่นก็สามารถจะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะซึมเศร้า
ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในอาการเบื้องต้นได้ ร้อยละ 80
0.00

 

2 เพื่อเพิ่มความรู้สึกคุณค่าและกำลังใจในตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตตนเอง และสามารถให้กำลังใจตนเองในดำเนินชีวิตได้ ร้อยละ 80
0.00

 

3 ส่งเสริมกิจกรรมการกระตุ้นตื่นตัวและเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น
ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถสร้างแรงกระตุ้นตื่นตัวในการทำเรียนและทำกิจกรรมต่างๆ ร้อยละ 70 และสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกันในสังคมร้อยละ 100
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะซึมเศร้า (2) เพื่อเพิ่มความรู้สึกคุณค่าและกำลังใจในตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข (3) ส่งเสริมกิจกรรมการกระตุ้นตื่นตัวและเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ความเครียดและปัญหาการซึมเศร้าในปัจจุบัน (2) แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมบำบัดสร้างแรงตื่นตัว (3) ติดตามและประเมินผลหลังจบโครงการหลัง 3 เดือน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh