กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
จัดตั้งคณะทำงานทีมเคลื่อนที่เร็วในชุมชน 21 ส.ค. 2566 12 ต.ค. 2566

 

1.1 จัดตั้งคณะทำงานทีมป้องกัน ควบคุม เคลื่อนที่เร็วในชุมชน 1 ทีม

ประชุมคัดเลือกคณะทำงานและแต่งตั้งคณะกรรมการ

แบ่งครัวเรือนในความรับผิดชอบให้คณะกรรมการแต่ละคน

ชี้แจงรายละเอียดการทำงานภาระงานที่ได้รับมอบหมาย

จัดตั้งกลุ่มไลน์ของคณะทำงานเพื่อติดต่อประสานงาน และเก็บรวบรวมข้อมูลในการทำโครงการ

1.2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 3 ครั้ง

ประชุมครั้งที่ 1 เดือนมกราคม 2567 รายงานผลการปฏิบัติงานครั้งที่ 1 สอบถามข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขในการปฏิบัติงานครั้งต่อไป ประชุมครั้งที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2567 รายงานผลการปฏิบัติงานครั้งที่ 2 สรุปกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วและยังไม่ดำเนินการ สอบถามข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขในการปฏิบัติงานครั้งต่อไป ประชุมครั้งที่ 3 เดือนสิงหาคม 2567 สรุปกิจกรรมโครงการทั้งหมด

 

ประชุมครั้งที่ 1 คัดเลือกคณะทำงาน แต่งตั้งกรรมการ และวางแผนการดำเนินกิจกรรม 1.1 ประชุมคัดเลือกตัวแทน อสม.ในชุมชน  จำนวน 15 คน แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ และแบ่งพื้นที่ครัวเรือนที่รับผิดชอบของแต่ละคน พร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่คณะกรรมการ 1.2 วางแผนกิจกรรมที่จะดำเนินการในโครงการ ดังนี้ - นัดประชุมชี้แจงแก่แกนนำหมู่บ้านและตัวแทนแกนนำครัวเรือน เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของคณะทำงานเคลื่อนที่เร็วในชุมชน - วางแผนการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก กรณีเกิดโรคระบาดในชุมชน โดยการจัดซื้อเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ ในการควบคุม ป้องกัน - นัดหมายคณะทำงานศึกษาการทำผลิตภัณฑ์ไล่ยุง เพื่อนำผลิตภัณฑ์แจกจ่ายให้กับชุมชน/ผู้ที่มีความเสี่ยง รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และมาตรการการป้องกันโรค ประชุมครั้งที่ 2 และ 3 ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก - รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกหมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย โดยการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- รายงานผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา และกิจกรรมที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้คณะทำงานรับทราบ พร้อมทั้งวางแผนกิจกรรมที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จทันเวลา - รายงานผลการปฏิบัติงานลงพื้นที่ของคณะทำงานแต่ละเขตรับผิดชอบ สอบถามข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน และแก้ไขในการปฏิบัติงานครั้งถัดไป ประชุมครั้งที่ 4 สรุปผลการดำเนินโครงการ - คณะทำงานรายงานผลการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน รวบรวมเอกสาร ผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม และเอกสารจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานต่อไป

 

ประชุม/ชี้แจง 21 ส.ค. 2566 15 พ.ย. 2566

 

ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการทำงานการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก จำนวน 1 ครั้ง

  • ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้แก่แกนนำหมู่บ้านและแกนนำครอบครัวทราบวิธีการปฏิบัติงานของชุดคณะทำงานเคลื่อนที่เร็วในชุมชน ในการปฏิบัติการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

  • จัดตั้งกลุ่มไลน์แกนนำครอบครัวในความรับผิดชอบของคณะทำงานแต่ละคนเพื่อรวบรวมข้อมูลแต่ละครัวเรือนและใช้ในการให้ความรู้ คำแนะนำในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

แกนนำหมู่บ้าน แกนนำครอบครัวในชุมชน หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย ร้อยละ 100 รับทราบการปฏิบัติงานของคณะทำงาน ทีมเคลื่อนที่เร็วในชุมชน ในการปฏิบัติงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน

 

การนำเทคโนโลยีมาประยุกค์ใช้ในการติดต่อประสานงาน 21 ส.ค. 2566 1 ต.ค. 2566

 

1.สร้างกลุ่มไลน์ หรือเฟสบุ๊ค เพื่อรายงานสถานการณ์การระบาดของโรค การป้องกันควบคุมโรค

  • สร้างกลุ่มไลน์ประสานกับเขตบ้านที่รับผิดชอบ

  • สร้างกลุ่มไลน์ประสานงานระหว่างคณะทำงานในทีม

  • สร้างกลุ่มไลน์ประสานงานคณะทำงานทั้งตำบลรวมถึงเจ้าหน้าที่ ที่ปรึกษาโครงการ

 

  • มีกลุ่มไลน์ประสานงานเขตบ้านที่รับผิดชอบ ไลน์คณะทำงานในทีม และไลน์คณะทำงานทั้งตำบลในการติดต่อประสานงาน และรายงานสถานการณ์การระบาดของโรคในหมู่บ้าน ร้อยละ 100

 

สร้างผลิตภัณฑ์ไล่ยุง 21 ส.ค. 2566 5 ธ.ค. 2566

 

1.จัดทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่ยุง

  • คณะทำงานศึกษาการทำผลิตภัณฑ์ไล่ยุง จากสูตรในอินเตอร์เน็ต

  • คณะทำงานร่วมกันจัดทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่ยุง/สเปรย์ไล่ยุง

  • นำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแจกจ่ายให้กับชุมชน/ผู้ที่มีความเสี่ยง

 

  • คณะทำงานได้จัดทำผลิตภัณฑ์ไล่ยุง/สเปรย์ไล่ยุ่ง และนำผลิตภัณฑ์แจกจ่ายให้กับครัวเรือนในชุมชนทุกครัวเรือนหรือผู้ที่มีความเสี่ยง ร้อยละ 100

 

ประชาสัมพันธ์ 21 ส.ค. 2566 1 พ.ย. 2566

 

1.ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เรื่อง โรคไข้เลือดออก มาตรการการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยคณะทำงาน

2.ให้ความรู้กับประชาชน ในเรื่องปัจจัยที่ก่อให้เกิดการป่วย โดยการจัดการบ้านเรือนของตนเองไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และวิธีการปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าจะป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก อาจจะทำได้หลายช่องทาง

  • การจัดทำป้ายไวนิลให้ความรู้

  • การประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหอกระจายข่าวหมู่บ้าน

  • ทางโรงเรียน โดยการให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ไปถ่ายทอด และไปปฏิบัติที่บ้าน

  • แจกเอกสาร เช่น แผ่นพับ คู่มือ

 

  • ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เรื่อง โรคไข้เลือดออก มาตรการการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยคณะทำงาน รายละเอียดกิจกรรม ให้ความรู้กับประชาชน ในเรื่องปัจจัยที่ก่อให้เกิดการป่วย โดยการจัดการบ้านเรือนของตนเองไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และวิธีการปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าจะป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก อาจจะทำได้หลายช่องทาง การจัดทำป้ายไวนิลให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหอกระจายข่าวหมู่บ้าน ทางโรงเรียน โดยการให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ไปถ่ายทอด และไปปฏิบัติที่บ้าน แจกเอกสาร เช่น แผ่นพับ คู่มือ

 

สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI 21 ส.ค. 2566 22 ธ.ค. 2566

 

1.ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI โดยคณะทำงาน

  • ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โดยคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พร้อมสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI ในหมู่บ้าน ประเมิน 2 เดือนครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

  • ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โดยคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พร้อมสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI ในหมู่บ้าน ประเมิน 2 เดือนครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

กิจกรรมควบคุม ป้องกัน 21 ส.ค. 2566 1 ต.ค. 2566

 

  • จัดซื้อเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ กระเป๋าเคลื่อนที่เร็วที่ใช้ในการกำจัดยุงลายและลูกน้ำยุงลาย โดยจัดกระเป๋าทั้ง 15 ใบตามจำนวนคณะทำงาน ในกระเป๋า 1 ใบ ประกอบไปด้วย
    1.สเปร์ไล่ยุง 2 กระป๋อง
    2.ไฟฉ่าย 1 กระบอก
    3.ถุงมือ 1 กล่อง
    4.หน้ากากอนามัย 1 กล่อง
    5.แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย 5 ชุด (สำรองเอกสารตามครัวเรือนที่รับผิดชอบ)
    6.แบบรายงานสอบสวนโรค 5 ชุด (สำรองเอกสารตามครัวเรือนที่รับผิดชอบ)
    7.ทรายอะเบท
  • รับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลกำแพงจากศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลกำแพงและลงดำเนินการสอบสวนโรคให้ความรู้คำแนะนำ พร้อมควบคุมป้องกันโรคภายใน 24 ชั่วโมง โดยคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับหมู่บ้าน

  • ใช้สารเคมีพ่นในบ้านและบริเวณบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย 2 ครั้ง ภายใน 7 วันเพื่อควบคุมการระบาดของโรค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดยุงที่มีเชื้อไข้เลือดออกให้หมดไปเร็วที่สุด

 

  • ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกกรณีเกิดการระบาด โดยการลงพื้นที่เคลื่อนที่เร็ว พ่นหมอกควัน กำจัดยุงลายและใส่ทรายอะเบททำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย จัดซื้อเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ กระเป๋าเคลื่อนที่เร็วที่ใช้ในการกำจัดยุงลายและลูกน้ำยุงลาย โดยจัดกระเป๋าทั้ง 15  ใบตามจำนวนคณะทำงาน ในกระเป๋า 1 ใบ ประกอบไปด้วย สเปร์ไล่ยุง 2 กระป๋อง ไฟฉ่าย 1 กระบอก ถุงมือ 1 กล่อง หน้ากากอนามัย 1 กล่อง แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย  (สำรองเอกสารตามครัวเรือนที่รับผิดชอบ) แบบรายงานสอบสวนโรค  (สำรองเอกสารตามครัวเรือนที่รับผิดชอบ) ทรายอะเบท

 

รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1 ส.ค. 2567 1 ส.ค. 2567

 

1.รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

2.จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

 

  • รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รายละเอียดกิจกรรม รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลจำนวน 2 เล่ม

 

ประชุมถอดบทเรียน 21 ส.ค. 2567 19 ส.ค. 2567

 

  • ประชุมถอดบทเรียน ติดตาม ประเมินผลการดเนินงาน ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 1 ครั้ง

 

1.ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 3 ราย คิดเป็น 188.32 ต่อแสนประชากร ของประชาชนในพื้นที่ หมู่6 บ้านปลักมาลัย

2.ประชากรในหมู่บ้าน ร้อยละ100 โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน และแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 15 คน

3.มีการรณรงค์และให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกวิธี และเหมาะสม