กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจในด้านการดูแลสุขภาพ ของเด็กในช่วงปฐมวัย ในเรื่องการแปรงฟัน พฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก โภชนาการและโรคติดต่อ
ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองที่เข้ารับการอบรมทำแบบทดสอบหลังอบรมได้มากกว่าร้อยละ 80
80.00 100.00

 

 

ผู้ปกครองนักเรียนความรู้ความเข้าใจในด้านการดูแลสุขภาพ ของเด็กในช่วงปฐมวัย ในเรื่องการแปรงฟัน พฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก โภชนาการและโรคติดต่อ

2 เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเฝ้าระวังสุขภาพของบุตรหลานตนเองที่บ้าน ได้อย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด : ผลการตรวจตามแบบคัดกรองอาการป่วยเบื้องต้น และแบบประเมินภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย ก่อนได้รับการอบรม คะแนนการประเมินอยู่ที่ร้อยละ 70 หลังจากได้รับการอบรม ประมาณ 3 เดือน ได้ระดับไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
80.00 100.00

 

 

ผู้ปกครองสามารถนำความรู้และเพิ่มทักษะ ในการเฝ้าระวังสุขอนามัยและเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย มีความรู้ในการคัดเลือกอาหารและเตรียมอาหารให้กับเด็กที่ถูกต้อง ตามหลักโภชนาการในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัย และผู้ปกครองเด็กปฐมวัยรู้จักสังเกตอาการเบื้องต้น ของโรคติดต่อชนิดต่างๆ    และสามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างทันท่วงทีรวมไปถึงการดูแลสุขภาพทางช่องปาก การแปรงฟันที่ถูกวิธี เหมาะสมกับช่วงวัยทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา มีความรู้ ทักษะ คุณธรรมจริยธรรมและจิตสำนึกที่พึงประสงค์

3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคและทุกขภาวะที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ตัวชี้วัด : ผลการตรวจตามแบบคัดกรองอาการป่วยเบื้องต้น และแบบประเมินภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย ก่อนได้รับการอบรม คะแนนการประเมินอยู่ที่ร้อยละ 70 หลังจากได้รับการอบรม ประมาณ 3 เดือน ได้ระดับไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
80.00 100.00

 

 

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการป้องกันโรคที่ได้ผลดีและคุ้มค่าที่สุดคือการป้องกันในระยะก่อนได้รับเชื้อได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยเด็กต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดได้รับอาหารที่หลากหลายครบ ๕ หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ทั้ง ๓ มื้อ ดื่มน้ำสะอาดได้รับการดูแลเรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคล เน้นความสะอาดของที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ส่วนตัว สิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ สะอาดไม่แออัด อากาศถ่ายเทสะดวก การป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ดีคือ อย่าให้ยุงกัด และอย่าให้ยุงเกิด ด้วยการจำกัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดสิ้น