กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆในผู้ป่วย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ 80 ของ ผู้ป่วย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ลงทะเบียนเข้ารับการรักษาที่สอน.อนาลโย ได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนประจำปี
0.00 91.53

 

2 เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ความตระหนักเรื่องโรค ความสำคัญ และการดูแลตนเองยิ่งขึ้นสามารถปฏิบัติตัวและวางแผนการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด : 2.ร้อยละ 80 ของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้ความตระหนักเรื่องโรคความสำคัญและการดูแลตนเองยิ่งขึ้นสามารถปฏิบัติตัวและวางแผนการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง
0.00 80.00

 

3 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพสามารถวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : 3.ร้อยละ 100 ของเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพสามารถวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการส่งต่อผู้ป่วยในรายที่มีปัญหาได้อย่างถูกต้อง
0.00 100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 160 160
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 160 160
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆในผู้ป่วย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (2) เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ความตระหนักเรื่องโรค ความสำคัญ และการดูแลตนเองยิ่งขึ้นสามารถปฏิบัติตัวและวางแผนการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง (3) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพสามารถวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ กิจกรรมตามโครงการ อบรมให้ความรู้และการตรวจประเมินภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยเรื้อรัง (เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ประจำปีงบประมาณ 2566 ในครั้งนี้ได้สอดคล้องกับจัดบริการคลินิกพิเศษตรวจและรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมาจากการรณรงค์คัดกรองเบาหวาน ความดันในกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปี ขึ้นไปในพื้นที่และรับโอนรักษาต่อจากสถานบริการอื่น มีผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 189 คนแยกเป็นผู้ป่วยเบาหวาน 30 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 126 คน และเป็นทั้งเบาหวานและความดัน 42 คนผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเส้นเลือดตีบหรือแตกในสมอง( Stroke ) , โรคไตวายเรื้อรัง , CVA., อัมพฤกษ์ , อัมพาต ,จอประสาทตาเสื่อมจากภาวะเบาหวานขึ้นตา , โรคติดเชื้ออื่นๆดังนั้นนอกจากการให้บริการตรวจรักษาและกินยาอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยแล้วก็มีความจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเรื้อรังเหล่านี้เป็นประจำทุกปี เพื่อให้การดูแลรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...ความสำเร็จและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน     จากการสังเกตและการสอบถามในที่อบรม ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตำบลสันป่าม่วง มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ตั้งใจฟังการบรรยาย เรื่องการตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนประจำปี  ได้ให้การโต้ตอบข้อซักถาม และถามคำถามที่ยังไม่เข้าเรื่องการตรวจ ผลการตรวจตลอดการอบรมเป็นระยะๆ โดยได้รับความรู้จากวิทยากรที่มีความรู้ความชำนาญ ทักษะและประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจากโรงพยาบาลพะเยาเป็นอย่างดี

ปัญหาและอุปสรรค 1.ปัญหาเรื่องสื่อการสอนและอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย 2.ขาดบุคลากรเฉพาะทาง/ชำนาญการในการเจาะเลือด และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

แนวทางการแก้ไขปัญหา 1. จัดหาอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย 2. จัดบุคคลากรเฉพาะทางที่มีความชำนาญในการให้บริการเพื่อความถูกต้องแม่นยำของการตรวจเลือดและตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh