กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมใจเป็นหนึ่งป้องกันภัยร้ายโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2566
รหัสโครงการ 2566-L7161-02-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนสวนผัก
วันที่อนุมัติ 24 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2566 - 29 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2567
งบประมาณ 49,706.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนภษร วงศ์วัฒนากูล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการที่อสม.ชุมชนสวนผัก ได้ดำเนินโครงการรวมใจเป็นหนึ่งป้องกันภัยร้ายโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2565 เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดมิให้ออกไปในวงกว้าง ป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรคและดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชนสถาบัน ต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคและร่วมกับชุมชน บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ข้อมูลจากศูนย์บริการสาธารณสุขศาลาประชาคมในปี 2563 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 9 ราย และชิคุนกุนยา จำนวน 4 ราย ในปี 2565 จนถึงปัจจุบันพบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 3 ราย (ข้อมูลเดือนมิถุนายน 2566 จากPCUศาลาประชาคม) แสดงให้เห็นถึงการแพร่ระบาดที่ลดน้อยลง ซึ่งเป็นผลสำเร็จโครงการฯ
ดังนั้น อสม.ชุมชนสวนผัก จึงได้จัดทำกิจกรรมโครงการรวมใจเป็นหนึ่งป้องกันภัยร้ายโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2566 ขึ้นเพื่อให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก เฝ้าระวัง และรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาด กำจัดแหล่ง เพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่จะส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกมากขึ้นเพราะถึงแม้ว่าเรากำลังให้ความสนใจในสถานการณ์ และเฝ้าระวังโรค COVID-19 ก็ไม่ควรละเลยโรคประจำถิ่นอย่างไข้เลือดออกที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องทุกปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน ให้มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแล และลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
  1. ร้อยละ 80 ของเด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
0.00
2 2. เพื่อลดจำนวน และอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มวัย
  1. ลดจำนวน และอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มวัย
0.00
3 3. เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน
  1. ได้ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 49,706.00 0 0.00
1 - 29 ก.ย. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่ เยาวชนและประชาชนทั่วไป 0 29,706.00 -
1 ก.ย. 66 - 29 ธ.ค. 66 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 0 20,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชนลดลง
    2.ประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมีศักยภาพดูแลและป้องกันตนเองจากของโรคไข้เลือดออกได้
  2. มีความร่วมมือของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. แหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2566 00:00 น.