กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ประชุมชี้แจงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง วางแผนการดำเนินกิจกรรมโครงการ รับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้มีความเข้าใจในแนวทางเดียวกัน จัดทำแผนกำหนดวันจัดกิจกรรมตรวจสุขาภิบาลครัวเรือนและให้ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลครัวเรือน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ที่ 11 บ้านจังโหลน นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อของบประมาณสนับสนุนโครงการฯ ต่อมา ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ทำหนังสือเชิญโดยออกหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายให้เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านทาง อสม. เมื่อถึงวันนัดผู้เข้าร่วมโครงการฯมาลงทะเบียน ณ จุดลงทะเบียน ศาลาอเนกประสงค์วัดจังโหลน โดยมี อสม.และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ รับลงทะเบียนและดำเนินกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการสุขาภิบาลครัวเรือนตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยเน้นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติและสอดแทรกด้วยเนื้อหาความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในกิจวัตรประจำวัน พร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในการดูแลสุขาภิบาลครัวเรือนของตนเอง เพื่อเป็นการนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้องและไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและทำความสะอาดบ้านตามหลักสุขาภิบาล
ตัวชี้วัด : มีการปรับปรุงและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในที่พักอาศัย และพฤติกรรมสุขอนามัยในครัวเรือน รวมถึงการมีส่วนร่วมด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชน
80.00 100.00

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดจำนวน 33 ครัวเรือน มีการปรับปรุงและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมภายในที่พักอาศัยตามคำแนะนำของผู้ประเมินในครั้งที่ 1 ทุกหลังคาเรือน

2 เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขอนามัยในครัวเรือนที่ถูกต้อง
ตัวชี้วัด : ประชาชนในพื้นที่บ้านจังโหลน หมู่ที่ 11 ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เข้าร่วมโครงการ
100.00 100.00

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 33 ครัวเรือน

3 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน/ชุมชน
ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจหลังจากทำโครงการ
80.00 95.72

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 33 ครัวเรือน สามารถทำแบบทดสอบความรู้หลักจากการเข้าร่วมโครงการซึ่งได้ผ่านเกณฑ์ (ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของคะแนนทั้งหมด) จำนวน 32 ครัวเรือน

4 เพื่อสร้างจิตสำนึกและความตระหนักให้ประชาชนมีความใส่ ใจต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดี
ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ
100.00 91.60

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 33 ครัวเรือน ทำแบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการซึ่งได้ผ่านเกณฑ์ (ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของคะแนนทั้งหมด) จำนวน 31 ครัวเรือน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 33 33
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 33
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและทำความสะอาดบ้านตามหลักสุขาภิบาล (2) เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขอนามัยในครัวเรือนที่ถูกต้อง (3) เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน/ชุมชน (4) เพื่อสร้างจิตสำนึกและความตระหนักให้ประชาชนมีความใส่ ใจต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดี

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh