กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 1.1 เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัยได้รับการดูแล/แก้ปัญหาสุขภาพตามความจำเป็น 1.2 เพื่อให้ประชาชนได้รับการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดขึ้นหลังอุทกภัย 1.3 เพื่อการจัดระบบสุขาภิบาล ในครัวเรือนและสิ่งแวดล้อมในชุมชนหลังอุทกภัย
ตัวชี้วัด : จากสถานการณ์เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดภัยพิบัติอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่ เดือน ธันวาคมพ.ศ.2566 ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนในหลายพื้นที่ในภาคใต้ สำหรับตอนลง 3 จังหวัด พื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและมีความเสียหายมาก คือ นราธิวาส ยะลา ปัตตานีนั้น องค์กรปกครองส่วนตำบลเรียงเป็นพื้นที่ประสบภัยดังกล่าวจึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วม ตลอดจนถึงการป้องกันและแก้ปัญหาโรคหรือสุขภาพที่เกิดขึ้นภายหลังจากน้ำลดแล้วจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่หรือ กองทุนสุขภาพตำบลตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนตำบลเรียง ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ10(5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ได้ สำหรับในพื้นที่ อบตเรียง มีความตระหนักในปัญหาสุขภาพที่จะตามมาจากน้ำท่วมครั้งนี้ คือ โรคทางเดินอาหารจากการดื่มน้ำ/รับประทานอาหารที่ปนเปื้อน หรือแหล่งน้ำ/บ่อน้ำบริโภคถูกน้ำท่วม ส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำดื่ม โรคผิวหนัง เช่น น้ำกัดเท้า การระบาดของโรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก ปัญหาสุขภาพจิต มีภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสียญาติพี่น้องหรือทรัพย์สิน จากปัญหาสุขภาพดังกล่าวจึงจำเป็นต้องดำเนินการบรรเทาและป้องกันผลกระทบจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความรวดเร็วทันต่อสถานการณ์
100.00