กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการออกกำลังกายยืดชีวีวิถีโยคะ
รหัสโครงการ 2567-L7161-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลเมืองเบตง
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2567 - 28 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กรกฎาคม 2567
งบประมาณ 38,430.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสกุล เล็งลัคน์กุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.803,101.009place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 56 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันคนไทยตื่นตัวเรื่องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพมากขึ้น เพราะการมีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจที่ดีจะนำมาซึ่งความสุขในชีวิตที่ทุกคนปรารถนา การมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงย่อมส่งผลให้จิตใจสดชื่น เบิกบาน ในทางตรงข้าม หากร่างกายที่ไม่แข็งแรงก็ย่อมส่งผลให้จิตใจห่อเหี่ยว มีแต่ความกังวล การออกกำลังกายมีส่วนช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เพราะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต หัวใจ กล้ามเนื้อ ปอดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงช่วยในการป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคระบบไหลเวียนโลหิต เบาหวาน และโรคอ้วน เป็นต้น อีกทั้งยังทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ดีขึ้น ช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และยังช่วยผ่อนคลายความเครียดจากการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphins) หรือสารแห่งความสุข จากข้อมูลการเจ็บป่วยของประชาชนในอำเภอเบตง โรงพยาบาลเบตง แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมกระดูก มีนัดติดตามอาการ จำนวน 4,558 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2564 จำนวน 4,647 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2565 และจำนวน 4,723 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2566 (ข้อมูลวันที่ 30 ต.ค.2566) เห็นได้ว่ามีแนวโน้มการเจ็บป่วยระบบกล้ามเนื้อ ข้อต่อ ข้อพับ เพิ่มขึ้นทุกปี อันเนื่องมาจากการเหนื่อยล้าจากการทำงาน หรือเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุแล้วไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่อง หรือเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากการป่วยเป็นโรคต่างๆค่อนข้างมาก และกลุ่มผู้ป่วยขาดทางเลือกในการออกกำลังกายอย่างถูกวิธีส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การออกกำลังกายด้วยโยคะเป็นทางเลือกหนึ่งในการเคลื่อนไหวร่างกาย เหมาะกับคนทุกช่วงวัย เพราะโยคะเป็นการบริหารกายที่ไม่ก่อให้เกิดแรงกระแทก และทำให้จิตเป็นสมาธิช่วยให้เกิดการผ่อนคลาย รู้ตัวเสมอ มีสติอันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่วนร่างกายช่วยให้ผ่อนคลาย สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ ข้อพับ ทำงานได้ดีขึ้น ประกอบกับเทศบาลเมืองเบตงได้เปิดศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเบตง ศาสตร์โยคะจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาอาการบาดเจ็บและฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อ ข้อต่อ ข้อพับให้มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเบตง ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้นจึงได้จัดทำโครงการออกกำลังกายยืดชีวีวิถีโยคะขึ้น เพื่อให้ประชาชนที่มีภาวะเจ็บป่วยหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเรื้อรังของโรคระบบกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือโรคที่ควรได้รับการส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูได้โดยการออกกำลังกายด้วยศาสตร์แห่งโยคะ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ที่ถูกต้องในการออกกำลังกายด้วยโยคะ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีทางเลือกในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น และเพื่อส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มออกกำลังกายด้วยโยคะอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ อนึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้รับบริการที่มีภาวะการเจ็บป่วยหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเรื้อรังของโรคระบบกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือโรคที่ควรได้รับการส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูได้โดยการออกกำลังกายด้วยโยคะ

ร้อยละ 60 ของผู้รับบริการที่มีภาวะการเจ็บป่วยหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเรื้อรังของโรคระบบกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือโรคที่ควรได้รับการส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูได้โดยการออกกำลังกายด้วยโยคะ

2 2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ที่ถูกต้องในการออกกำลังกายด้วยโยคะ

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ที่ถูกต้องในการออกกำลังกายด้วยโยคะ

3 3 เพื่อส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มออกกำลังกายด้วยโยคะอย่างสม่ำเสมอ

มีการรวมกลุ่มออกกำลังกายด้วยโยคะอย่างสม่ำเสมอ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67
1 กิจกรรมที่ 1.อบรมให้ความรู้การออกกำลังกายด้วยโยคะ(2 ม.ค. 2567-28 มิ.ย. 2567) 26,430.00            
2 กิจกรรมที่ 2.ออกกำลังกายด้วยโยคะ(5 ม.ค. 2567-28 มิ.ย. 2567) 12,000.00            
รวม 38,430.00
1 กิจกรรมที่ 1.อบรมให้ความรู้การออกกำลังกายด้วยโยคะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 70 26,430.00 0 0.00
5 ม.ค. 67 - 28 มิ.ย. 67 อบรมให้ความรู้การออกกำลังกายด้วยโยคะ 70 26,430.00 -
2 กิจกรรมที่ 2.ออกกำลังกายด้วยโยคะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 12,000.00 0 0.00
5 ม.ค. 67 - 28 มิ.ย. 67 ออกกำลังกายด้วยโยคะ 30 12,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มผู้รับบริการที่มีภาวะการณ์เจ็บป่วยหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเรื้อรังของโรคระบบกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือโรคที่ควรได้รับการส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูได้โดยการออกกำลังกายด้วยโยคะ
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ที่ถูกต้องในการออกกำลังกายด้วยโยคะ
  3. กลุ่มผู้รับบริการมีการออกกำลังกายด้วยโยคะอย่างสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2567 15:27 น.