กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
อสม.ร่วมกันสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 1 ต.ค. 2566 1 มี.ค. 2567

 

1.อสม.ลงสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ในเขตรับผิดชอบของตนเอง ทุกวันศุกร์
2.อสม.รายงานผลการสำรวจผ่านแอปสมาร์ทอสม.ทุกสัปดาห์
3.อสม.รายงานผลด้วยแบบบันทึกการสำรวจลูกน้ำส่งประธานหมู่บ้านทุกวันศุกร์
4.อสม.รายงานผลตอนลงสำรวจด้วยภาพถ่ายลงในไลน์กลุ่มหมู่บ้านทุกวันศุกร์/เสาร์/อาทิตย์ ทุกสัปดาห์
5.จนท.รายงานผลการสำรวจ ค่า HI CI แก่อสม.ในวันประชุมอสม.ทุกเดือน

 

1.อสม.ลงสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ทุกวันศุกร์และมีการรายงานผลการสำรวจผ่านแอปสมาร์ทอสม. รายงานด้วยแบบบันทึกการสำรวจส่งรพ.สต.ทุกสัปดาห์และมีการรายงานภาพถ่ายตอนลงปฏิบัติงานผ่านทางไลน์กลุ่มหมู่บ้าน
2.ผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายแยกเป็นรายเดือน สรุปผลงานรวมทั้ง 3 หมู่บ้าน ดังนี้
เดือน ต.ค.66 ค่า HI= 9.1 , CI= 5.2
  พ.ย.66 ค่า HI= 8.7 , CI= 4.6
  ธ.ค.66 ค่า HI= 9.4 , CI= 6.3
  ม.ค.67 ค่า HI= 8.5 , CI= 5.1
  ก.พ.67 ค่า HI= 9.0 , CI= 6.8
  มี.ค.67 ค่า HI= 8.5 , CI= 6.1
  เม.ย.67 ค่า HI= 8.4 , CI= 5.8
  พ.ค.67 ค่า HI= 9.6 , CI= 6.8   มิ.ย.67 ค่า HI= 8.3 , CI= 5.4   ก.ค.67 ค่า HI= 9.8 , CI= 6.3   ส.ค.67 ค่า HI= 9.1 , CI= 5.8   ก.ย.67 ค่า HI= 8.6 , CI= 5.3

 

พ่นหมอกควันกรณีพบผู้ป่วย 1 ต.ค. 2566 1 มี.ค. 2567

 

พ่นเคมีกำจัดยุงตัวแก่กรณีพบผู้ป่วยไข้เลือดออก โดยพ่นเคสละ 3 ครั้ง ในวันที่ 0,3,7 โดยเมื่อเจ้าหน้าที่แจ้งรายงานเคสผู้ป่วยในไลน์กลุ่มหมู่บ้าน คนพ่นยุงจะต้องลงพ่นยุงให้ทันเวลาภายใน 24 ชม.

 

3.จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2567 ถึงวันที่ 30 ก.ย 2567 มีผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 10 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยในพื้นที่ ดังนี้
- หมู่ที่ 1 บ้านต้นประดู่ จำนวน 2 ราย
- หมู่ที่ 2 บ้านวังปริง จำนวน 4 ราย
- หมู่ที่ 3 บ้านหัวหรั่ง จำนวน 4 ราย

 

พ่นหมอกควันในสถานศึกษา 1 มี.ค. 2567 1 มี.ค. 2567

 

พ่นเคมีกำจัดยุงตัวแก่ก่อนเปิดภาคเรียน จำนวน 2 ครั้ง ในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2

 

เพื่อกำจัดยุงตัวแก่ในโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียนเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนปิดภาคเรียนไปนานจึงอาจจะเป็นแหล่งรังโรคของไข้เลือดออกได้

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ 11 มิ.ย. 2567 11 มิ.ย. 2567

 

1.ผู้รับผิดชอบงานชี้แจงรายละเอียดการประชุม และชี้แจงสถานการณืไข้เลือดออกในระดับประเทศ จังหวัด อำเภอ และ ตำบล ให้ที่ประชุมทราบ
2.วิทยากรให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและแนวทางการควบคุมโรค
3.เจ้าหน้าที่ร่วมกับภาคีเครือข่ายหาแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออก

 

1.อสม. รับการประชุมอบรมเรื่องโรคไข้เลือดออกและแนวทางการควบคุมป้องกันโรค เป้าหมายจำนวน 77 คน เข้ารับอบรม จำนวน 77 คน
2.อสม. มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกมากขึ้น
3.มีการร่วมกันกำหนดมาตรการทางชุมชนร่วมกันในการแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก ดังนี้
  3.1 อสม.ลงสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ และรายงานผ่านทางแอปสมาร์ทอสม. รายงานด้วยแบบบันทึกการสำรวจลูกน้ำยุงลายและรายงานเป็นภาพถ่ายส่งในไลน์กลุ่มของอสมของรพ.สต.ทุกสัปดาห์
  3.2 อสม.ที่เป็นผู้นำหมู่บ้านเข้าร่วมในการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน เพื่อรายงานสถานการณ์โรคให้ประชาชนทราบทุกเดือน

 

สรุปและประเมินผลโครงการ 29 ส.ค. 2567 29 ส.ค. 2567

 

1.จนท.สาธารณสุขชี้แจงกำหนดการประชุม
3.จนท.สาธารณสุขรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการพร้อมปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน
4.ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากภาคีเครือข่าย

 

2.จนท.สาธารณสุขรายงานผลการดำเนินงานโครงการ แยกรายกิจกรรมดังนี้
  2.1 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมสำรวจค่า HI CI โดยอสม.ตรวจเดือนละ 1 ครั้ง
  ผลการดำเนินงาน : อสม.ลงสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ อสม.ส่งครบทุกคน จนท.มีการสรุปผลการสำรวจแจ้งในวันประชุมประจำเดือนทุกเดือน
  ปัญหาอุปสรรค : เจ้าบ้านไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการดูแลบริเวณบ้านของตนเอง ทำให้มีขยะ หรือ วัสดุที่ทำให้เกิดน้ำขังนำไปสู่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุง
2.2 พ่นหมอกควันก่อนเปิดภาคเรียนและกรณีพบผู้ป่วยไข้เลือดออก
  ผลการดำเนินงาน : มีการพ่นเคมีกำจัดยุงตัวแก่ก่อนเปิดภาคเรียน ในเดือน ตค.66 จำนวน 1 ครั้ง และในเดือน พค.67 จำนวน 1 ครั้ง โดยพ่นรร.จำนวน 1 โรง และศพด. จำนวน 1 ศพด.
2.3 ประชุมชี้แจงแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  ผลการดำเนินงาน : มีการจัดประชุมอบรม 1 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 77 คน
  ปัญหาอุปสรรค : ไม่มี