กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ 12 ก.ค. 2567 17 ส.ค. 2567

 

จัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ โดยมีนายเกษม  เต็มราม ประะานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการเป็นผู้ดำเนินการประชุม  ในวันที่ 17  สิงหาคม  2567 เวลา 13.00 - 15.30 น. ณ  ศาลาหมู่บ้าน  หมู่ที่ 1 บ้านศาลาต้นรัก ตำบลนาขยาด เพื่อชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานตามโครงการ และมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนโครงการ

 

คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ มีความรู้ความเข้าใจรายละเอียดของโครงการ มีการกำหนดตารางการประชุมเชิงปฏิบัติการในกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งกำหนดจะจัดกิจกรรมที่ 2 ในวันที่ 26 สิงหาคม 2567 เวลา 08.00 - 16.30 น. ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านศาลาต้นรัก โดยมีนายเกษม เต็มราม นางพิกุล เพ็งจันทร์ และนางจิราภรณ์ ศรีสุวรรณวิเชียร กรรมการเบิกจ่ายเงิน โดยมีนายสุพงษ์ ศรีสุวรรณวิเชียร เป็นฝ่ายรับลงทะเบียน นางพิกุล เพ็งจันทร์ นางจำเรียง ทองเทพ นางสาวญาณัฐฉรา หกหนู และนางละออง คงแก้ว มีหน้าที่ จัดอาหารว่างและอาหารกลางวัน นายกล้าพล มาสง เป็นพิธีกร ประชาสัมพันธ์ นายสุทธิรัก แป้นด้วง เป็นฝ่ายบันทึกภาพ นายสุพงษ์ ศรีสุวรรณวิเชียร นายกล้าพล มาสง เป็นฝ่ายจัดเตรียมสถานที่  นางนุกูล ศรีจันทร์ เป็นฝ่ายประสานงานกับวิทยากร

 

กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ 30 ก.ค. 2567

 

 

 

 

 

กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 26 ส.ค. 2567 26 ส.ค. 2567

 

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม และลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความปวดเมื่อย/เข่าเสื่อม/มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว  สาธิตการทำอาหารเพื่อสุขภาพตามหลักโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย และสาธิตการพอกเข่าด้วยสมุนไพร ในวันที่ 26 สิงหาคม 2567 เวลา 08.00 -16.30 น. ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านศาลาต้นรัก โดยมีนางกัลยา  ทองชูดำ และนางสาววิลาวัณย์ เผือกชาย เป็นวิทยากร

 

ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรม ได้รับการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและเหมะสมกับวัย โดยผู้สูงอายุได้ชมการสาธิตการทำขนมธัญพืชอัดแท่ง ซึ่งเป็นอาหารที่เหมาะกับวัยผู้สูงอายุ ไม่มีแป้งและน้ำตาล มีรสชาติอร่อย ผู้สูงอายุสามารถนำไปทำเองได้ และผู้สูงอายุได้รับการอบรมและมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย การนั่ง การยืน การเคลื่อนไหวร่างกายที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อลดความปวดเมื่อย ปวดเข่า ชะลอการเกิดข้อเข่าเสื่อม และวิทยากรได้ให้ความรู้และสาธิตการพอกเข่าด้วยสมุนไพร  ผู้สูงอายุมีความสนใจมาก เพราะผู้ที่เข้ารับการอบรม  จำนวน 38 คน มีอาการปวดเข่า ได้รับการพอกเข่าด้วยสมุนไพร ผู้สูงอายุมีความสนใจ และความพึงพอใจมาก

 

ประเมินผลและถอดบทเรียน 20 ธ.ค. 2567 23 พ.ย. 2567

 

จัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.30 -11.00 น. ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านศาลาต้นรัก ตำบลนาขยาด เพื่อ ประเมินผล สรุปผลโครงการ ถอดบทเรียน

 

คณะกรรมการได้ร่วมกันประเมินผล สรุปและถอดบทเรียน ได้ดังนี้ - วิเคราะห์ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ จากแบบสอบถามที่ได้รับคืน จำนวน 48 ฉบับ จากผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 50 คน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ผลการประเมินความพึงพอใจของการดำเนินโครงการ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๔๘ คน ประกอบด้วยผู้ชาย ๕ คน ผู้หญิง ๔๓ คน จำแนกตามช่วงอายุได้ดังนี้ ช่วงอายุ ๒๕- ๕๙ ปี จำนวน ๔ คน ช่วงอายุ ๖๐-๖๙ ปี จำนวน ๑๗ คน ช่วงอายุ ๗๐-๗๙ ปี จำนวน ๒๕ คน ช่วงอายุ ๘๐ ปี ขึ้นไป ๒ คน ในภาพรวมทุกประเด็นเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 89.89) เมื่อพิจารณารายประเด็น พบว่า ผู้เข้าร่วมมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการระดับใด เฉลี่ยระดับมากที่สุด (x̄ =4.63 S.D.=3.34) รองลงมาคือ วัสดุ อุปกรณ์/สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ใช้ในการฝึกอบรม และ การเข้าร่วมโครงการครั้งนี้มีความคุ้มค่าเพียงใด เฉลี่ย ระดับมากที่สุด (x̄ =4.57 S.D.=2.72,) ความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่น เฉลี่ยระดับมาก (x̄ =4.31 S.D.=9.78)


ข้อที่  ประเด็นวัดความพึงพอใจ            ค่าเฉลี่ย x̄  ค่าS.D.  เฉลี่ยร้อยละ  การแปลผล

1  การประชาสัมพันธ์โครงการ              4.34    9.46      86.84    มาก
2  วัสดุ อุปกรณ์/สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
    ที่ใช้ในการฝึกอบรม                4.57      2.72      91.57    มากที่สุด
3  ความเหมาะสมของระยะเวลา                4.36    7.56        87.36    มาก
4 ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากร          4.47    8.46        89.47    มาก
5 ท่านได้รับความรู้และมีความเข้าใจในกิจกรรมที่
  ฝึกอบรม                4.52    7.78        90.52          มากที่สุด
6 ท่านสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรม
  ไปใช้ได้ อย่างเข้าใจและถูกต้อง        4.57    5.34        91.57          มากที่สุด
7 ท่านสามารถถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ
  ให้แก่ผู้อื่นได้              4.31    9.78        86.31          มาก
8 การเข้าร่วมโครงการครั้งนี้มีความคุ้มค่าเพียงใด  4.57    4.48        91.57          มากที่สุด
9 กิจกรรมของโครงการสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต
  ของท่านให้ดีขึ้นระดับใด          4.55    6.36        91.05          มากที่สุด
10 ท่านมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการระดับใด  4.63    3.34        92.63          มากที่สุด
  เฉลี่ย                4.49    7.78        89.89            มาก

      - ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ได้แก่ความรู้ความเข้าใจ และความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ การสร้างความเข้าใจในการจัดโครงการแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียด ความสามารถของวิทยากรที่ถ่ายทอดความรู้ได้อย่างสนุกสนานและผู้เข้าร่วมโครงการได้ลงมือปฏิบัติจริง รวมทั้งความพร้อมของสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เป็นสื่อในการฝึกอบรม - ปัญหาและอุปสรรค จากการดำเนินโครงการ พบว่า ตารางกิจกรรมไม่เหมาะสมกับเวลา แต่ละกิจกรรมใช้เวลาค่อนข้างมาก ทำให้เลิกการอบรมช้ากว่ากำหนด
- บทเรียนที่ได้รับจากการจัดโครงการ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการดำเนินโครงการของคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ จะทำให้การจัดโครงการสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้ดี การจัดสื่อและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เพียงพอ ครบถ้วน จะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ปฏิบัติจริง ได้รับประสบการณ์ตรง ผู้เข้ารับการอบรมมีความสนุกสนานและสามารถเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้น การตั้งวัตถุประสงค์ของโครงการที่ยาก ต้องเก็บข้อมูลในระยะยาว จะทำให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ได้ยาก