กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ประชุม ค้นหา กำหนดรูปแแบการดำเนินงาน ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ในหมู่บ้าน19 กรกฎาคม 2567
19
กรกฎาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย รพ.สต.เขาขาว
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ดำเนินการเชิญแกนนำ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในหมู่บ้าน เข้าร่วมประชุมหารือ เพื่อค้นหา กำหนดรูปแแบการดำเนินงาน ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ในหมู่บ้าน โดยจัด หมู่บ้าน ละ 1 วัน เป็นจำนวน 7 หมู่บ้าน  กลุ่มเป้าหมาย รวมจำนวน 230 คน ดังนี้ หมู่ที่ 1 วันที่ 19 กรกฎาคม  2567 ณ.หอประชุมหมู่บ้านสันติสุข  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 41 คน       ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น. หมู่ที่ 2 วันที่ 23 กรกฎาคม  2567 ณ.หอประชุมหมู่บ้านหาญ  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน22 คน       ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น. หมู่ที่ 3 วันที่ 24 กรกฎาคม  2567 ณ.หอประชุมหมู่บ้านบ่อหิน  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน       ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น. หมู่ที่ 4 วันที่ 25 กรกฎาคม  2567 ณ.หอประชุมหมู่บ้านนาข่าเหนือ  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 27 คน       ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น. หมู่ที่ 5 วันที่ 26 กรกฎาคม  2567 ณ.หอประชุมหมู่บ้านดาหลำ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 33 คน
      ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น. หมู่ที่ 6 วันที่ 30 กรกฎาคม  2567 ณ.หอประชุมหมู่บ้านทุ่งเกาะปาป  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 31 คน       ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น. หมู่ที่ 7 วันที่ 31 กรกฎาคม  2567 ณ.หอประชุมหมู่บ้านนาข่าใต้  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 26 คน       ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มแกนนำ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในหมู่บ้าน เข้าร่วมประชุมหารือ เพื่อค้นหา กำหนดรูปแแบการดำเนินงาน ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ในหมู่บ้าน โดยจัด หมู่บ้าน ละ 1 วัน เป็นจำนวน 7 หมู่บ้าน  กลุ่มเป้าหมาย รวมจำนวน 230 คน ดังนี้ กติกาชุมชน มาตรการ ดังนี้ 1.คณะ อสม.จะออกสำรวจพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ โดยแบ่งเขตรับผิดชอบ หลังคาเรือนแต่ละหมู่บ้าน 2.หากพบว่าบ้านไหนมีแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย จะเป็นในหม้อไห โอ่งอ่าง กระถางแตกบิ่น แอ่งดิน หลุมขยะ ฯลฯ ทีม อสม.จะแจ้งให้เ้จ้าของบ้าน รับทราบ แล้วช่วยกันทำลาย แจกทรายอะเบทให้ เอาไว้ใส่ภาชนะที่มีน้ำขังในการนี้จะนับว่าเป็นการเตือนครั้งที่ 1 3.หลังจากจาการสำรวจครั้งแรก จะมีการสำรวจครั้งที่ 2 เพื่อดูว่า บ้านหลังนั้นๆ มีการระมัดระวังการก่อตัวของลูกน้ำยุงลายอีกหรือไม่ ถ้าพบว่ายังมีอีก จะช่วยกันทำเหมือนครั้งแรก และถือว่าเป็นการเตือนครั้งที่ 2
4.ในการสำรวจครั้งที่ 3 หากพบว่าในบ้านหลังเดิมยังมีลูกน้ำยุงลายอีก จะนับว่าเป็นการเตือนครั้งที่ 3 และครบกำหนดการเตือน ในชุมชุมมีข้อตกลงว่า เมื่อใดที่การเตือนติดต่อกันถึง 3 ครั้ง จะเข้าสู่มาตรการ อสม.จะแจ้งให้ ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่ บ้านในหมู่นั้น ทราบ และนำเข้าที่ประชุมหมู่บ้าน เพื่อให้ที่ประชุมรับทราบ บ้านไหนพบลูกน้ำยุงลาย ติดต่อกัน 3 ครั้ง