กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ถอดบทเรียนและจัดทำข้อตกลงกับผู้นำชุมชนและผู้ปกครองเด็กนักเรียน 1 มิ.ย. 2567 18 ก.ย. 2567

 

ถอดบทเรียนและจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ระหว่างโรงเรียน ผู้นำชุมชน และผู้ปกครองเด็กนักเรียน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน
1. จัดทำหนังสือเชิญผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการ
2. ถอดบทเรียนร่วมกันเกี่ยวกับสภาพปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบันเรื่องของปัญหายาเสพติด โดยผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าพง สะท้อนปัญหาปัจจุบันในโรงเรียน
3. ปรึกษาหาหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงโรงเรียนจะขอเป็นโรงเรียนปลอดบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า กัญชา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 100% และเป็นพื้นปลอดสิ่งเสพติดและอบายมุข
4. เซ็นต์ลงนาม บันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ระหว่างโรงเรียน ผู้นำชุมชน และผู้ปกครองเด็กนักเรียน

 

กิจกรรมถอดบทเรียนและจัดทำข้อตกลงกับผู้นำชุมชนและผู้ปกครองเด็กนักเรียน มีสรุปข้อตกลงร่วมกันดังนี้
1. ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานเป็นอย่างดีมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมกัน(MOU) ระหว่างโรงเรียน ผู้นำชุมชน และผู้ปกครอง
2. ชุมชนให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการถอดบทเรียนและจัดทำข้อตกลงกับผู้นำชุมชนและผู้ปกครองเด็กนักเรียนเป็นอย่างดี
3. โรงเรียน ผู้นำชุมชน และผู้ปกครอง ช่วยกันสอดส่องบุตรหลานไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และอบายมุขทั้งหลาย
4. โรงเรียนเป็นโรงเรียนปลอดบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า กัญชา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 100%

 

เสวนาเรื่องยาเสพติดระหว่างโรงเรียน ผู้นำชุมชน และผู้ปกครองของเด็กนักเรียนในพื้นที่ 1 ก.ค. 2567 18 ก.ย. 2567

 

เสวนาเรื่องยาเสพติดระหว่างโรงเรียน ผู้นำชุมชน และผู้ปกครองของเด็กนักเรียนในพื้นที่ มีรายละเอียดดังนี้
1. จัดทำหนังสือเชิญผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการ
2. เสวนาเรื่องของปัญหายาเสพติดโดยผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าพง สะท้อนปัญหาปัจจุบันในโรงเรียน
3. ร่วมกำหนดข้อตกลง ชี้แจงโรงเรียนจะขอเป็นโรงเรียนปลอดบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า กัญชา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 100% และเป็นพื้นปลอดสิ่งเสพติดและอบายมุข

 

ผลที่ได้รับ 1. ลดจำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน
2. มีจำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด
3. มีจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชนเพิ่มขึ้น
4. โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า กัญชา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 100% และเป็นพื้นปลอดสิ่งเสพติดและอบายมุข

 

กิจกรรมให้ความรู้สร้างการรับรู้ให้แก่นักเรียน 8 ก.ค. 2567 16 ก.ย. 2567

 

ขั้นตอนและวิธีการกิจกรรมให้ความรู้สร้างการรับรู้ให้แก่นักเรียน มีดังนี้
1. จัดทำหนังสือเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องยาเสพติด
2. แบ่งนักเรียนเข้าฐานกิจกรรมการเรียน 4 ฐาน
3. นักเรียนถอดบทเรียนจากกิจกรรมฐานการเรียนรู้

 

ผลที่ได้รับ
1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับโทษปลอดบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า กัญชา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2. โรงเรียนเป็นโรงเรียนปลอดบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า กัญชา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 100%