กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเฝ้าระวังหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2567

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
อบรมพัฒนาศักยภาพเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้หรือตัวแทนในครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง 20 มี.ค. 2567

 

 

 

 

 

ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและครอบครัว ประเมินการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วย 1 เม.ย. 2567

 

 

 

 

 

อบรมพัฒนาศักยภาพเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้หรือตัวแทนในครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง 22 มี.ค. 2567 22 มี.ค. 2567

 

อบรมพัฒนาศักยภาพเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้หรือตัวแทนในครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 55 คน .ในวันที่ 22 มีนาคม 2567  ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีนครินทร์ โดยมีกระบวนการให้ความรู้ตามขั้นตอนดังนี้
- ประเมินความรู้ ความเชื่อ ความเข้าใจ ตามแบบสอบถามก่อนการอบรม ในเรื่องการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
    - ตรวจสุขภาพร่างกาย วัดความดันโลหิต ก่อนการอบรม
    - แจ้งสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองในปัจจุบัน
    - ให้ความรู้ผ่านวีดิทัศน์ รู้จักโรค“ความดันโลหิตสูง ภัยเงียบ...ที่ต้องระวัง” และ “โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ยิ่งรักษาเร็ว ยิ่งรอด”
    - ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
    - สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง (BEFAST) และการดูแลผู้ป่วย
    - การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียดและอารมณ์ การลดเลิกสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การรับประทานยา และไปรับการรักษาตามนัด
    - ให้ความรู้และสาธิตเมนูอาหารที่เหมาะสม การเลือกซื้ออาหาร การอ่านฉลาก   โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 55 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 35 บาท เป็นเงิน 3,850 บาท
    - ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 55 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 80 บาท เป็นเงิน 4,400 บาท
    - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
    - ค่าจัดทำเอกสารแบบสอบถามความรู้ก่อนและหลังอบรมเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 840 แผ่น (ไม่ใช้งบประมาณ)
    รวมเป็นเงิน 11,250 บาท

 

ผลผลิต       อบรมพัฒนาศักยภาพเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้หรือตัวแทนในครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 55 คน ผลลัพธ์       หลังการอบรม ผู้เข้าอบรมมีระดับความรู้ ความเชื่อ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น ร้อยละ  89.34

 

เจ้าหน้าที่และ อสม. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและครอบครัว ประเมินการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วย 1 เม.ย. 2567 1 เม.ย. 2567

 

-แจกคู่มือ“รู้เท่าทัน รู้ป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง”  และชี้แจงรายละเอียดการลงบันทึกในแบบบันทึกพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง โดยใช้แบบบันทึกคู่มือ และให้ผู้ป่วยนำกลับไปทดลองบันทึกด้วยตนเองที่บ้านและนำมาตรวจสอบความถูกต้องในครั้งต่อไป
                - ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและครอบครัว ร่วมกับ อสม. CG ร่วมกับสหวิชาชีพ สัปดาห์ละครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567  ประเมินการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจากโรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วย จากการพูดคุยซักถามถึงปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และวิธีการแก้ไข พร้อมทั้งชี้แนะให้ความรู้คำปรึกษาหรือการแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติพฤติกรรมร่วมกับการพูดชมเชยให้กำลังใจ เปิดโอกาสผู้ป่วยและญาติร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดแรงจูงใจและตัดสินใจในการร่วมมือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง
                - ประเมินความรู้ ความเชื่อ ความเข้าใจ ตามแบบสอบถามหลังการอบรม ในเรื่องการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
                - ตรวจสุขภาพร่างกาย วัดความดันโลหิต หลังการอบรม
        - สรุปผลคะแนนที่ได้เปรียบเทียบก่อนและหลังการอบรม และมอบรางวัลสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอย่างเหมาะสม และให้กำลังใจผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน พร้อมทั้งกระตุ้นเตือนให้ผู้ป่วยโรคความดันหิตสูงรับรู้เกี่ยวกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจากโรคความดันโลหิตสูง และเน้นย้ำถึงผลดีของการมีพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจากโรคความดันโลหิตสูงได้
        โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
        - ค่าจัดทำคู่มือสุขภาพ “รู้เท่าทัน รู้ป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง”  จำนวน 50 เล่ม ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน  1,500 บาท
        - ค่าจัดทำเอกสารแผ่นพับให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 500 แผ่น แผ่นละ 1.2 บาท เป็นเงิน  600 บาท
          รวมเป็นเงิน 2,100 บาท

 

ผลผลิต   1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ สมาชิกในครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้รับการพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 55 คน
    2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ ได้รับการติดตามเฝ้าระวังโดยใช้แบบฟอร์มเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง การรับประทานยา การรับบริการ โดย อสม.หมอคนที่ 1 ทุกคน
    3. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ บันทึกการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ.2ส. การกินยาตามแผนการรักษา และไปรับบริการตามนัด ในคู่มือสุขภาพ  ทุกคน     4. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ ได้รับการเยี่ยมบ้าน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หมอคนที่ 2 เดือนละ 1 ครั้ง ทุกคน
ผลลัพธ์
    1. กลุ่มเป้าหมายมีศักยภาพและองค์ความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 90     2. เกิดระบบติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ในชุมชนโดย อสม. อย่างต่อเนื่อง
    3. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ.2ส. การกินยาตามแผนการรักษา และไปรับบริการตามนัด
    4. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ ได้รับการเยี่ยมบ้านตามเกณฑ์ โดยทีม 3 หมอ ร้อยละ 100     5. อัตราการเกิดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ลดลง