กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
อบรมให้ความรู้ 24 ก.ค. 2567 24 ก.ค. 2567

 

4.1 ขั้นเตรียมการ 4.1.1 จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเตงนอก เพื่อขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ 4.1.2 ประชาสัมพันธ์โครงการ ให้แก่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนใกล้ โรงเรียนทราบ 4.1.3 โรงเรียนดำเนินการรับสมัครนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ อ.ย.น้อย 4.1.4 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และสถานที่ ที่จะใช้ในการจัดกิจกรรม 4.2 ขั้นดำเนินการ 4.2.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำเยาวชนในโรงรียน โดยแบ่งออกเป็น 3 รุ่นๆละ 50 คน
กิจกรรมการให้ความรู้ลักษณะการบรรยายและแบ่งกลุ่มเยาวชนร่วมกลุ่มอภิปราย - จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนให้มีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการเลือกซื้อเลือกใช้อาหารยาและ/เปื้อนในเครื่องสำอางสามารถหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารยาและเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของสารปนอาหารหรือสารห้ามใช้และสารอันตราย - จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะในการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารด้วยชุดทดสอบพิจารณาสังเกตสารปนเปื้อนหรือสารอันตรายโดยสังเกตจากลักษณะทางกายภาพของอาหารยาและเครื่องสำอางได้ - การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดี โดยยึดหลัก "บริโภคถูกหลักโภชนาการปราศจากสารปนเปื้อน" เช่น หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หลีกเลี่ยงการซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (หวาน มัน เค็ม) อ่านฉลาก (นึ่ง อบ ย่าง) มันทอดซ้ำตามโฆษณาชวนเชื่อ หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ หรือไม่ใช้น้ำ อาหาร ยา และเครื่องสำอาง ก่อนซื้อก่อนใช้ บริโภคนม ผัก และผลไม้เป็นประจำ รู้ทันอันตราย สเตียรอยด์ การใช้ยาปลอดภัยในโรงเรียนนักเรียน ครอบครัว เช่น อาหารสีสันอูดฉาด อาหารที่ทอดด้วยน้ำมันทอดซ้ำ ของเล่นที่ไม่ปลอดภัย - ให้ความรู้เรื่องการเฝ้ารังโรคในโรงเรียนเช่น มือปราบลูกน้ำยุงลาย - ให้ความรู้แก่ผู้นำนักเรียนเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและยาสามัญประจำบ้านและยาสมุนไพร - การให้ความรู้เรื่องทันตะสุขภาพ การตรวจฟันเบื้องต้น ตลอดจนการตรวจสุขภาพด้วยตัวเองเบื้องต้นของตนเองเพื่อเสริมสร้างแกนนำในการดำเนินกิจกรรมในโรงเรียน 4.2.2 เผยแพร่สาระน่ารู้เกี่ยวกับการบริโภคโดยการจัดกิจกรรมให้ความรู้หน้าเสาธง รายการเสียงตามสายในช่วงเวลาพักเที่ยง 4.3 ขั้นประเมินผล 4.3.1 ติดตามประเมินผลการจัดกิจกรรม/อุปสรรค แนวทางแก้ไข และข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

  1. เยาวชนในโรงเรียนมีความรู้และมีทักษะในการอ่านตรวจสอบและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ต่างๆ
  2. เยาวชนในโรงเรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถให้คำปรึกษาแก่บุคลในครอบครัวและบุคคลทั่วไปได้
  3. แกนนำนักเรียน อย.น้อย สามารถเผยแพร่ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้อย่างมั่นใจมีความกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก อย่างสร้างสรรค์ และมีทักษะในการทำงานเป็นทีม
  4. เยาวชนในโรงเรียนเกิดทักษะในการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทั่วไปได้อย่างเป็นระบบ
  5. เยาวชนในโรงเรียนเกิดทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาหาร ยาและเครื่องสำอาง