กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสมุนไพรเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสมุนไพรบ้านในมอญ
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หมู่ที่ 7 ตำบลกงหราอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง เป็นพื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่ต้นน้ำของจังหวัดพัทลุง มีลักษณะเป็นที่สูง ตีนภูเขา ใกล้อาณาเขตเทือกเขานครศรีธรรมราช บริเวณเขาบรรทัด ด้วยเหตุนี้ สภาพพื้นที่จึงมีความชื้นสูง มีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายเป็นอย่างสูงของพืชพันธุ์ต่างๆ ประชาชนในพื้นที่บริเวณนี้จึงได้รับประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อม ทั้งการประกอบอาชีพ อาหาร ยารักษาโรค เป็นต้น
การรวมกลุ่มทำกิจกรรมของชุมชน หมู่ที่ 7 มีหลากหลายกิจกรรมมีการรวมตัวและการล้มเลิกกลุ่ม มีการจัดตั้งกลุ่มจากการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ และการรวมกลุ่มกันเองของชาวบ้าน ทั้งกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มเครื่องแกง กลุ่มขนมทองม้วน กลุ่มสมุนไพร เป็นต้น การที่ภายในหมู่ที่ 7 มีการรวมกลุ่มกันหลายกลุ่มอย่างคึกคักสะท้อนให้เห็นถึงการมีสำนึกความเป็นสมาชิกของชุมชน ที่เป็นห่วงและหวังดีต่อชุมชนตนเอง จากประสบการณ์การรวมกลุ่มทำกิจกรรมของชุมชนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เกิดการเรียนรู้ภายในของสมาชิกชุมชน และเกิดความสนใจยกระดับและพัฒนาศักยภาพตนเองของสมาชิกชุมชน จึงเกิดการพูดคุยในชุมชนหลายครั้งถึงการต่อยอดกิจกรรมที่เคยทำร่วมกับการรักษาสุขภาพสมาชิกชุมชนที่ทำกิจกรรมและรักษาทรัพยากรของชุมชนไปพร้อมกัน ซึ่งหมู่ที่ 7 ตำบลกงหราเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะสำคัญคือเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ มีความอุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรหลากหลาย มีความชุ่มชื้นสูง ปี พ.ศ.2558 ประชาชนหมู่ที่ 7 ได้รวมตัวกันผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน พิมเสนน้ำ และลิปสติก โดยมีเป้าหมายเพื่อการมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพ และต้องมีส่วนประกอบมาจากทรัพยากรในท้องถิ่น จากนั้นได้จัดตั้งกลุ่มและขึ้นทะเบียนสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และมีแนวทางผลิตสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป้าหมายให้สมาชิกกลุ่มมีผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงสารเคมีอันตราย และไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมที่เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ กลุ่มได้มีการผลิตสบู่ เช่น สบู่ต้นกระสังสบู่กลับบัวแดงสบู่ น้ำผึ้งขมิ้นชัน สบู่ผลิตน้ำยาล้างจานชุมชน เป็นต้น ซึ่งสมาชิกกลุ่มเป็นสมาชิกชุมชนที่ผ่านประสบการจัดตั้งกลุ่มและเกิดการเรียนรู้จนปัจจุบันสนใจการดูแลรักษาสุขภาพ
กลุ่มน้ำมันกงหราได้หารือร่วมกับผู้นำชุมชนและมีความเห็นว่า ปัจจุบัน สมาชิกชุมชนมีปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะคนหนุ่มเป็นโรคเบาหวาน มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสันนิษฐานว่ามากพฤติกรรมการกิน นอกจากนี้สมาชิกกลุ่มน้ำมันกงหราหลายคนมีปัญหาความดันสูง และมีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้ไม่สามารถร่วมกิจกรรมในชุมชนได้เต็มที่ กลุ่มน้ำมันกงหราประสงค์ดำเนินโครงการที่ต่อยอดฐานเดิมจากการที่เคยผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ จะนำไปสู่การมีเข้าใจต่อการดูแลสุขภาพจากทุนทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มี โดยการสำรวจต้นทุนที่มีและนำไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อสุขภาพของสมาชิก และรวบรวมองค์ความรู้ด้านสมุนไพรในหมู่ที่ 7 และวิธีการใช้ประโยชน์ เป็นองค์ความรู้ของชุมชน ให้ชุมชนเองได้รับรู้ทั่วกัน และในอนาคตสมาชิกชุมชนสามารถต่อยอดองค์ความรู้นี้ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
23 ส.ค. 67 ขั้นดำเนินงานโครงการ 0 8,200.00 -
7 ก.ย. 67 ขั้นเตรียมการโครงการ 0 1,875.00 -
8 ก.ย. 67 การประเมินผลโครงการ 0 0.00 -
รวม 0 10,075.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (1) ผู้เข้าร่วมมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพจากการกินอาหารและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย มาจากพืชในท้องถิ่นที่มาจากการถ่ายทอดความรู้จากปราชญ์ในชุมชน (2) ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจวิธีการการบริโภคอาหารจากทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างปลอดภัยทุกขั้นตอน ได้แก่ การเก็บหา การสังเกต การรู้จักแหล่งของพืช การบริโภคเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ การมีความรู้ความเข้าใจวิธีประกอบอาหาร การเก็บรักษา การเลือกและการหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ปลอดภัย (3) ประชาชนหมู่ที่ 7 ตำบลกงหราได้มีฐานข้อมูลการดูแลรักษาสุขภาพเบื้องต้นในชีวิตประจำวันจากการใช้ประโยชน์จากพืชในท้องถิ่น ที่เข้าถึงง่าย เปิดเผย และช่วยยกระดับความรู้ของท้องถิ่นฐานข้อมูลที่เข้าถึงง่าย และมาจากคนในพื้นที่เองจะสร้างความภาคภูมิใจ นำไปสู่สำนึกการรัก หวงแหนทรัพยากรในท้องถิ่น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2567 11:32 น.